การพัฒนาซอฟต์แวร์สาธิตเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ระบบงานการดูแลผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟารินของโรงพยาบาลปัตตานี และออกแบบซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับระบบงานในคลินิกวาร์ฟาริน วิธีการ: ผู้วิจัยวิเคราะห์ระบบการจัดการข้อมูลโดยสำรวจระบบงานการให้บริการทางการแพทย์ การบริบาลทางเภสัชกรรม และการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้ยาวาร์ฟาริน ผู้วิจัยยังได้สำรวจความต้องการในเรื่องการจัดการข้อมูลของบุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง 13 คน ประกอบด้วยแพทย์ 5 คน เภสัชกร 5 คน พยาบาล 2 คน และนักเทคนิคการแพทย์ 1 คน หลังจากนั้น ผู้วิจัยจัดทำผลการวิเคราะห์ระบบและให้นักออกแบบซอฟต์แวร์ประเมินผลความสมบูรณ์ของการวิเคราะห์ระบบ พัฒนาซอฟต์แวร์สาธิต ทดสอบซอฟต์แวร์สาธิต สอบถามความพึงพอใจต่อซอฟต์แวร์สาธิต และปรับปรุงซอฟต์แวร์สาธิต ผลการวิจัย: โรงพยาบาลใช้ HOSxP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับให้บริการผู้ป่วยทั่วไป แต่สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์นี้มาเชื่อมต่อเพื่อใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะสำหรับผู้ใช้ยาวาร์ฟารินได้ ผลการวิเคราะห์ระบบการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้ยาวาร์ฟารินและผลการสอบถามบุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง 13 คน สรุปได้ว่าควรมีระบบการจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นซอฟต์แวร์สาธิตเพื่อให้การเก็บข้อมูลทำได้ง่าย และการสืบค้นทำได้สะดวกและรวดเร็ว บุคคลากรยังต้องการให้ซอฟต์แวร์สาธิตเชื่อมโยงกับ HOSxP สามารถคำนวณการปรับยาได้ และแสดงผลรายงานได้ ผู้วิจัยจึงนำผลจากการวิเคราะห์ระบบและความต้องการของผู้ใช้มาเป็นแนวทางให้นักออกแบบซอฟต์แวร์นำไปออกแบบจนได้ซอฟต์แวร์สาธิต การเข้าใช้งานซอฟต์แวร์สาธิตต้องใส่รหัสเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล การประเมินความพึงพอใจต่อซอฟต์แวร์สาธิตในบุคลากรทางการแพทย์ที่เคยให้ข้อมูล 13 ราย พบว่า ในภาพรวมบุคลากรมีความพึงพอใจและสามารถนำซอฟต์แวร์สาธิตไปใช้ประโยชน์ได้จริง หัวข้อส่วนใหญ่ในการประเมินมีความพึงพอใจร้อยละ 100 ยกเว้น หัวข้อเรื่องข้อมูลยา ผลทางห้องปฏิบัติการและวันนัด มีความพึงพอใจร้อยละ 69.23 สรุป: การวิเคราะห์ระบบงานในคลินิกวาร์ฟารินสามารถนำไปสู่การจัดทำซอฟต์แวร์สาธิตซึ่งบุคคลากรที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในเกือบทุกประเด็น
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Ageno W, Gallus AS, Wittkowsky A, Crowther M, Hylek EM, Palareti G. Oral anticoagulant therapy: antithrombotic therapy and prevention of thrombosis. 9th ed: American College of Chest Physicians Evidence-Based Clinical Practice Guidelines. Chest. 2012; 141(2 Suppl): e44S-88S.
3. Phengtham U. Factors that influence the major bleeding in various patients on chronic warfarin therapy. Lampang Medical Journal 2008; 29: 59-66.
4. Watanasombat K. warfarin manager 2011 [online]. 2011 [cited 2015 Jan 19]. Available from: URL: http://www.crhospital.org/warfarin/