การวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกรณีการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่นำมาใช้ได้กับการจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ฝ่าฝืนกฎหมาย วิธีการวิจัย: การวิจัยเป็นการศึกษาเอกสาร โดยวิเคราะห์พระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งอยู่ในการดูแลของกระทรวง ICT เป็นหลัก ผลการศึกษา: กฎหมายที่สามารถนำมาใช้ได้ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีประกาศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง ได้แก่ ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง การกระทําที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 ซึ่งมีบทบัญญัติในการจัดการกับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างผิดกฎหมาย แต่มิได้รวมถึงผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และเจ้าของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในการดำเนินการตามกฎหมายนี้ ต้องดำเนินการตามกฎหมายหลักเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นก่อน เพื่อเอาผิดกับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์สุขภาพ และส่งเรื่องให้ กสทช.จัดการกับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ในลำดับถัดไป ส่วนพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 สามารถใช้กับการฝ่าฝืนกฎหมายการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางอินเทอร์เน็ตได้ โดยนำมาช่วยในการสืบสวน สอบสวน เพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำความผิดหรือหลักฐานในระบบคอมพิวเตอร์ และนำมาประกอบการดำเนินการตามกฎหมายหลักเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น สรุป: ผู้ศึกษาได้จัดทำคำเสนอแนะและแนวทางการดำเนินการให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่ดูแลกำกับผลิตภัณฑ์สุขภาพในการนำมาตรการทางด้านกฎหมาย ICT เพื่อนำมาใช้จัดการปัญหาการฝ่าฝืนกฎหมายโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ได้ผลดีขึ้น
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Center for Compliant Management and Suppression of Offenses Related to Health Products. Results on compliant processing on 2015 baht [online]. 2016 [cited Apr 5, 2016]. Available from: newsser.fda.moph.go.th/hpsc/fron tend/theme/view_info_operation.php?Submit=Clear&ID_Info_Operation=00000026.
3. Kittisopee T, Anantachoti P, Tangcharoensathien V. Radio drug advertisement situation and regulation in Thailand [online]. 2005 [cited 2015 Jan 20]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/.
4. Suwanmanee O, Lerkiatbundit S. Illegal advertising of products classified as drugs by law among local radios. Thai Journal of Pharmacy Practice 2011; 3: 41-55.
5. Chandrawongse M. Situation and impacts of drug and health product advertisements with legal problems on community radio broadcasts toward consumers in Chiang Mai province [independent study]. Chiang Mail: Chiang Mai University; 2011.
6. Lomas K, Chanthapasa K. The situation of radio advertisement of drug and food claimed as drug in Phraibueng municipality, Sisaket province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2012;8:55-60.
7. Ampant P. Situations, problems and solutions to problems of the broadcasting radio station of Sisaket province in advertising health products. Research and Development Health System Journal 2015; 8: 26-37.
8. Rujirayunyong T. Situation of illegal advertising ofhealth products among local radios in Lopburi in the era of the National Council for Peace and Order (NCPO). Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 189-99.
9. Rattanapongjinda N, Plianbangchang P. Survey of weight-loss product advertisements on the internet. Journal of Health Science 2012;21:741-9.
10. Suwanmanee O. Illegal advertising of products classified as drugs by law among local radios [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2011.
11. Tangkitvanich S, Wongkijrungruang W, Thamawanich T. Study of the organizational form of consumer protection unit in broadcasting and telecommunications. Bangkok: Thailand Develop- ment Research Institute; 2554.
12. Organization to Assign Radio Frequency and to Regulate the Broadcasting and Telecommunica- tions Services Act, B.E. 2553. Royal Gazette No. 127, Part 78A (Dec 19 2010).
13. Computer Crime Act, B.E. 2550. Royal Gazette No. 124, Part 27A (Jun 18, 2007).
14. Telecommunication Business Act, B.E. 2544. Royal Gazette No. 118, Part 106A (Nov 16, 2001).
15. Broadcasting Business Act, B.E. 2551. Royal Gazette No. 125, Part 42A (Mar 4, 2008).
16. Drug Act, B.E. 2510. Royal Gazette No. 84, Part 101 special (Oct 20, 1967).
17. Food Act, B.E. 2522. Royal Gazette No. 96, Part 79 special (May 13, 1979).
18. Cosmetic Act B.E. 2558. Royal Gazette No. 132, Part 86A (Sep 8, 2015).
19. Medical Device Act, B.E. 2551. Royal Gazette No. 125, Part 43A (Mar 5, 2008).
20. Hazardous Substance Act, B.E. 2535. Royal Gazette No. 109, Part 39 (Apr 6, 1992).
21. Consumer Protection Act, B.E. 2522. Royal Gazette No. 96, Part 79 special (May 4, 1979).
22. Bureau of Complaint Handlings and Consumer Protection in Telecommunications, National Broad- casting and Telecommunications Commission. Statistics on complaints [online]. 2016 [cited Dec 10, 20156]. Available from: tcp.nbtc.go.th/website/ home/category/14/th.