การประเมินบทเรียนทางอินเทอร์เน็ตเรื่องการใช้ยาคุมกำเนิด

Main Article Content

ศรีรัตน์ กสิวงศ์
กมลา ชนาเกียรติ
อัจจิมา ฉิมทับ
สุริยา แก้วแสงเรือง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลของบทเรียนทางอินเทอร์เน็ตเรื่องยาคุมกำเนิดต่อความรู้ของผู้เรียน วิธีการ : ผู้วิจัยจัดทำโครงการเผยแพร่ความรู้ทางอินเทอร์เน็ตเรื่องการเลือกใช้ วิธีใช้ อาการข้างเคียง และข้อควรระวังในการใช้ยาคุมกำเนิด ตัวอย่างคือประชาชนทั่วไปที่เข้ามาศึกษาบทความในช่วงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึง 28 มกราคม พ.ศ. 2552 และได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ศึกษาบทเรียน ทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้วิจัยยังได้วัดความพึงพอใจของตัวอย่างต่อบทเรียน สำหรับประสิทธิภาพของบทเรียนใช้เกณฑ์ E1/E2=80/80 หรือ อัตราส่วนระหว่างประสิทธิภาพกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ ผลการวิจัย : ในช่วงการเก็บข้อมูล มีผู้เข้าศึกษาบทเรียนทั้งหมด 77 คน แต่มีผู้ทำแบบทดสอบครบทุกบทจำนวน 25 คน สื่อการสอนเรื่องการใช้ยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ คือ E1/E2 = 83/95 คะแนนของแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเท่ากับ 5.83+1.7 และ 9.54+1.00 ตามลำดับ (คะแนนเต็ม 10) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) อัตราส่วนร้อยละของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 58/95 สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของสื่อพบว่า ความพึงพอใจต่อสื่อในภาพรวมอยู่ในระดับ 4.6 (ดี-ดีมาก) (n=17) สรุป : บทเรียนเรื่องการใช้ยาคุมกำเนิดทางอินเทอร์เน็ตในการวิจัยนี้ทำให้ผู้ศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นในด้านการเลือกใช้ วิธีใช้ อาการข้างเคียง และข้อควรระวังของยาคุมกำเนิด นอกจากนี้ความพึงพอใจต่อสื่อในภาพรวมอยู่ในระดับดีถึงดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2531. หน้า 173-74.

2. ถนอมพร เลาหจรัสแสง. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: วงกมล โพรดักชัน; 2541. หน้า 37.

3. จำรัส กลิ่นหนู. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สำหรับเรียนทางอินเทอร์เน็ต [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงราย: สถาบันราชภัฎเชียงราย; 2545.

4. สมศักดิ์ เบญจวงค์. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจรระหว่างการเรียนแบบรายบุคคลและการเรียนแบบกลุ่มโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บเพจ [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2543.

5. ปิยะชนก เชิงฉลาด. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องพื้นฐานทางชีวภาพของพฤติกรรมมนุษย์ [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง; 2545.

6. ชาญชัย แสนจันทร์. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องไตรแอค [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 2545.

7. เผยไทยติดอันดับ มีแม่วัยรุ่น มากที่สุดในเอเชีย [online]. 2552 [สืบค้นวันที่ 5 มิถุนายน 2552]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.thairath.co.th/content/edu/1726

8. โพลชี้วัยรุ่นกว่า 70% ไม่รู้วิธีใช้ยาคุมฉุกเฉิน [online]. 2551 [สืบค้นวันที่ 5 มิถุนายน 2552] เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.herbalone.net/index.php?option
=com_content&task=view&id=666&Itemid=42.

9. Speroff L, Darney PD. A clinical guide for contraception. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott William and Wilkins; 2001.

10. A WHO Family Planning Cornerstone. Family Planning: a global handbook for providers [online]. 2007 [cited 2008 June 1]. Available from: URL:http://www.who.int/reproductive-health.

11. EI-Ibiary S. Contraception. In: Helms RA, Quan DJ, Herfindal ET, Gourley DR, editors. Textbook of therapeutics: drug and disease management. 8th ed. Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkin; 2006. p. 411-31.

12. Reilly CH. Oral contraceptives. In: Novak KK, Lenzini S, editors. Drug facts and comparisons. 59th ed. Missouri.: Wolters Kluwer Health Inc.; 2005. p. 279.

13. Faculty of family planning and reproductive health care clinical guidance. First prescription of combined oral contraception [online]. 2006 [cited 2008 June 2]. Available from: URL: http://www.ffprhc.org.uk./admin/uploads/FirstPrescCombOralContJan06.pdf