การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน ประสิทธิภาพในการลดอาการปวดของเถาวัลย์เปรียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเถาวัลย์เปรียงในการรักษาลดอาการปวด ปัจจุบันยังไม่มีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและไม่มีการวิเคราะห์อภิมานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเถาวัลย์เปรียง วิธีการวิจัย : สืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์จากฐานข้อมูลอิเล็กโทรนิกส์ ได้แก่ Pubmed, CENTRAL, Science-direct, SciSearch และ Thailis รวมถึงสืบค้นด้วยมือเพื่อค้นหางานวิจัยที่ไม่ได้ถูกตีพิมพ์ รวบรวมงานวิจัยทางคลินิกเชิงสุ่มในมนุษย์ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยที่ดำเนินงานวิจัยสำเร็จก่อนปี 2558 ผลการวิจัย : พบงานวิจัย 3 ฉบับที่สอดคล้องกับเกณฑ์คัดเข้าทั้งหมด และทั้งหมดใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่มีคุณภาพสูง โดยได้คะแนนตั้งแต่ 3 คะแนนขึ้นไปเมื่อประเมินตามเกณฑ์ของ Jadad และคณะ แต่ละการศึกษามีขนาดตัวอย่างตั้งแต่ 70-178 คน การศึกษาทั้งหมดเป็นการศึกษาในประเทศไทย โดยทำในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและปวดหลังส่วนล่าง ผลการวิจัยพบว่า เถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิภาพในด้านการลดอาการปวดไม่แตกต่างจากยากลุ่ม NSAIDs (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย = 0.01; 95%CI=-0.13, 0.14) ผลการตรวจทางปฏิบัติการพบว่า ทั้งสองกลุ่มมีค่าทางห้องปฏิบัติการไม่แตกต่างกัน ในด้านการเกิดอาการไม่พึงประสงค์พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR= -0.84; 95%CI=0.63,1.11) อาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุดในทั้งสองกลุ่มคือการระคายเคืองทางเดินอาหาร รองลงมาคือ อาการมึนงง และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากทั้งสามการศึกษา สรุป : การศึกษานี้เป็นข้อมูลสนับสนุนว่า เถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากยากลุ่ม NSAIDs ในการลดอาการปวด ซึ่งสามารถนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการรักษาให้แก่ผู้ป่วยได้
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Mahabusarakama W, Deachathaia S, Phong- paichitb S, Jansakulc C, Taylor WC. A benzil and isoflavone derivatives from Derris scandens Benth. Phytochemistry 2004; 65:1185–91.
3. Laupattarakasem P, Houghton PJ, Hoult JR, Itharat A. An evaluation of the activity related to inflammation of four plants used in Thailand to treat arthritis. J Ethnopharmacol 2003; 85):207-15.
4. Wongsinkongman P, Boonruad T, Techadam- rongsin Y, Bansiddhi J, Chavalittumrong P. Chemical and physical specifications of Derris scandens (Roxb.) Benth. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine 2004; 2:18-34.
5. Wongsinkongman P, Bansiddhi J, Sanluangin S, Thongjin T, Sothanapun U. Bioactive compounds of Derris scandens (Roxb.) extract. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine 2013; 11:267-79.
6. Cook DJ, Mulrow CD, Haynes RB. Systematic reviews: synthesis of best evidence for clinical decisions. Ann Intern Med 1997; 126:376-80.
7. Jadad R, Moore RA, Carroll D, Jenkinson C, Reynolds DJ, Gavaghan DJ, et al. Assessing the quality of reports of randomized clinical trials: Is blinding necessary? Control Clinical Trials 1996; 17:1-12.
8. Higgins JPT, Altman DG, Gøtzsche PC. The Cochrane Collaboration’s tool for assessing risk of bias in randomised trials. BMJ 2011; 343:d 5928 doi: 10.1136/bmj.d5928
9. Higgins JPT, Thomson SG, Deeks JJ, Altman DG. Measuring inconsistency in meta-analyses. BMJ 2003; 327:557-60.
10. Petitti DB. Meta-analysis decision analysis and cost effectiveness analysis. 2nd ed. Oxford University; New York; 2000.
11. Srimongkol Y, Warachit P, Chavalittumrong P, Sriwanthana B, Pairour R, Inthep C, et al. A Study of the Efficacy of Derris scandens (Roxb.) Benth. Extract Compared with Diclofenac for the Alleviation of Low Back Pain. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine 2007; 5:17-23.
12. Benchakanta S, Puttiwong S, Boontan N, Wichit M, Wapee S, Kansombud S. A Comparison of Efficacy and Side Effects of Knee Osteoarthritis Treatments with Crude Derris scandens and Ibuprofen. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine 2012; 10:115-23.
13. Kuptniratsaikul V, Pinthong T, Bunjob M, Thanakhumtorn S, Chinswangwatanakul P, Thamlikitkul V. Efficacy and Safety of Derris scandens Benth Extracts in Patients with Knee Osteoarthritis. J Altern Complement Med 2011; 17:147-53.
14. Laupattarakasem P, Houghton PJ, Hoult JRS. Anti-Inflammatory isoflavonoids from the Stems of Derris scandens. Planta Med 2004; 70:496-501.
15. Sriwanthana B, Chavalittumrong P, Suphaphon B, Wongsinkongman P, Kijphati R. The immunomodulating Activities of Derris scandens Benth. In Normal healthy volunteers. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine 2009; 7: 54-62.