การประเมินต้นทุนประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งผู้ใหญ่ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาว นิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้กลุ่มความเสี่ยงน้อยในบริบทของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งผู้ใหญ่ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้กลุ่มความเสี่ยงน้อยในบริบทของประเทศไทย วิธีการวิจัย: การวิจัยใช้แบบจำลองต้นไม้การตัดสินใจ (decision tree) เพื่อเปรียบเทียบ 3 ทางเลือกในการรักษา คือ 1) ยาฉีด ceftazidime ในโรงพยาบาล 2) ยารับประทาน ciprofloxacin ร่วมกับ amoxicillin-clavulanate ในโรงพยาบาล 3) ยารับประทาน ciprofloxacin ร่วมกับ amoxicillin-clavulanate โดยจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลเร็วกว่าปกติคือ ภายใน 48 ชั่วโมง การศึกษานี้ใช้มุมมองของผู้ให้บริการในการวิเคราะห์ ดังนั้นจึงพิจารณาเฉพาะต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเท่านั้น ข้อมูลดังกล่าวได้จากโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี โดยปรับต้นทุนให้อยู่ในค่าของปี 2555 ตัวแปรผลลัพธ์การรักษาได้จากการทบทวนวรรณกรรมและความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ โดยประสิทธิผลถูกวัดในรูปของครั้งสุขภาวะการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้ (Quality Adjusted Febrile Neutropnia Episode: QAFNE) ใน 1 รอบการรักษาหรือ 30 วัน การศึกษานี้วิเคราะห์อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-Effectiveness Ratio; ICER) และวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียว (one-way sensitivity analysis) ผลการวิจัย: ทางเลือกที่ 3 มีต้นทุนต่ำที่สุดเท่ากับ 4,804 บาทและประสิทธิผลดีที่สุดเท่ากับ 0.5955 QAFNE เมื่อเทียบกับทางเลือกที่ 1 ทางเลือกที่ 2 และ 3 ช่วยประหยัดเงินได้ 10,667 และ 16,181 บาทต่อ QAFNE ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความไวพบว่า ค่าอรรถประโยชน์การให้ยาฉีดปฏิชีวนะในโรงพยาบาล ค่าอรรถประโยชน์การให้ยารับประทานปฏิชีวนะในโรงพยาบาล และระยะเวลาการให้ยารับประทานปฏิชีวนะในโรงพยาบาลมีผลต่อค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม สรุป: การให้ยารับประทาน ciprofloxacin ร่วมกับ amoxicillin-clavulanate ในโรงพยาบาล หรือการให้ยารับประทาน ciprofloxacin ร่วมกับ amoxicillin-clavulanate โดยจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลเร็วกว่าปกติภายใน 48 ชั่วโมง อาจเป็นทางเลือกใหม่ที่มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิผลที่ดีในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำร่วมกับมีไข้กลุ่มความเสี่ยงน้อยในบริบทของประเทศไทย
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Klastersky J, Paesmans M, Rubenstein EB, Boyer M, Elting L, Feld R, et al. The Multinational Association for Supportive Care in Cancer risk index: A multinational scoring system for identifying low-risk febrile neutropenic cancer patients. J Clin Oncol 2000;18:3038-51.
3. Chayakulkeeree M, Thamlikitkul V. Risk index for predicting complications and prognosis in Thai patients with neutropenia and fever. J Med Assoc Thai 2003;86:212-23.
4. Paul M, Yahav D, Fraser A, Leibovici L. Empirical antibiotic monotherapy for febrile neutropenia: systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. J Antimicrob Chemother 2006;57:176-89.
5. Alejandria MM, Panaligan MM, Molina FG, Raymundo MFP. Empiric oral versus intravenous antibiotics for low-risk febrile neutropenia: a meta-analysis. Phil J Intern Med. 2001;39:1-9.
6. Elting LS, Lu C, Escalante CP, Giordano SH, Trent JC, Cooksley C, et al. Outcomes and cost of outpatient or inpatient management of 712 patients with febrile neutropenia. J Clin Oncol 2008;26:606-11.
7. Innes HE, Smith DB, O'Reilly SM, Clark PI, Kelly V, Marshall E. Oral antibiotics with early hospital discharge compared with in-patient intravenous antibiotics for low-risk febrile neutropenia in patients with cancer: a prospective randomised controlled single centre study. Br J Cancer 2003;89:43-9.
8. พรรณพิศ สุวรรณกูล, แสงสุรีย์ จูฑา, อมร ลีลารัศมี, ธานินทร์ อินทรกำธรชัย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาภาวะ Febrile neutropenia ในผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารสารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย 2548;22:9-18.
9. Leese B. The costs of treating febrile neutropenia in six U.K. Hospitals. Eur J Cancer 1993;29A:S15-8.
10. Lyman GH, Kuderer N, Greene J, Balducci L. The economics of febrile neutropenia: implications for the use of colony-stimulating factors. Eur J Cancer 1998;34:1857-64.
11. Mayordomo JI, Lopez A, Vinolas N, Castellanos J, Pernas S, Domingo Alonso J, et al. Retrospective cost analysis of management of febrile neutropenia in cancer patients in Spain. Curr Med Res Opin 2009;25:2533-42.
