วารสารการพยาบาลและการศึกษา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE <p>วารสารวิชาการของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุขเป็นวารสารในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์<br />และเทคโนโลยี ที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย<br />(Thai Journal Citation Index Center: TCI Center) มีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <p class="body1">1. เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ ด้านการพยาบาล การผดุงครรภ์ การศึกษาพยาบาล และสุขภาพ</p> <p class="body1">2.เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการของพยาบาล อาจารย์พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพ</p> <p class="body1">3. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและองค์กรทางสุขภาพทั่ประเทศ<br />กำหนดการออกวารสาร</p> <p class="body1"><strong>วารสารการพยาบาลและการศึกษา เป็นวารสารราย 3 เดือน กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ ดังนี้</strong></p> <p class="body1"> ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มีนาคม<br /> ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน - มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม - กันยายน<br /> ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม</p> th-TH kittiporn@bcnsk.ac.th (ผศ.ดร.กิตติพร เนาว์สุวรรณ) nursing2551@gmail.com (อาจารย์บุญประจักษ์ จันทร์วิน) Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ประสิทธิผลการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภายหลังถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/274679 <p>การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษาสถานการณ์ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ การจัดสรรงบประมาณ พัฒนารูปแบบบริการสุขภาพ และประเมินผลระบบการจัดสรรงบและบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หลังถ่ายโอนภารกิจสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (อบจ.) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ระบบการจัดบริการปฐมภูมิและการจัดสรรเงินค่าใช้จ่าย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จาก รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไป อบจ. ในปีงบประมาณ 2566 และปี 2567 จำนวน 130 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และ อบจ.จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพและการจัดสรรเงินโดยผ่านคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) และ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบระบบบริการสุขภาพและการจัดสรรเงิน จากข้อมูลผลการจัดบริการและการจัดสรรเงินค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2566 และปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน และร้อยละ ผลวิจัยพบว่า </p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. รพ.สต. จัดบริการตามข้อมูลพื้นฐานหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและ อบจ. มีการจัดสรรเงินค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขจัดสรรผ่านคณะอนุกรรมการด้านการจัดสรรงบประมาณ โดยมีการจ่ายตรงจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าร่วมกับคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิจัดสรรเป็นเวชภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ปีงบประมาณ 2566 และปี 2567</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. รูปแบบการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิถูกออกแบบพร้อมกับรูปแบบการจัดสรรเงินค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขผู้ป่วยนอก (OP) และ และสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&amp;P) พบว่าในปี 2566 งบเหมาจ่ายรายหัว OP 7% และ P&amp;P 90% ส่วนในปี 2567 งบเหมาจ่ายรายหัวปรับงบเหมาจ่ายรายหัวคำนวนใหม่ OP 8% และ P&amp;P 85% และ อีก 15 % เป็นกองกลางเพื่อจัดทำกิจกรรม PP รวมกันระหว่าง สสจ และ อบจ.</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&amp;P) ที่เป็นรายการจ่ายแบบตามผลงานมีผลงาน</span><span style="font-size: 0.875rem;">การจัดบริการที่เพิ่มมากขึ้น และมูลค่าการจัดสรรเงินปี 2567 ได้รับการจัดสรรเพิ่มมากขึ้น เท่ากับ 5,621,459.88 บาท มูลค่าการจัดสรรยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาปี 2567 เท่ากับ 265,558.56 บาท</span></p> <p>สสจ. และ อบจ. ควรมีการควบคุมกำกับติดตามผลการปฏิบัติงานและการจัดสรรเงินร่วมกันเพื่อให้ไม่เกิดผลกระทบต่อประชาชน และการจัดสรรเงินที่เหมาะสมต่อการจัดบริการสำหรับประชาชน</p> จุฑามาศ สินประจักษ์ผล, รุสนา จิตกาหลง Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/274679 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 สมรรถนะการบริหารหลักสูตรของผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหาร หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/271089 <p>การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการบริหารหลักสูตรของผู้รับผิดชอบหลักสูตร ระดับคุณภาพการบริหารหลักสูตร และปัจจัยสมรรถนะการบริหารหลักสูตรของผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับผิดชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยพยาบาล 30 แห่ง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 108 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล สมรรถนะการบริหารหลักสูตร และคุณภาพการบริหารหลักสูตร หาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าระหว่าง 0.67 - 1.00 หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสมรรถนะการบริหารหลักสูตร 6 ด้าน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87, .88, .84, .93, .94, .