วารสารการพยาบาลและการศึกษา
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE
<p><span lang="TH"><img src="https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/26/XhOJkV.jpg" /></span></p> <p>วารสารวิชาการของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุขเป็นวารสารในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์<br />และเทคโนโลยี ที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย<br />(Thai Journal Citation Index Center: TCI Center) มีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <p class="body1">1. เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ ด้านการพยาบาล การผดุงครรภ์ การศึกษาพยาบาล และสุขภาพ</p> <p class="body1">2.เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการของพยาบาล อาจารย์พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพ</p> <p class="body1">3. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและองค์กรทางสุขภาพทั่ประเทศ<br />กำหนดการออกวารสาร</p> <p class="body1"><strong>วารสารการพยาบาลและการศึกษา เป็นวารสารราย 3 เดือน กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ ดังนี้</strong></p> <p class="body1"> ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มีนาคม<br /> ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน - มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม - กันยายน<br /> ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม</p>
Education Development Group, Praboromarajchanok Institute of Heath Workforce Development
th-TH
วารสารการพยาบาลและการศึกษา
1906-1773
-
ผลของการใช้ชุดการดูแล N-PASS ต่อการเกิดไตบาดเจ็บเฉียบพลันและผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อและช็อกจากการติดเชื้อในแผนกอายุรกรรม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/272509
<p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มโดยไม่มีการสุ่ม ที่วัดผลเฉพาะหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดการดูแล N-PASS (Nursing Care Bundle to Prevent Acute Kidney Injury among Patients with Sepsis and Septic Shock) ในผู้ป่วยจำนวน 80 คน ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงกรกฎาคม 2566 แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน คือ กลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานของโรงพยาบาล และกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลตามชุดการดูแล N-PASS เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการดูแล N-PASS ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการพยาบาลที่ได้พัฒนาขึ้นจากแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน (Acute kidney injury: AKI) ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Sepsis และ Septic Shock วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Cox Proportional Hazard Regression, Independent t-test, Repeated-Measure ANOVA และ Man-Whitney U Test ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. กลุ่มทดลองมีอุบัติการณ์ AKI 17.24 ครั้งต่อ 1000 วันนอน กลุ่มควบคุม 515.63 ครั้งต่อ 1000 วันนอน ซึ่งกลุ่มควบคุมมีโอกาสเกิดภาวะ AKI มากกว่ากลุ่มทดลอง 16.5 เท่า (HR = 16.5, 95%CI [4.24, 64.18], (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> <.001) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย Serum Creatinine น้อยกว่ากลุ่มควบคุมในชั่วโมงที่ 0 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> =.002) และ 48 </span><span style="font-size: 0.875rem;">(</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .016) มีค่าเฉลี่ย Urine Output มากกว่ากลุ่มควบคุมในชั่วโมงที่ 6 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> <.001) และ 72 </span><span style="font-size: 0.875rem;">(</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .001) มีค่าเฉลี่ย Shock Index น้อยกว่ากลุ่มควบคุมในชั่วโมงที่ 0 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .002), 3 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value </em><span style="font-size: 0.875rem;">< .001), 24 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .001), และ 72 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .001) มีค่าเฉลี่ย Serum Lactate Level น้อยกว่ากลุ่มควบคุมในชั่วโมงที่ 0 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .005) และ 24 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .001) และมีค่าเฉลี่ย Mean Arterial Pressure มากกว่ากลุ่มควบคุมในชั่วโมงที่ 0 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value </em><span style="font-size: 0.875rem;">< .001) และ 3 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .001)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. พยาบาลมีวินัยในการปฏิบัติตามชุดการดูแล N-PASS ร้อยละ 100 และมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุด</span><span style="font-size: 0.875rem;">การดูแล N-PASS ร้อยละ 98.4</span></p> <p>การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ชุดการดูแล N-PASS สามารถช่วยลดอุบัติการณ์เกิด AKI และช่วยส่งเสริมให้เกิด ผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีได้ พยาบาลวิชาชีพผู้ใช้งานชุดการดูแล N-PASS มีวินัยและความพึงพอใจต่อการใช้งานเป็นอย่างดี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าชุดการดูแล N-PASS มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งานจริง</p>
