ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการสังเกตป้ายอาหารปลอดภัยของผู้บริโภค เพื่อประกอบการเลือกซื้อ : กรณีศึกษาการเลือกซื้อผัก

Main Article Content

จุฑาทิพย์ กิตติ
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต
อรอุษา สุวรรณมณี

บทคัดย่อ

ป้ายสัญลักษณ์อาหารปลอดภัยเป็นป้ายรับรองที่กระทรวงสาธารณสุขออกให้แก่สถานประกอบการ เพื่อรับรองความปลอดภัยของอาหารสดจากสารปนเปื้อน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการสังเกตป้ายอาหารปลอดภัยในการเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภค โดยใช้ผักสดเป็นกรณีศึกษา วิธีการศึกษา : การศึกษามีสองส่วน ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ที่สังเกตป้ายทุกครั้งก่อนเลือกซื้อ 2 ราย สังเกตเป็นบางครั้ง 5 ราย และไม่เคยสังเกตป้ายเลย 3 ราย การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคสังเกตป้ายฯ และนำมาผลการวิจัยมาพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัย และสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการศึกษาช่วงต่อมา การศึกษาส่วนที่สองเป็นการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ที่ซื้อผักจากร้านที่มีป้ายฯ 115 ราย และผู้ที่ซื้อจากร้านที่ไม่มีป้าย ฯ 115 ราย ผลการวิจัย : การวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าแรงจูงใจในการสังเกตป้ายเกิดจากทัศนคติ บรรทัดฐานและอุปสรรคในการสังเกตป้ายฯ ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติต่อการสังเกตป้ายฯ คือ ความรู้เกี่ยวกับชนิดและอันตรายของสารปนเปื้อน ความตื่นตัวในเรื่องสุขภาพ ความเชื่อว่าอาหารจากร้านที่มีป้ายฯ มีความปลอดภัย และความเชื่อว่าอาหารจากร้านที่มีป้ายฯ มีราคาแพงกว่า ส่วนความเชื่อของเพื่อนสนิทและบุคคลในครอบครัวมีผลต่อบรรทัดฐานในการสังเกตป้ายฯ ส่วนความเชื่อว่ามีร้านที่ได้ป้ายฯ น้อยก่อให้เกิดความรู้สึกว่าการสังเกตป้ายฯ เป็นสิ่งทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ การศึกษาเชิงปริมาณในผู้บริโภคเฉพาะที่รู้จักป้ายอาหารปลอดภัย (174 รายจาก 230 ราย หรือร้อยละ 75.6) แรงจูงใจเป็นปัจจัยเดียวที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผักสดจากร้านที่มีป้ายฯ (odds ratio=1.86, ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95=1.40-2.48, p<0.001) สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจเรียงตามลำดับความแรงคือบรรทัดฐาน และทัศนคติต่อการสังเกตป้ายฯ  ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติต่อการสังเกตป้ายฯ เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ความตื่นตัวเรื่องสุขภาพ ความเชื่อว่าอาหารจากร้านที่มีป้ายรับรองเป็นอาหารที่ปลอดภัย และความรู้เกี่ยวกับอันตรายของสารปนเปื้อน สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อบรรทัดฐานในการสังเกตป้ายเรียงตามลำดับความแรง ได้แก่ ความเชื่อของเพื่อนสนิท และความเชื่อบุคคลในครอบครัว สรุป : การสร้างแรงจูงใจในการสังเกตป้ายฯ ควรมุ่งทำให้ประชาชนเห็นว่าการสังเกตเป็นบรรทัดฐานของสังคม ร่วมกับการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการสังเกตป้ายฯ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1) Mead PM, Slutker L, Dietz V, McCaig LF, Bresee JS, Shapiro C, et al. Food-related illness and death in the United State. Emerg Infect Dis 1999; 5: 607-25.

2) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2546. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2548.

3) ส่องนโยบาย : food safety อาหารปลอดภัย ผลักดันครัวไทยสู่ครัวโลก. พาณิชย์ภูมิภาค; 2547; 1: 35-7

4) สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. หลักเกณฑ์และการให้เครื่องหมายรับรองอาหารปลอดภัย [ออนไลน์]. 2552 [สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2552]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www.dmsc.moph.go .th/webroot/BQSF/IndexMain.htm.

5) ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร กระทรวงสาธารณสุข. ผลสำเร็จการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร (food safety) กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2546-2548; นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

6) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค. [ออนไลน์]. 2552 [สืบค้นวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.consumerthai.org/index

7) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. สรุปผลงานประจำปี. 2547. สงขลา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา; 2547.

8) นพมาศ บุษบรรณ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการอาหารปลอดภัยของผู้ประกอบการ [สารนิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ; 2546.

9) นิรัตน์ เตียสุวรรณ, ทิพากร มีใจเย็น, ศิริกุล อำพนธ์, วิษณุ โรจน์เรืองไร. การประเมินผลการสร้างกระแสความปลอดภัยด้านอาหาร. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2547.

10) จีรนันท์ จันทศร. การรับรู้ต่อป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและการเลือกซื้ออาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [ปัญหาพิเศษเภสัขศาสตรบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2548.

11) Slovic P. Perception of risk: reflections on the psychometric paradigm. In: Krimsky S, Golding D, editors. Social theory of risk. Connecticut: Praeger; 1992. p. 117-52.

12) พรรณนีย์ วิชชาชู. กระแสผักปลอดภัยจากสารพิษ [ออนไลน์]. 2547 [สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2552]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.nrru.ac.th/knowledge/ agr001.asp

13) Glanz K, Lewis FM and Rimer BK. Health behavior and health education: theory, research and practice. San Franciso: Jossey-Bass Publishers; 1990. p. 161-86.

14) Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods. 2007; 39: 175-91.

15) Conner M, Norman P. Predicting health behaviour: a social cognition approach. In: Conner M, Norman P. editors. Predicting health behaviour: research and practice with social cognition models. Maidenhead, Berkshire: Open University Press; 2005. p. 170–222.

16) Mullan BA, Wong CL. Hygienic food handling behaviours: an application of the theory of plannedbehaviour. Appetite 2009; 52: 757–61.

17) Quine L, Rutter DR., Arnold L. . Predicting and understanding safety helmet use among schoolboy cyclists: a comparison of the theory of planned behaviour and the health belief model. Psychol Health 1998; 13: 251–69.

18) Howlett RI, Larsh S, Dobi L, Mai V. Promoting cancer screening among Ontario Chinese women. Can J Public Health. 2009; 100: 315-9.

19) Sorensen G, Stoddard AM, Dubowitz T, Barbeau EM, Bigby J, Emmons KM, et al. The influence of social context on changes in fruit and vegetable consumption: results of the healthy directions studies. Am J Public Health. 2007; 97: 1216-27.