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา <br />และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบทีละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ระดับสมรรถนะการบริหารหลักสูตรของผู้รับผิดชอบหลักสูตรโดยรวม อยู่ในระดับดีมาก (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 4.22, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.39) โดยด้านการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 4.41, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.49) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 4.30, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.43) ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 4.08, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.55)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ระดับคุณภาพการบริหารหลักสูตรโดยรวม อยู่ในระดับดี (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 92, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.13) โดยด้านบัณฑิต มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 4.58, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.30) รองลงมาคือ ด้านอาจารย์ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 4.06, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.28) ส่วนด้านนักศึกษา มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 3.50, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.67)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ปัจจัยสมรรถนะการบริหารหลักสูตรของผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (Beta = .305, </span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 552) ด้านการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Beta = .285, </span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 3.048) และด้านการบริหารจัดการการเรียนรู้ </span><span style="font-size: 0.875rem;">(Beta = .227, </span><em style="font-size: 0.875rem;">t </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 2.393) ทั้ง 3 ตัวแปร ร่วมทำนายได้ร้อยละ 20.20 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">R <sup>2 </sup></em><span style="font-size: 0.875rem;">= .202, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> &lt; .05)</span></p> <p>คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ควรให้ความสำคัญ ส่งเสริม และพัฒนาสมรรถนะการบริหารหลักสูตรของผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้ง 3 ด้าน ให้สูงขึ้น อย่างเป็นแบบแผน <strong> </strong></p> ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, สกุนตลา แซ่เตียว, วรินทร์ลดา จันทวีเมือง Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/271089 Fri, 18 Apr 2025 00:00:00 +0700 การรับรู้การตั้งครรภ์ จิตวิญญาณความเป็นแม่ และการสนับสนุนของครอบครัว ในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/272813 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพนี้เพื่อศึกษาการรับรู้การตั้งครรภ์ จิตวิญญาณความเป็นแม่ และการสนับสนุนของครอบครัวในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ผู้ให้ข้อมูลหลัก 10 ราย เป็นสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน และผู้ให้ข้อมูลรอง 6 รายเป็นญาติของสตรีตั้งครรภ์ ผู้ให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบเนื้อหาแก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>การรับรู้การตั้งครรภ์ จิตวิญญาณความเป็นแม่ และการสนับสนุนของครอบครัวในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน สรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การรับรู้การตั้งครรภ์ พบว่า ความเป็นแม่และความรู้สึกต่อการตั้งครรภ์; ความเป็นแม่คือความสุข ความปรารถนาดีต่อบุตร; ความเป็นแม่คือหน้าที่และความรับผิดชอบ; และแม่ที่ดีมีความเสียสละและอดทนต่อภาวะเบาหวาน 2) จิตวิญญาณความเป็นแม่ที่ทำให้มีพลังชีวิตในการฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรค และ 3) การสนับสนุนของครอบครัวในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานพบว่า; เป็นที่ปรึกษาเป็นกำลังใจ; รับส่งพามาฝากครรภ์; หารายได้หลักและแบ่งเบางานบ้าน; ควบคุมอาหารเบาหวาน; ผู้ช่วยฉีดยาอินซูลิน; และส่งเสริมสุขภาพให้ออกกำลังกาย สตรีตั้งครรภ์ในการศึกษาครั้งนี้รับรู้การตั้งครรภ์ในเชิงบวก มีจิตวิญญาณความเป็นแม่ที่ดีมีความรู้สึกต่อบุตรในครรภ์ด้วยความรักและห่วงใยต่อทารกในครรภ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างดี</p> <p>ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรสุขภาพและสมาชิกครอบครัวเพื่อเป็นแนวทางการจัดโปรแกรมการสนับสนุนให้สตรีตั้งครรภ์มีการรับรู้เชิงบวกมีความมั่นใจต่อการเปลี่ยนผ่านของสตรีไปสู่การเป็นแม่ที่ดี</p> ฐิตารีย์ พันธุ์วิชาติกุล, ศิริกนก กลั่นขจร, เสาวพฤกษ์ ช่วยยก, สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/272813 Sat, 24 May 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ ของประเทศไทยในอนาคต https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/274888 <p>วิจัยอนาคตแบบเดลฟายและชาติพันธุ์วรรณนา (EDFR: Ethnographic Delphi Futures Research) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำของประเทศไทยในอนาคต วิธีการดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 และ 2 ใช้การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 24 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) สร้างแบบสัมภาษณ์เพื่อวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าความแตกต่างระหว่างค่าฐานนิยมกับค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อหาแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด 2) วาดภาพรูปแบบที่เป็นไปได้มากที่สุดในดำเนินงานการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำของประเทศไทยอนาคต และระยะที่ 3 จัดสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มใหม่ จำนวน 14 คน เพื่อมาประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ รวมถึงนำข้อเสนอแนะมาเพิ่มเติมจนได้รูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานได้จริง ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>รูปแบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำของประเทศไทยในอนาคต มีองค์ประกอบ 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพระดับบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมในเรือนจำ 2) ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ 3) ด้านการพัฒนา คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4) ด้านปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ 5) ด้านกลไกสนับสนุนการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6) ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 7) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 8) ด้านข้อจำกัด อุปสรรค และข้อเสนอแนะการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม และบูรณาการกับภาคส่วน</p> <p>ควรสร้างรูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมในเรือนจำให้สอดคล้องกับกระบวนการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารการจัดการคุณภาพน้ำอุปโภคและบริโภค การจัดการสิ่งปฏิกูล การบริหารการจัดการขยะมูลฝอย การส่งเสริมความรู้<br />และความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข การรักษาพยาบาล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในเรือนจำให้มีมาตรฐาน มีความปลอดภัย และได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน</p> สมหมาย บุญเกลี้ยง, นฤมล พันธ์ทวีทรัพย์, วิชิต เรืองแป้น Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/274888 Sat, 24 May 2025 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลในการจัดการ อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงสูง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/272197 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดผลก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลในการจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงสูง ซึ่งพัฒนาขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงสูงที่ได้คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 ราย กลุ่มควบคุม 30 ราย ได้รับข้อมูลและคำแนะนำด้านสุขภาพตามปกติ กลุ่มทดลอง 30 ราย ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนฯ ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ส่วนเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้สูงอายุ 3) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุและการจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง 4) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง 5) แบบสังเกตการจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และเครื่องมือฉบับที่ 3 ฉบับที่ 4 และฉบับที่ 5 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .73,<strong> .</strong>93 และร้อยละ 100.0 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบด้วยสถิติ Fisher<strong>’</strong>s Exact Test, Chi<strong>-</strong>Square, Wilcoxon Ranks test และ Mann<strong>-</strong>Whitney U test ผลการศึกษา พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. หลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p<strong>-</strong>value </em><span style="font-size: 0.875rem;">&lt; </span><strong style="font-size: 0.875rem;">.</strong><span style="font-size: 0.875rem;">01) และมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนการจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p<strong>-</strong>value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> &lt; </span><strong style="font-size: 0.875rem;">.</strong><span style="font-size: 0.875rem;">001)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. หลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p<strong>-</strong>value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> &lt; </span><strong style="font-size: 0.875rem;">.</strong><span style="font-size: 0.875rem;">01) และมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนการจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p<strong>-</strong>value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> &lt; </span><strong style="font-size: 0.875rem;">.