ผลของการแทรกแซงทางจิตวิทยาร่วมกับการให้คำแนะนำโดยเภสัชกร ต่อความรู้และการแจ้งประวัติการแพ้ยาด้วยตนเองของผู้ป่วย

Main Article Content

ภัคพิชา วิมล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการแทรกแซงทางจิตวิทยาร่วมกับการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรต่อความรู้และการแจ้งประวัติการแพ้ยาด้วยตนเองของผู้ป่วย วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 84 คนที่มีประวัติแพ้ยาซึ่งแจ้งประวัติดังกล่าวก็ต่อเมื่อถูกถามโดยเจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้ที่ไม่แจ้งประวัติการแพ้ยาแม้ถูกถามก็ตาม ตัวอย่างถูกสุ่มแยกเป็นกลุ่มทดลอง 43 รายและกลุ่มควบคุม 41 ราย กลุ่มทดลองได้รับความรู้โดยการใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรในเรื่องความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาและยังได้รับคำแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนปัจจัยทางจิตวิทยาที่งานวิจัยในอดีตบ่งชี้ว่าสัมพันธ์กับการแจ้งประวัติการแพ้ยา กลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรตามปกติในเรื่องความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยา ผู้วิจัยประเมินผลของการแทรกแซงโดยวัดพฤติกรรมการแจ้งประวัติแพ้ยาด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกต พฤติกรรมการพกบัตรแพ้ยาโดยการขอดูบัตรแพ้ยา และความรู้เรื่องการแพ้ยาโดยการสัมภาษณ์ การประเมินทำสองครั้ง คือ ก่อนการแทรกแซงและหลังการแทรกแซงเมื่อผู้ป่วยกลับมารับการรักษาในครั้งถัดไปในระยะเวลา 2-6 เดือน ผลการวิจัย: หลังการแทรกแซง กลุ่มทดลองร้อยละ 41.9 แจ้งประวัติการแพ้ยาด้วยตนเองโดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องถาม ซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 19.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.027) หลังการแทรกแซง กลุ่มทดลองร้อยละ 90 แจ้งประวัติด้วยการใช้บัตรแพ้ยา (หรือแจ้งด้วยวาจาร่วมด้วย) ซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 65.9) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.020) ก่อนการแทรกแซงผู้ป่วยทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพกบัตรแพ้ยาน้อยกว่าร้อยละ 50 หลังการแทรกแซง กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพกบัตรแพ้ยาเพิ่มขึ้นมาก (ร้อยละ 90.2 และ 95.3 ตามลำดับ) และไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม (P=0.364) หลังการแทรกแซง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความรู้ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกประเด็น ยกเว้นความรู้เรื่องการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำซึ่งกลุ่มทดลองมีความรู้ (ร้อยละ 74.4) มากกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 46.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.008) สรุป: การให้ความรู้เรื่องการแพ้ยาโดยใช้การแทรกแซงทางจิตวิทยาร่วมกับการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรส่งผลให้ผู้ป่วยร่วมมือในการแจ้งประวัติแพ้ยาด้วยตนเองมากขึ้น สถานพยาบาลต่างๆ  สามารถนำวิธีในการศึกษาไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาความไม่ร่วมมือในการแจ้งประวัติแพ้ยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Gomes E, Cardoso MF, Praca F, Gomes L, Marino E, Demoly P. Self-reported drug allergy in a general adult Portuguese population. Clin Exp Allergy. 2004; 34: 1597-601.

2. ยงยุทธ โล่ศุภกาญจน์. การสำรวจประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาของประชาชนในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. [ออนไลน์]. 2543 [สืบค้นวันที่ 15 มิถุนายน 2554]. เข้าถึงได้จาก URL:http://elib.fda. moph.go.th/multim/html7/12433_1.htm.

3. Einarson TR. Drug-related hospital admissions. Ann Pharmacother.1993;27: 832-40.

4. Thong BY, Leong KP, Tang CY, Chang HH. Drug allergy in a general hospital: results of a novel prospective in patient reporting system. Ann Allergy Asthma Immunol. 2003; 90: 342–7.

5. จันทรัศมน ด่านศิริกุล, จิตติมา เอกตระกูลชัย, น้ำฝน ศิวะนาวินทร์. การติดตามอย่างพินิจพิเคราะห์เพื่อค้น หาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาชนิดที่ป้องกันได้. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร 2548;10: 132-44.

6. วลัยรัตน์ วงศ์เพ็ญทักษ์. การประเมินผลงานส่งมอบบัตรแพ้ยาแก่ผู้ป่วย. ข่าวสารด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2551;11: 16-20.

