ผลการบูรณาการจิตตปัญญาศึกษาในรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 :กรณีศึกษาหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • ศิราณี อิ่มน้ำขาว Srimahasarakham College of Nursing

คำสำคัญ:

Contemplative Education, Intensive Care Unit, Nursing Care of Persons with Health Problems Practicum III

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

                การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง one- group pretest-posttest  group design เพื่อศึกษา ผลการบูรณาการจิตตปัญญาศึกษาในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3  ของนักศึกษา พยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จำนวน7คน  ในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมและ อายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร เครื่องมือที่ใช้จำนวน 6 ชุดคือ คู่มือการจัดการเรียนรู้   สมุดบันทึกการเรียนรู้ ประจำวันและแบบบันทึกการเล่าเรื่องราว แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติการพยาบาลแบบ องค์รวม  แบบสัมภาษณ์ Focus  Group  แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนและสมาชิก  แบบประเมินตนเองก่อนและหลังการ
เข้าร่วมกิจกรรม โดยมี Cronbach’s alpha เท่ากับ0.82 และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ในการเข้าร่วมกระบวนการจิตตปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ผลการวิจัยพบว่า

             รูปแบบการบูรณาการในการฝึกภาคปฏิบัติ

                ต้องเน้นความเข้าใจถึงแก่นแท้ของแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา  เข้าใจผู้ป่วย    เรียนรู้ด้วยตัวเอง  มีสติ   สอดแทรกให้เป็นเนื้องานประจำและการติดตามประเมินผลต้องครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทุกด้าน

                ผลการบูรณาการกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาในการฝึกภาคปฏิบัติ

                กิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาช่วยลดความวิตกกังวล ลดความเครียดของนักศึกษา การได้
บอก เล่าเรื่องราวของตนเองช่วยให้เกิดการระบายความคับข้องใจและความรู้สึก รู้จักวิเคราะห์ปัญหา ของตนเองและปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น  เข้าใจคนอื่นมากขึ้น  รู้สึกไว้วางใจอาจารย์นิเทศก์  ความรู้สึกผูกพัน คิดและมองด้านบวกมากขึ้น เกิดกำลังใจและพร้อมสำหรับการมุ่งมั่นในการฝึกภาคปฏิบัติ ค่าเฉลี่ย การประเมินตนเองหลังการเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 100  (=4.17) ค่าเฉลี่ย ผลการประเมิน นักศึกษาด้านการปฏิบัติงานแบบองค์รวมของอาจารย์นิเทศก์และพยาบาลพี่เลี้ยงอยู่ในระดับมาก   ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการบูรณาการอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด    

                ข้อเสนอแนะ แนวคิดจิตปัญญาศึกษาสามารถนำไปใช้ได้จริง ช่วยพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์
และความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลได้ แม้ว่าการศึกษานี้กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อยแต่สามารถนำไป เป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้นำวิธีการจิตปัญญาไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะหรือในรายวิชา อื่นที่คล้ายคลึงกัน  ผู้เรียนเห็นว่าควรบูรณาการในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติรายวิชาอื่นๆ และติดตามประเมิน อย่างต่อเนื่อง

 

Abstract

This study was an experimental research comprised one group considered as a pre and
post-test control group. The purpose of the research was to investigate the integrated effects on contemplative education in the course of Nursing Care of Persons with Health Problems Practicum III. The participants were 7 Third-year nursing students studying at Srimahasarakham Nursing College, who were being trained in the Pediatric and Medical Intensive Care Unit at Yasothon Hospital. There were 6 research instruments used in the research: Manual for learning management from diary and narrative records, observatal form of holistic nursing care practicum, focus-group interview form, form of an interview with the students and the members, self-assessment of pre and post-participating in activities with the Cronbach’s alpha coefficient of reliability at 0.82, and evaluative form of students’ satisfaction in contemplative process activities participation. The data were analyzed by using percentage and means.

The research results were as followed:

Integrated styles of the nursing care practicum

Practitioners should clearly understood the essence of contemplative education approach and patients. They should be self-taught and conscious. Learning knowledge of contemplative education should be integrated with practiced and project evaluation should be done in all aspects of stakeholders.

Benefits from the integration of contemplative education activities in practicum

Activities regarding contemplative education approach helped students reduced their anxiety and stress. For example, telling someone their own stories could ventilate frustration and feelings. The students were able to analyze their problems and improve them themselves. They also opened up their minds to listen to others. The students shown more trust on their supervisors. They were bound, optimistic than ever before. With these effects, they were spirited and had a good will to do their best in practicum. The average of self-assessment of post-participating in activities increased 100% (= 4.17). The average of students’ evaluation on supervisors and nursing mentors’ holistic nursing care practicum was at a high level and the students’ satisfaction of the integration of the course was at the high to the very high level.

Suggestions

It was found that the contemplative education approach could be practically applied in order to increase the human value and to improve students’ competency in nursing practicum. As research used the small sample size but could be used as guideline for similar research. The integration of contemplative education should be continuously evaluated amongst other nursing courses theoretically and practically.

เผยแพร่แล้ว

2012-05-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

Similar Articles

<< < 9 10 11 12 13 14 15 > >> 

You may also start an advanced similarity search for this article.