ผลของคำแนะนำชนิดรูปภาพต่อความเข้าใจของ ผู้ปกครองในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้ง

Main Article Content

สายพิณ สายดำ
นุจรี ประทีปะวณิช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของคำแนะนำชนิดรูปภาพต่อความเข้าใจของผู้ปกครองในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้ง วิธีการวิจัย: การศึกษาเป็นการทดลองแบบสุ่ม ผู้ปกครองของเด็กที่ต้องใช้ยาปฎิชีวนะถูกสุ่มแยกเป็นกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลองได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งด้วยวาจาร่วมกับคำแนะนำชนิดรูปภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาโดยวาจา จากนั้นผู้วิจัยส่งแบบทดสอบความเข้าใจไปให้ตัวอย่างที่บ้าน ผลการวิจัย: กลุ่มควบคุม 26 คน (ร้อยละ 65) และกลุ่มทดลอง 32 คน (ร้อยละ 80) ตอบแบบสอบถาม ความเข้าใจโดยรวมต่อ การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งของผู้ปกครองในกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ78.41 และ 75.17 ตามลำดับ) ผู้ปกครองในกลุ่มทดลองเข้าใจเทคนิคการผสมยา (ร้อยละ 71.9) มากกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 46.2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.046) ผู้ปกครองน้อยกว่าครึ่งในทั้ง 2 กลุ่มมีความเข้าใจในเรื่องน้ำที่เหมาะสมสำหรับใช้ผสมยา นอกจากนี้ ตัวอย่างน้อยกว่าร้อยละ  70 ของทั้งสองกลุ่มมีความเข้าใจถูกต้องในเรื่องวิธีปฏิบัติสำหรับยาที่ให้ก่อนอาหาร และความคงตัวของยาหลังผสมน้ำ สรุป: คำแนะนำชนิดรูปภาพทำให้ผู้ปกครองเข้าใจในเรื่องเทคนิคการผสมยามากขึ้นกว่าการให้คำแนะนำด้วยวาจาเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ควรมีการปรับปรุงคำแนะนำชนิดรูปภาพให้สามารถเพิ่มความเข้าใจในประเด็นอื่น ๆ ที่ยังเป็นปัญหา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Ghaleb MA, Barber N, Franklin BD, Yeung VWS, Khaki ZF, Wong CK. Systemic review of medication errors in pediatric patients. Ann Pharmacother 2006;40: 1766-76.

2. McPhillips HA, Stille CJ, Smith D, Hecht J, Pearson JD, Stull J et al. Potential medication dosing errors in outpatient pediatrics. J Pediatrics 2005;147: 727-28.

3. Li SF, Lacher B, Crain EF. Acetaminofen and ibruprofen dosing by parents. J Pediatric Emerg Care 2000;16: 394-7.

4. Goldman RD, Scolnik D. Underdosing of acetaminophen by parents and emergency department utilization. J Pediatr Emerg Care 2004;20: 89-93.

5. Simon HK. Caregiver knowledge and delivery of a commonly prescribed medication (albuterol) for children. J Arch Pediatr Adolesc Med 1999;153: 615-18.

6. ยุพาพร ปรีชากุล, ราตรี แสงส่ง. การบริบาลทางเภสัชกรรมในเด็ก. ศรีนครินทร์เวชสาร 2549;21: 359-65.

7. Gunn VL, Taha SH, Liebelt EL, Liebelt EL, Serwint JR. Toxicity of over the counter cough and cold medications. J Pediatrics 2001;108: E52.

8. วิวัฒนา คณาวิทูรย์. พฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับเด็กที่มารับบริการที่งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลแม่และเด็ก ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี. วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคกลาง 2545;17: 45-53.

9. McMahon SR, Rimza ME, Bay RC. Parents can dose liquid medication accurately. Pediatrics 1997;100: 330-3.

10. Knapp P, Raynor DK, Jebar AH, Price S. Interpretation of medication pictograms by adults in the UK. Ann Pharmacother 2006;39:1227-33.

11. Mansoor LE, Dowse R. Effect of pictograms on readability of patient information materials. Ann Pharmacother 2003 ;37:1003-9.

12. Mansoor LE, Dowse R. Written medicines information for South African HIV/AIDS patients: does it enhance understanding of co-trimoxazole therapy?. J Health Educ Res 2007;22: 37-48.

13. Houts PS, Witmer JT, Egeth HE, Loscalzo MJ, Zabora JR. Using pictographs to enhance recall of spoken medical instructions II. Patient Educ Couns 2001;43: 231-42.

14. Dowse R, Ehlers M. Medicine labels incorporating pictograms: do they influence understanding and adherence?. Patient Educ Couns 2005;58: 63-70.

15. กัญจน์ญาดา นิลวาศ, กมลชนก เสมอคำ, กัลยารัตน์ การหมั่น, วลัยรัตน์ ดีแท้. ผลของฉลากช่วยรูปภาพต่อการระลึกได้ถึงข้อมูลการใช้ยา. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร 2548; 10:162-7.

16. สายพิณ สายดำ, นุจรี ประทีปะวณิช. พฤติกรรมและความเข้าใจของผู้ปกครองต่อการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้ง. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2552;19:S79-89.

17. อรุณ จิรวัฒน์กุล, มาลินี เหล่าไพบูลย์, จิราพร เขียวอยู่, ยุพา ถาวรพิทักษ์, จารุวรรณ โชคคณาพิทักษ์, บัณฑิต ถิ่นคำรพ และคณะ. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2546.