7. รุ่งลักษณ์ คิดเกื้อการุญ, ธม ทาหาร, สิริลักษณ์ โตวรานนท์, ปรารถนา ชามพูนท, อภิสิทธิ์ เทียนชัยโรจน์, วิมลเกษสัมมะ และคณะ. ผลการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก. พุทธชินราชเวชสาร 2551;25: 852-61.

8. สมสกุล ศิริไชย. ประสบการณ์: การป้องกันการแพ้ยาซ้ำซากของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเลิดสิน. ข่าวสารด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2547;7: 12-3.

9. จันทร์จิรา ชอบประดิถ. การลดและป้องกันการแพ้ยาซ้ำในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารอาหารและยา 2547; 11: 61-7.

10. Gruchalla RS. Drug allergy. J Allergy Clin Immunol. 2003;111: 548-59.

11. Lesar TS, Briceland L, Stein D. Factors related to errors in medication prescribing. JAMA.1997; 277: 312–7.

12. Jones TA, Cosmo JA. Assessment of medication errors that involved drug allergies at a university hospital. Pharmacotherapy 2003;23: 855-60.

13. Leape LL, Bates DW, Cullen DJ, Cooper J, Demonaco HJ, Gallivan T, et al. Systems analysis of adverse drug events. JAMA.1995;274: 35-43.

14. Bates DW, Teich JM, Lee J, Seger D, Kuperman GJ, Ma’Luf N, et al. The impact of computerised physician order entry on medication error prevention. J Am Med Inform Assoc.1999;6: 313–21.

15. นิสา เลาหพจนารถ, ปิยเมธ โตสุขุมวงศ์, พวงเพ็ญ ฤทธีวีรกุล.การประเมินผลงานส่งมอบบัตรแพ้ยาแก่ผู้ป่วย ในที่มีประวัติแพ้ยาโดยเภสัชกร.วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2550;17: 40-8.

16.Johnson V, Croft C, Crane V. Counseling patients about drug allergies in the inpatient setting. Am J Health-Syst Pharm 2001; 58: 1855-8.

17. Shulman JI, Shulman S, Haines AP. The prevention of adverse drug reactions-a potential role for pharmacists in the primary care team?. J R Coli Gen Pract.1981;31: 429-34.

18. Pilzer JD, Burke TG, Mutnick AH. Drug allergy assessment at a university hospital and clinic. Am J Health Syst Pharm.1996; 53: 2970-5.

19. Chaikoolvatana A, Chanakit T, Juengrakpong A. The evaluation of a recurrent Adverse Drug Reaction Prevention Program in the north-east region of Thailand. J Med Assoc Thai. 2006;89: 699-705.

20. Chaipichit N. Strategies for improving patients' knowledge, understanding and promoting behavioral change to prevent and reduce the occurrence of drug allergy [master thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2010.

21. ชุติมา ระฆังทอง, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแจ้งประวัติแพ้ยาโดยผู้ป่วย. วารสารเภสัชกรรมไทย 2553;2: 46-59.

22. นทพร ชัยพิชิต, นฤมล เจริญพรศิริกุล, ผันสุ ชุมวรฐายี. ความรู้ ความเข้าใจต่อการแพ้ยาและพฤติกรรมการพกบัตรแพ้ยาของผู้ป่วยแพ้ยา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2552;24: 224-9.

23. พงษ์เทพ เล็บนาค, สุกัญญา เตชกิตติรุ่งโรจน์, สุภาวดี สืบศาสนา. การสำรวจความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาและการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการแพ้ยาของประชาชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. [รายงานการศึกษาอิสระเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2544

24. ฐิตินันท์ สมุทรไชยกิจ. ความเข้าใจเกี่ยวกับการแพ้ยาของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์.รายงานการประชุมวิชาการงานเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยา: ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข; 2550.

25. Faul GF, Erdfelder E, Buchner A and Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods 2009;41: 1149-60.

26. อรัญญา จึงรักษ์พงษ์. ประเมินผลขบวนการป้องกันการแพ้ยาซ้ำโดยเภสัชกรโรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2547.

27. Puavilai S, Choonhakam C. Drug eruptions in Bangkok: a 1-year study at Ramathibodi Hospital. Int J Dermato 1998;37: 747-51.

28. Padilla Serrato MT, Arias Cruz A, Weinmann AM, González Díaz SN, Galindo Rodríguez G, García Cobas CY. Prevalence of allergy to drugs in a group of asthmatic children and adolescents of northeast of Mexico. Rev AIerg Mex. 2006; 53: 179-82.