12. Teuffel O, Amir E, Alibhai S, Beyene J, Sung L. Cost effectiveness of outpatient treatment for febrile neutropaenia in adult cancer patients. Br J Cancer. 2011;104:1377-83.
13. Vidal L, Paul M, dor IB, Soares-Weiser K, Leibovici L. Oral versus intravenous antibiotic treatmeant for febrile neutropenia in cancer patients: a systematic re
view and meta-analysis of randomized trials. J Antimicrob Chemother 2004;54:29-37.
14. Freifeld A, Marchigiani D, Walsh T, Chanock S, Lewis L, Hiemenz J, et al. A double-blind comparison of empirical oral and intravenous antibiotic therapy for low-risk febrile patients with neutropenia during cancer chemotherapy. N Engl J Med 1999;341:305-11.
15. Kern WV, Cometta A, De Bock R, Langenaeken J, Paesmans M, Gaya H. Oral versus intravenous empirical antimicrobial therapy for fever in patients with
granulocytopenia who are receiving cancer chemotherapy. International Antimicrobial Therapy Cooperative Group of the European Organization for Research and Treatment of Cancer. N Engl J Med 1999;341:312-8.
16. Niho S, Ohe Y, Goto K, Ohmatsu H, Matsumoto T, Kubota K, et al. Randomized trial of oral versus intravenous antibiotics in low-risk febrile neutropenic patients with lung cancer. Jpn J Clin Oncol 2004 ;34:69-73.
17. Danchaivijitr S, Judaeng T, Sripalakij S, Naksawas K, Plipat T. Prevalence of nosocomial infection in Thailand 2006. J Med Assoc Thai 2007;90:1524-9.
18. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข [ออนไลน์]. นนทบุรี: สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข; ราคายาอ้างอิง; [สืบค้นวันที่ 6 มีนาคม 2556]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://dmsic.moph.go.th/price.htm.
19. Smartdrugprice [ออนไลน์]. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เวิลด์เมดิก อินฟอร์เมชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด; ราคายา Ciprobay [สืบค้นวันที่ 1 มีนาคม 2556]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.smartdrugprice.com.
20. กรมบัญชีกลาง [ออนไลน์]. กรุงเทพมหานคร: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง; อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ว 177 (ใช้บังคับ วันที่ 1 ธันวาคม 2549); [สืบค้นวันที่ 5 มกราคม 2556]. [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cgd.go.th/wps/wcm/ connect/CGD+Internet/CGD+Internet/CGDInfo/Welfare/Interesting/Interesting_detail/MedicalWelfare_Interesting_048.
21. สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า [ออนไลน์]. นนทบุรี: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์; รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศไทย ปี 2555 ปีฐาน 2554; [สืบค้นวันที่ 5 มกราคม 2556]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www. indexpr.moc.go.th/price_present/TableIndexG_region.asp?nyear=2555&Province_code=5&table_name=cpig_index_country&type_code=g&check_f=i&comm_code=0&Submit=+%B5%A1%C5%A7.
22. อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, ยศ ตีระวัฒนานนท์, สิริพร คงพิทยาชัย, เนติ สุขสมบูรณ์. คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
23. Elting LS, Cantor SB. Outcomes and costs of febrile neutropenia: adventures in the science and art of treatment choices. Support Care Cancer 2002;10: 189-96.
24. Hidalgo M, Hornedo J, Lumbreras C, Trigo JM, Colomer R, Perea S, et al. Outpatient therapy with oral ofloxacin for patients with low risk neutropenia and fever: a prospective, randomized clinical trial. Cancer 1999;85:213-9.
25. Kuderer NM, Dale DC, Crawford J, Cosler LE, Lyman GH. Mortality, morbidity, and cost associated with febrile neutropenia in adult cancer patients. Cancer 2006;106:2258-66.
26. Malik IA, Khan WA, Aziz Z, Karim M. Self-administered antibiotic therapy for chemotherapy-induced, low-risk febrile neutropenia in patients with nonhematologic neoplasms. Clin Infect Dis 1994;19: 522-7.
27. Malik IA, Khan WA, Karim M, Aziz Z, Khan MA. Feasibility of outpatient management of fever in cancer patients with low-risk neutropenia: results of a prospective randomized trial. Am J Med 1995; 98:224-31.
28. Talcott JA, Siegel RD, Finberg R, Goldman L. Risk assessment in cancer patients with fever and neutropenia: a prospective, two-center validation of a prediction rule. J Clin Oncol 1992;10:316-22.
29. Tongsiri S. The Thai population based preference scores for EQ5D health states2009 [online]. 2009 [cited 2013 March 3]: Available from: URL: http:// www.hitap.net/en/research/10525.
30. โปรแกรมรายการต้นทุนมาตรฐานเพื่อการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ [ออนไลน์]. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; [สืบค้นวันที่ 1 มีนาคม 2556]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://www. hitap.net/costingmenu/.
31. Danchaivijitrmd S, Dhiraputra C, Santiprasitkul S, Judaeng T. Prevalence and impacts of nosocomial infection in Thailand 2001. J Med Assoc Thai 2005;88:S1-9.