ภักคพล วงค์นาตาล
ดลวิวัฒน์ แสนโสม
Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-04
2025-03-04
18 1
e272509
e272509
-
ผลของการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ของนักศึกษาพยาบาล: การวิจัยผสานวิธี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/272780
<p>การวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีแบบจับคู่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. คะแนนทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 </span><span style="font-size: 0.875rem;">(</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .01)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. นักศึกษาสามารถพัฒนานวัตกรรมที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. นักศึกษามีประสบการณ์เชิงบวกต่อการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ โดยเฉพาะในด้าน</span><span style="font-size: 0.875rem;">การเรียนรู้เชิงลึกผ่านประสบการณ์จริงและการพัฒนาทักษะการคิดแบบองค์รวม </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4. ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมในระดับสูง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 4.59, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.52)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสม ประสบการณ์ด้านนวัตกรรม</span><span style="font-size: 0.875rem;">และความสนใจด้านนวัตกรรม โดยสามารถร่วมกันทำนายทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมได้ร้อยละ 42 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">R<sup>2</sup></em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .42)</span></p> <p>การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการออกแบบ มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาล และควรได้รับการพิจารณาให้นำไปบูรณาการในหลักสูตรการพยาบาล เพื่อเตรียมนักศึกษาให้พร้อมรับมือกับความท้าทายด้านการดูแลสุขภาพในอนาคต</p>
เสาวลักษณ์ เนตรชัง
สืบตระกูล ตันตลานุกุล
ไพทูรย์ มาผิว
นัยนา แก้วคง
อรุณรัตน์ พรมมา
Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-04
2025-03-04
18 1
e272780
e272780
-
แนวโน้มอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในประเทศไทย
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/272848
<p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบแนวโน้มอัตราการตายเฉพาะสาเหตุตามกลุ่มอายุและอัตราการตายปรับอายุมาตรฐานของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2564 โดยใช้ข้อมูลการตายของกระทรวงสาธารณสุข ตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศครั้งที่ 10 ระหว่างปี พ.ศ.2554 - 2564 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลอัตราตาย และการวิเคราะห์แนวโน้มอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (C61) โดยหาค่าสถิติอัตราการตายเฉพาะสาเหตุตามกลุ่มอายุ และอัตราการตายปรับอายุมาตรฐานต่อประชากรเพศชาย 100,000 คน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>อัตราการตายเฉพาะสาเหตุตามกลุ่มอายุและอัตราการตายปรับอายุมาตรฐานของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าในช่วงระยะเวลา 10 ปี อัตราการตายตามกลุ่มอายุของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่อายุน้อยกว่า 60 ปี พบไม่เกิน 3.74 คนต่อประชากรเพศชาย 100,000 คน แต่เมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบอัตราการตายมีอัตราระหว่าง 7 - 81 คนต่อประชากรเพศชาย 100,000 คน</p> <p>ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายทางสุขภาพควรส่งเสริมให้ชายไทยลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากโดยการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี รวมทั้งการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ทางสุขภาพเพื่อตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น โดยวิธีตรวจหาค่าพีเอสเอ</p>
อารยา ประเสริฐชัย
ปธานิน แสงอรุณ
มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-04
2025-03-04
18 1
e272848
e272848
-
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่บ้าน (Home Ward) เครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดตรัง
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/275068
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่บ้าน (Home Ward) เครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดตรัง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่รักษาตัวในโรงพยาบาลชุมชน 102 คน 2) ผู้ป่วย Home ward 30 คน และ 3) บุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง 30 คน การศึกษานี้แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง 2) พัฒนารูปแบบ และ 3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ One Sample t-test, Paired t-test และ Content Analysis ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ปัญหารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่บ้าน เครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดตรัง ได้แก่ บุคลากรยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เจ้าหน้าที่ไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลอย่างเต็มรูปแบบและขาดการติดตามต่อเนื่อง คะแนนการปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 8.32</span><em style="font-size: 0.875rem;">, SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 3.22) การปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาล (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 17.27</span><em style="font-size: 0.875rem;">, SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 5.86) คุณภาพบริการต่อการใช้รูปแบบ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 3.88</span><em style="font-size: 0.875rem;">, SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.47) และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 3.99</span><em style="font-size: 0.875rem;">, SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.44)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่บ้าน ที่พัฒนาขึ้นมาในการศึกษานี้ คือ 3SAP Home Ward Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) Service: การจัดบริการที่มีคุณภาพ 2) Staff: ผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 3) Structure: โครงสร้างการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 4) A MED: โปรแกรมการบันทึก</span><span style="font-size: 0.875rem;">เวชระเบียนผู้ป่วยที่บ้าน 5) Performance: เป้าหมายผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบโดยรวม</span><span style="font-size: 0.875rem;">อยู่ในระดับสูงมาก (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 4.45, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.51)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. คะแนนรวมของตัวแปรการปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย การปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาล คุณภาพบริการต่อการใช้รูปแบบ และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย สูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value </em><span style="font-size: 0.875rem;">= .002) ระดับน้ำตาลและความดันโลหิต หลังพัฒนารูปแบบ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value </em><span style="font-size: 0.875rem;">< .001)</span></p> <p>ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังของเครือข่ายโรงพยาบาลจังหวัด ได้ตามบริบทพื้นที่</p>
วลัยรัตน์ สุวรรณหมัด
บุบผา รักษานาม
Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-03
2025-03-03
18 1
e275068
e275068
-
การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพ โรงพยาบาลยะลา
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/275335
<p>การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษาปัญหา พัฒนาและประเมินผลลัพธ์รูปแบบการบริหารการพยาบาลด้านการปรึกษkสุขภาพ โรงพยาบาลยะลา ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ 1) ศึกษาปัญหารูปแบบฯ ผู้ให้ข้อมูล คือ แพทย์และพยาบาลจำนวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ 2) พัฒนารูปแบบการฯ โดยนำผลจากระยะที่1 มายกร่างและสร้างรูปแบบฯ ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และ 3) ประเมินผลลัพธ์รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) พยาบาลที่ให้การพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพ จำนวน 30 ราย และ 2) ผู้รับบริการที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลยะลา จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้ด้านการให้คำปรึกษาสุขภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .78 2) แบบสอบถามความพึงพอใจพยาบาลวิชาชีพต่อรูปแบบฯ และ 3) แบบความพึงพอใจต่อคุณภาพการพยาบาล ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ปัญหาของการพัฒนารูปแบบฯ พบว่า 1) การให้คำปรึกษาทางสุขภาพเกิดขึ้นในเฉพาะผู้ป่วยนอก </span><span style="font-size: 0.875rem;">2) ไม่มีแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพยาบาลด้านการปรึกษา 3) พยาบาลไม่มีทักษะของผู้ให้คำปรึกษา 4) สถานที่ไม่เป็นสัดส่วนและมิดชิดให้กับผู้รับบริการ</span></p> <p>2. รูปแบบฯ โรงพยาบาลยะลา มีดังนี้ 1) กำหนดนโยบายการบริหารการพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพ 2) แนวปฏิบัติการพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพ</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบฯ ได้แก่ 1) ด้านผู้ให้บริการ พบว่า หลังใช้รูปแบบฯ พยาบาลวิชาชีพ</span><span style="font-size: 0.875rem;">มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .001) และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ</span><span style="font-size: 0.875rem;">ต่อรูปแบบฯ ในภาพรวมระดับมาก (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 4.47, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.24) 2) ด้านกระบวนการ พบจำนวนหอผู้ป่วยบริการพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลยะลา ทั้งหมด 14 กลุ่มงาน 32 หอผู้ป่วย และ 3) ด้านผู้รับบริการ พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพ โรงพยาบาลยะลา ในภาพรวมระดับมากที่สุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 4.77, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.41)</span></p> <p>ผลการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้บริการพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพครอบคลุมกลุ่มผู้รับบริการทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้รับบริการทั่วไปและกลุ่มเปราะบางในการแก้ปัญหาของตนเองที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพได้ต่อไป</p>
