ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินของโรงพยาบาลปัตตานี

Main Article Content

เจนจิรา ตันติวิชญวานิช
รังสิมา ไชยาสุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินซึ่งดำเนินการโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ วิธีการวิจัย: ผู้วิจัยให้การบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่ใช้ยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลปัตตานีโดยประเมินความร่วมมือในการใช้ยา ประเมินอาการไม่พึงประสงค์ด้วย Naranjo's algorithm ตรวจสอบการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน และการเก็บรักษายา หลังจากนั้นดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่พบ ผลการวิจัย: การเก็บข้อมูลในผู้ป่วยนอก 103 รายซึ่งเข้ารับการรักษารวม 626 ครั้ง พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 20.61 มีปัญหาจากการใช้ยาวาร์ฟาริน ผู้ป่วยไม่ร่วมมือในการใช้ยาร้อยละ 46.51 (ไม่ได้รับประทานยาในบางมื้อหรือหยุดยาเองร้อยละ 75 และรับประทานยาไม่ถูกต้องร้อยละ 25)  เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาร้อยละ 43.41 (เช่น จ้ำเลือดและเลือดออกตามไรฟัน)  เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาและอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผู้ป่วยใช้ร่วมร้อยละ 9.30 และเก็บยาไม่ถูกต้องร้อยละ 0.78  นอกจากนี้ยังพบความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยาวาร์ฟารินของแพทย์ร้อยละ 11.02 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่แพทย์ไม่ปรับขนาดยาตามค่า International Normalized Ratio (INR) ร้อยละ 36.23  แพทย์ยอมรับข้อเสนอแนะของเภสัชกรร้อยละ 79.71 ในการปรับเปลี่ยนการรักษา การเก็บข้อมูลในผู้ป่วยใน 114 รายซึ่งได้รับการติดตาม 168 ครั้ง พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 8.33 มีปัญหาจากการใช้ยาวาร์ฟาริน ส่วนใหญ่ คือ การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาร้อยละ 71.43 (เช่น ไอ อาเจียน ปัสสาวะ ถ่ายเป็นเลือด เลือดออกตามไรฟัน และมีจ้ำเลือด) การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่ผู้ป่วยใช้ร่วมร้อยละ 21.43    นอกจากนี้พบความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยาวาร์ฟารินของแพทย์ร้อยละ 7.74 ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์ปรับขนาดยาไม่เหมาะสมร้อยละ 76.92 และแพทย์ไม่สั่งยาที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับร้อยละ 23.08  แพทย์ยอมรับข้อเสนอแนะของเภสัชกรร้อยละ 83.33  สรุป: การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินโดยเภสัชกรร่วมกับการทำงานของทีมสหสาขาวิชาชีพช่วยให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างถูกต้องและเกิดความปลอดภัยในการใช้ยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สุมิตรา สุทธิไสย, สมศักดิ์ คำร้อง, ชุติมา รัตนชมพู. ขนาดยา warfarin ที่เหมาะสมในการรักษาผู้ป่วย atrial fibrillation ที่ทำให้ INR อยู่ในช่วงเป้าหมาย [ออนไลน์]. 2555 [สืบค้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: www.researchers.in.th/blogs/posts/2320

2. สุณี เลิศสินอุดม, ผันสุ ชุมวรฐายี, อาภรณ์ ไชยาคำ. การทบทวนการใช้ยา warfarin ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ [ออนไลน์]. 2555 [สืบค้นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555]. เข้าถึงได้จาก : URL: www. smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T & art_id=1598.

3. นฤมล เจริญศิริพรกุล, นิสิตตรา พลโคจร. การศึกษาการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟารินแบบย้อนหลังในโรงพยาบาลสรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2549;11:228-36.

4. Waterman AD, Milligan PE, Bayer L, Banet GA, Gatchel SK, Gage BF. Effect of warfarin nonadherence on control of the international normalized ratio. Am J Health Syst Pharm 2004; 61: 1258-64.

5. Li T, Lange LA, Li X, et al. Polymorphisms in the VKORC1 gene are strongly associated with warfarin dosage requirements in patients receiving anticoagulation. J Med Genet 2008; 43: 740-4.

6. Wittkowsky AK, Devine EB. Frequency and causes of over anticoagulation and under anticoagulation in patients treated with warfarin. Pharmacotherapy . 2004; 24:1311-6.

7. Krittathanmakul S, Silapachote P, Pongwecharak J, Wongsatit U. Effects of pharmacist counseling on outpatients receiving warfarin at Songklanagarind Hospital. Songklanagarind Medical Journal 2006; 24: 93-9.

8. Saokaew S, Permsuwan U, Chaiyakunapruk N, Nathisuwan S, Sukomthasarn A. Effectiveness of pharmacist-participated warfarin therapy manage- ment: a systematic review and meta-analysis. J Thromb Haemost 2010; 8: 2418–27.

9. ดุษณี เกษเมธีการุณ, นฤมล เจริญศิริพรกุล. ปัญหาจากการใช้ยา warfarin : แนวทางการจัดตั้งคลินิกยาต้านการแข็งตัวของเลือด. ศรีนครินทร์เวชสาร 2545; 17: 281-8.

10. ทรงขวัญ ศิลารักษ์, รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์, อรินทยา พรหมินธิกุล และคณะ. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน พ.ศ. 2553. [ออนไลน์]. 2553 [สืบค้นวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555]. เข้าถึงได้จาก : URL: http://www.thaiheart.org/images/column_1292154183/warfarin_Guideline%281%29.pdf

11. Guidelines & Protocols Advisory Committee on warfarin therapy management. [ออนไลน์]. 2555 [สืบค้นวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555]. เข้าถึงได้จาก : URL:www.bcguidelines.ca/pdf/warfarin_management .pdf.

12. Ebell M. Point-of-care guides evidence-based adjustment of warfarin (coumadin) dose. Am Fam Physician 2005; 71:1979-82.

13. ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. แบบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ. [ออนไลน์]. 2556 [สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2556]. เข้าถึงได้จาก : URL: http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/NewsFiles/uploads/hpvc_20_20_0_100423_1.pdf

14. Tatro DS. Drug interaction facts. Wolters Kluwer Health; Missouri; 2008. p. 89, 150.

15. ปาจรีย์ ศรีอุทธา, วันวิภา เทพารักษ์, ชิดชนก เรือนก้อน, กนกพร นิวัฒนนันท์. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอกที่มีการควบคุมการรักษาของยาวาร์ฟารินไม่คงที่. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2552; 19: 123-35.

16. สมชัย วงศ์ทางประเสริฐ, สำอางค์ เกียรติเจริญสิน. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลระยองที่ได้รับยาวาร์ฟาริน. เภสัชกรรมคลินิก 2551; 15: 109-16.

17. มณีรัตน์ สิทธิเดช, ภัทรศรี มูฮำมัด, นงลักษณ์ มาลานุสรณ์ และคณะ. ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินหลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมชนิดโลหะ ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2555; 30: 63-73.

18. Osterberg L, Blaschke T. Adherence to medication. N Engl J Med 2005; 353: 487-97.

19. สาวิตรี ทองอาภรณ์, โพยม วงศ์ภูวรักษ์, วรนุช แสงเจริญ, วิบุล วงศ์ภูวรักษ์. อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยในจังหวัดสงขลา. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2; 4-5 กันยายน 2555; กรุงเทพมหานครฯ, ประเทศไทย;2555; 1–10.

20. นฤมล เจริญศิริพรกุล และนิสิตตรา พลโคตร. การศึกษาการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟารินแบบย้อนหลังในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. 2549; 11: 228-36.