ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุกและระดับความเครียด ต่อผลการประเมินในรายวิชาฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม 3 (โอสถศาลา)
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุก ระดับความเครียด และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งสองกับคะแนนผลการประเมินในรายวิชาฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม 3 (โอสถศาลา) วิธีการ: ตัวอย่างคือนิสิตปริญญาตรีคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ในรายวิชาฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม 3 (โอสถศาลา) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยให้ตัวอย่างตอบแบบสอบถามก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติงานดังกล่าว แบบสอบถามประกอบด้วยแบบประเมินกลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุกฉบับภาษาไทยและแบบวัดความเครียดสวนปรุง 20 ข้อ ผลการวิจัย: ตัวอย่างมีจำนวนทั้งหมด 67 คน นิสิตมีกลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุกทั้ง 7 มิติอยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับความเครียดสูงทั้งก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ (51.34±16.22 และ 47.96±15.03 คะแนนตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) คะแนนในมิติการตั้งเป้าหมายและการจัดการเชิงรุกมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับความเครียดของนิสิต (r=-0.293, p=0.016) ในขณะที่มิติการหลีกหนีปัญหามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความเครียดของนิสิต (r=0.242, p=0.048) การเผชิญความเครียดเชิงรุกเฉพาะด้านการแสวงหาความช่วยเหลือเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคะแนนประเมินในรายวิชาฝึกปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญ (r=0.253, p=0.039) และสามารถทำนายคะแนนประเมินในรายวิชาฝึกปฏิบัติงานได้ (b=0.296) การศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดของนิสิตกับคะแนนประเมินในรายวิชาฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม 3 (โอสถศาลา) สรุป: กลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุกด้านการแสวงหาความช่วยเหลือมีผลทางบวกต่อคะแนนประเมินในรายวิชาฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม 3 (โอสถศาลา) การจัดการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพจึงควรเน้นเรื่องการสนับสนุนเอาใจใส่จากอาจารย์ผู้ดูแลประจำกลุ่มเป็นหลัก
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Greenglass ER, Fiksenbaum L. Frequently asked questions regarding the Proactive Coping Inventory (PCI) [online]. 2005 [cited 2014 May 9]. Available from: URL: http://userpage.fu-berlin.de/health/pci_faq.pdf.
3. Tatha O. Validation and reliability of the Proactive Coping Inventory (PCI): Thai version [master thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2012.
4. Mahatnirunkul S, Pumpisanchai W, Tapanya P. The development of Suanprung Stress Test-20, SPST-20. Chiangmai: Suanprung Hospital; 1997.
5. Phochum R. Causes of stress, level of stress, and coping strategies in nursing students [master thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2000.
6. Rajab LD. Perceived sources of stress among dental students at the university of Jordan. J Dent Educ. 2001; 65: 232-41.
7. Limthongkul M, Aree-Ue S. Sources of stress, coping strategies, and outcomes among nursing students during their initial practice. Ramathibodi Nursing Journal 2009; 15: 192-205.
8. Bhodhirangsiyakorn W. Stress, relaxation techniques and third-year naresuan university medical students’ opinions on the library service’s relaxant corner. Buddhachinaraj Medical Journal. 2007; 24: 306-16
9. Lertsakornsiri M, Deoisres W, Suwaree S. Factors associated with the performance of clinical practice in obstetrics nursing among nursing students in private institutions. Journal of Nursing Science & Health. 2012; 35: 91-9.