ความคิดเห็นต่อบรรยากาศวิชาการของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000
  • อัมพร ไหลประเสริฐ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000
  • ดารินทร์ พนาสันต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000

คำสำคัญ:

Academic atmosphere, Learning environment, School climate, College of Nursing

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความคิดเห็นต่อบรรยากาศวิชาการของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี โดยศึกษาในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์  จำนวน 201 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง ของเครซี่ และมอร์แกน  และสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งชั้นภูมิในนักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้  เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อบรรยากาศวิชาการของนักศึกษาพยาบาล ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยพัฒนา มาจาก สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, 2543 จำนวน 90 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของ  Likert ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน   นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาล ศาสตร์  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท ทั้ง 4 ชั้นปี จำนวน 50 คน  นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่า ความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ค่าเท่ากับ 0.86 เก็บข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน 2553 วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณด้วยการ
แจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างแต่ละชั้นปี  โดยใช้การทดสอบ  ANOVA  F- test และข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี มีความคิดเห็น ต่อบรรยากาศวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง (=2.70, SD=.905) และเมื่อเปรียบเทียบ แต่ละชั้นปี พบว่า ความคิดเห็นต่อบรรยากาศวิชาการโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าดูจากคะแนนเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นด้านอาจารย์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด(=2.99 , S.D=.37) ส่วนการปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด(=2.22, S.D =2.152)  เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็น
ต่อบรรยากาศทางวิชาการเป็นรายด้านของกลุ่มตัวอย่างที่มีชั้นปีต่างกัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ใน ชั้นปีที่ 1 มีค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางวิชาการด้านสถาบันการศึกษา แตกต่างกับนักศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (=3.14, S.D =.835) มีค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางวิชาการด้านสถาบันการศึกษามากกว่าชั้นปีที่ 4 (=2.25, S.D =.974)

ข้อเสนอแนะในสถาบันการศึกษาพยาบาล ควรเน้นเรื่องการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ในหอผู้ป่วย ต้องสร้างการยอมรับความไว้วางใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน ต่ออาจารย์และ การประเมินผล ที่มีคุณภาพ ตลอดจนความรู้สึกอบอุ่นในขณะปฏิบัติงาน นอกจากนี้ควรจัดบรรยากาศ วิชาการในทุก ๆ ด้าน ให้เหมาะสมกับนักศึกษา   เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่ดี

คำสำคัญ : บรรยากาศวิชาการ /สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้/วิทยาลัยพยาบาล

 

Abstract


This descriptive research aimed to explore the opinion of nursing students towards academic climate at Baromarajonani College of Nursing, Suphan Buri. The sample  consisted of 201 nursing students,calculating required sample size base on Krazy and Morgan sampling table and  randomized by using stratified random sampling. Research instrument included self-report questionnaire adapted from Sroy Anusornteerakul, 2000.  The questionnaire consisted of 90 items and 5-point Likert scale.  The questionnaire was content validated by three experts, and reliability tested with 50 nursing students at Baromarajonani College of Nursing, Chainat. Reliabilities were analyzed and calculated confidence interval by using Cronbrach Alpha Correlation (0.86).  The quantitative data were collected in November 2009 and analyzed by using percentage, mean and standard deviation.  Analysis variance was ANOVA, F-test. The qualitative data were analyzed by content analysis.
Major findings were as follow. Mean score of opinion on academic climate was at a moderate level (=2.70, S.D. = .905). There was no significant difference between each year of study. The mean score of opinion on the teacher was at the highest level (=2.99 , S.D=.37).  And the mean score of  opinion on the practice at inpatient unit  was at the least level (=2.22, S.D =2.152).  The first year had higher statistical significant difference of academic atmosphere score than the fourth year (P < .05).    
It is recommended for nursing institution that:  1.) should address more focus on provide practical schooling at inpatient unit.  2.)  To develop more trustworthy toward learning, instructors and quality assessment.   Finally, the college should friendly academic climate to promote unique well learning.

Keywords  :  Academic atmosphere, Learning environment, School climate,
College of Nursing

Author Biographies

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

อัมพร ไหลประเสริฐ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

ดารินทร์ พนาสันต์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย