ความชุกและลักษณะความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาสำหรับ ผู้ป่วยในก่อนออกจากโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในปี 2557
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและลักษณะของความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาสำหรับผู้ป่วยในก่อนออกจากโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง วิธีการ: การวิจัยเชิงพรรณนานี้เก็บข้อมูลย้อนหลังจากระบบรายงานความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาสำหรับผู้ป่วยในก่อนออกจากโรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 มค. ถึง 31 ธค. 2557 ข้อมูลที่เก็บได้แก่ ประเภทความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาในประเด็นของวิธีใช้ (ขนาดและความถี่) ความแรงของยา ชื่อยา จำนวนรายการยา รูปแบบยา จำนวนยา และการสั่งยาผิดคน กลุ่มหอผู้ป่วยที่พบความคลาดเคลื่อน กลุ่มยาตามระบบร่างกายที่พบความคลาดเคลื่อน และยาที่พบความคลาดเคลื่อนอยู่ในกลุ่มยาความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs: HAD) หรือไม่ ผลการวิจัย: อัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาคิดเป็นร้อยละ 2.25 ของรายการยาที่ตรวจสอบทั้งหมด (2,469 จาก 109,694 รายการ) กลุ่มหอผู้ป่วยกุมารเวชมีสัดส่วนของรายการยาที่คลาดเคลื่อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มหอผู้ป่วยอื่น คือ ร้อยละ 3.38 (200 จากยาที่ตรวจสอบ 5,923 รายการ) ประเภทของการสั่งยาคลาดเคลื่อนที่พบมากที่สุดคือ “ผิดวิธีใช้” (ร้อยละ 70.11 ของความคลาดเคลื่อนที่พบ) ลักษณะเช่นนี้พบเหมือนกันในทุกหอผู้ป่วย กลุ่มยาที่มีการสั่งคลาดเคลื่อนบ่อยที่สุด คือ ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (ร้อยละ 19.64 ของความคลาดเคลื่อนทั้งหมดที่พบ) ความคลาดเคลื่อนที่เกิดกับยา HAD คิดเป็นร้อยละ 3.69 ของความคลาดเคลื่อนทั้งหมดที่พบ โดยพบมากที่สุดในยาเม็ด warfarin (ร้อยละ 70.33 ของความคลาดเคลื่อนที่เกี่ยวกับยา HAD) โดยส่วนใหญ่เป็นประเภท “ผิดวิธีใช้” สรุป: ประเภทของความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาที่พบบ่อยที่สุดในทุกหอผู้ป่วยคือ “ผิดวิธีใช้” ซึ่งพบในเกือบทุกกลุ่มยาที่แบ่งตามระบบร่างกาย และในยา HAD ดังนั้น โรงพยาบาลควรมีระบบการตรวจสอบความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาให้กับผู้ป่วยก่อนออกจากโรงพยาบาลทุกรายโดยเฉพาะ “วิธีใช้” เพื่อลดปัญหาการสั่งยาคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ โรงพยาบาลควรศึกษาหาปัจจัยที่ทำให้เกิดการสั่งยาคลาดเคลื่อน
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Velo GP, Minuz P. Medication errors: prescribing faults and prescription errors. BJCP. 2009; 67: 624-8.
3. Pharmacy Division, Srinagarind hospital.The prevention of medication error [online] 2013.[cited 2015 Feb 27]. Available from:http://www.md. kku.ac.th/pharmacy/index.php?f=detail_rule&id=2.
4. Suanprung Psychiatric Hospital. Medication error [online] 2009.[cited 2015 Feb 20]. Available from: www.suanprung.go.th/medicine/pdf/med04.pdf.
5. Bobb A, Gleason K, Husch M, Feinglass J, Yarnold PR, Noskin GA. The epidemiology of prescribing errors: the potential impact of computerized prescriber order entry. Arch Intern Med. 2004;164: 785-92.
6. Ross S, Bond C, Rothnie H, Thomas S, Macleod MJ. What is the scale of prescribing errors committed by junior doctors?: A systematic review. BJCP. 2009;67: 629-40.
7. Nualsri A. Medication errors and in-patient computerized prescribing system. Songklanagarind Medical Journal 2006;24: 1-8
8. Dean B, Schachter M, Vincent C, Barber N. Causes of prescribing errors in hospital inpatients: a prospective study. Lancet. 2002;359:1373-8.
9. Dean B, Schachter M, Vincent C, Barber N. Prescribing errors in hospital inpatients: their incidence and clinical significance. QHC. 2002; 11: 340-4.
10. Dornan T, Ashcroft D, Heathfield H, Lewis P, Miles J, Taylor D, et al. An in-depth investigation into causes of prescribing errors by foundation trainees in relation to their medical education: EQUIP study. London: General Medical Council. 2009; Available from: http://www.gmc-uk.org/about/ research/ research_commissioned_4.asp.
11. Conroy S, North C, Fox T, Haines L, Planner C, Erskine P, et al. Educational interventions to reduce prescribing errors. ADC. 2008;93:313-5.
12. Lewis P, Dornan T, Taylor D, Tully M, Wass V, Ashcroft D. Prevalence, incidence and nature of prescribing errors in hospital inpatients. Drug Saf. 2009; 32:379-89.