</strong><span style="font-size: 0.875rem;">001)</span></p> <p>การศึกษาครั้งนี้แสดงถึงประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนฯ ต่อการเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองของผู้ดูแลในการสังเกตอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ให้การดูแลและจัดการนำส่งผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงสูงเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> จิรา ทองหนูนุ้ย, หทัยรัตน์ แสงจันทร์, รัดใจ เวชประสิทธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/272197 Sat, 24 May 2025 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/273006 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง ที่มีระยะเวลาเป็นโรคตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 64 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลตามปกติจำนวน 32 คน และกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ สื่อการสอน คือบัญชีทางการของไลน์ประกอบด้วยวิดีทัศน์และอินโฟกราฟฟิก 8 เรื่อง จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้ และแบบวัดระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติไคสแควร์ และสถิติที ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. หลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, .01 และ .001 สำหรับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติระหว่างก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่าง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารและยา ด้านการออกกำลังกาย และด้านการดูแลตนเองและพบแพทย์ตามนัดหลังการทดลอง ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001</span></p> <p>ดังนั้นพยาบาลชุมชนสามารถนําโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ด้านความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในชุมชนที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้เพื่อส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้</p> รัฐกานต์ ขำเขียว, ศนิกานต์ ศรีมณี Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/273006 Sat, 24 May 2025 00:00:00 +0700 สมรรถนะอาจารย์พยาบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/274483 <p>การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะอาจารย์พยาบาล และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะอาจารย์พยาบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทย จำนวน 237 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 7 ข้อ และ 2) แบบวัดสมรรถนะอาจารย์พยาบาล จำนวน 113 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง .60 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .99 รวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามแบบออนไลน์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. สมรรถนะอาจารย์พยาบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 4.27, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.46)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะอาจารย์พยาบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทย ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ (1) การใช้ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (2) การออกแบบหลักสูตร</span><span style="font-size: 0.875rem;">และการนำไปใช้ (3) การปฏิบัติการพยาบาล (4) การวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ (5) การสื่อสาร การประสานงาน และการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กร (6) กฎหมาย จริยธรรม และความเป็นมืออาชีพ (7) การติดตามและประเมินผล และ (8) การบริหารจัดการและภาวะผู้นำ พบว่า โมเดลสมรรถนะอาจารย์พยาบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทย</span><span style="font-size: 0.875rem;">มีความสอดคล้องกับข้อมูล พิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ (c</span><sup>2</sup><span style="font-size: 0.875rem;">) เท่ากับ 22.924 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 15 ค่าสถิติ</span><span style="font-size: 0.875rem;">ไคสแควร์สัมพัทธ์ (c</span><sup>2</sup><span style="font-size: 0.875rem;">/df) เท่ากับ 1.528 ค่าโอกาสความน่าจะเป็น </span><em style="font-size: 0.875rem;">(</em><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;">) เท่ากับ .086 ค่ารากของค่าเฉลี่ย</span><span style="font-size: 0.875rem;">กำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .047 และค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของส่วน</span><span style="font-size: 0.875rem;">ที่เหลือ (RMR) เท่ากับ .006 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .976 และค่าดัชนีระดับความกลมกลืน</span><span style="font-size: 0.875rem;">ที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .943</span></p> <p>ดังนั้นผู้บริหารของสถาบันการศึกษาทางการพยาบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทย สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์พยาบาลในด้านการออกแบบหลักสูตรและการนำไปใช้ ด้านการปฏิบัติ<br />การพยาบาล และด้านบริหารจัดการและภาวะผู้นำ เนื่องด้วยเป็นสมรรถนะที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ</p> เกศรินทร์ คำมาวงค์, กาญจนา ศรีสวัสดิ์, ทวีศักดิ์ กสิผล Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/274483 Sat, 24 May 2025 00:00:00 +0700