การออกแบบการสอนเชิงปฏิบัติจริงในรายวิชาระบบยาและสุขภาพ

Main Article Content

สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อออกแบบและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาระบบยาและสุขภาพ ของนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554 วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาในชั้นเรียนที่ดำเนินการควบคู่กับการเรียนการสอนปกติ มุ่งอรรถาธิบายความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนด้วยมุมมองของผู้เรียนและคณาจารย์ผู้สอน พร้อม ๆ ไปกับการถอดบทเรียนเพื่อแสวงหาบทเรียนที่ดีสำหรับการพัฒนา  การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทำโดยเปรียบเทียบระดับการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน ผลการวิจัย: การจัดการเรียนการสอนเป็นการบรรยายที่อิงกรณีศึกษาจริงและการปฏิบัติการภาคสนามสำรวจชุมชน การออกแบบรายวิชาต้องการเชื่อมโยงการสอนภาคบรรยายกับภาคปฏิบัติการ เพื่อช่วยให้นิสิตเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น ตลอดจนสามารถประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาอธิบายสถานการณ์จริงได้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพ  ระบบยา และชุมชนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  สรุป: การออกแบบการเรียนการสอนตามวิธีการที่นำเสนอทำให้นิสิตมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดี 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชัยวัฒน์ สุทิรัตน์. การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ ทฤษฏี แนวปฏิบัติ และผลการวิจัย. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง. 2553 หน้า 63-74.

2. วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน. การนำเสนอปฏิบัติการทางเลือกของการเรียนการสอนตามสภาพจริงในวิชาหลักสูตรและการสอนทั่วไปสำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

3. สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.