จุฬาภรณ์ เพชรเรือง
ณัฎฐิกา แซ่แต้
เอมอร ยอดรักษ์
ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา
Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-04
2025-03-04
18 1
e275335
e275335
-
การพัฒนาการดำเนินงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยด้วยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/276115
<p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ปัญหาความต้องการพัฒนารูปแบบศึกษาประสิทธิผลและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยด้วยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาความต้องการ จาก พชอ. และวัยก่อนสูงอายุจำนวน 20 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการดำเนินงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยด้วยกลไก พชอ. ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและศึกษาความเหมาะสม ความเป็นไปได้และประโยชน์ต่อรูปแบบบริการ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือประชาชนวัยก่อนสูงอายุ จำนวน 270 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test สถิติ One Sample t-test ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;">1. ปัญหาการดำเนินงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย คือ ไม่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ ระบบการดำเนินงาน</span><span style="font-size: 0.875rem;">ไม่ต่อเนื่องชัดเจน ทำงานเป็นแบบแยกส่วน ส่วนความต้องการในการดำเนินงาน คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน </span><span style="font-size: 0.875rem;">การสนับสนุนการมีส่วนร่วม การสนับสนุนงบประมาณ การจัดเครือข่ายและการจัดบริการสาธารณะ ความต้องการด้านข้อมูล และการดูแลสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. รูปแบบการดำเนินงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยด้วยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง คือ PALIAN – MPI 4 PLUS Model</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. หลังการใช้รูปแบบ 1) ประชาชนวัยก่อนสูงอายุได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะซึมเศร้าร้อยละ 100 2) ความรอบรู้ทางสุขภาพและคุณภาพชีวิตมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</span><span style="font-size: 0.875rem;">ที่ระดับ .001 3) คะแนนความสำเร็จในการดำเนินงานตามรูปแบบการดำเนินงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยมากกว่า คะแนนเฉลี่ย 3.50 (ระดับดี) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย เน้นการส่งเสริมสุขภาพ การมีสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมที่ดี การสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงนโยบาย การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี การสร้างระบบฐานข้อมูลรายบุคคล และนโยบายของประเทศ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">ดังนั้นควรเตรียมความพร้อมการดำเนินงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยโดยการวางแผนและจัดกิจกรรมในกลุ่มประชาชนวัยก่อนสูงอายุ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม</span></p>
รัชพล สัมฤทธิ์
Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-03
2025-03-03
18 1
e276115
e276115
-
การจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการศึกษาพยาบาล สำหรับประชากรหลายช่วงวัย
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/273181
<p>การจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation-based Learning: SBL) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษาพยาบาล ช่วยเสริมสร้างทักษะทางคลินิก การคิดเชิงวิพากษ์ และการตัดสินใจในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากความเสี่ยง บทความวิชาการนี้ทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ความท้าทายและโอกาสในการใช้ SBL ในประชากรผู้ป่วยที่หลากหลายทั้งในระดับนานาชาติและบริบทของประเทศไทย ในการดูแลการตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด การใช้การจำลองที่มีความเสมือนจริงสูง และการใช้ผู้ป่วยจำลอง ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์และการทำงานเป็นทีมระหว่างวิชาชีพ การใช้สถานการณ์จำลองในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กเน้นในด้านพัฒนาการและอารมณ์ของเด็กในแต่ละช่วงวัย พัฒนาทักษะในการให้ยา และการสื่อสารกับครอบครัว สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การใช้สถานการณ์การจำลองที่มีความเสมือนจริงสูงจะช่วยในการพัฒนาความสามารถในการจัดการโรคเรื้อรัง การดูแลและการให้การพยาบาลในระยะเฉียบพลัน และกลุ่มอาการเฉพาะของผู้สูงอายุ การใช้สถานการณ์จำลองในการพยาบาลจิตเวช ผ่านการใช้ SPs หรือเทคโนโลยีการจำลองเสมือนจริง ช่วยเสริมสร้างทักษะการสื่อสารเชิงบำบัดและการดูแลในสถานการณ์วิกฤต การใช้สถานการณ์จำลองในการพยาบาลชุมชนช่วยในการเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับการดูแลสุขภาพที่บ้านการตอบสนองทางสาธารณสุข และการพยาบาลในโรงเรียน โดยเน้นการดูแลเชิงป้องกันและความร่วมมือระหว่างวิชาชีพ ความท้าทายในการใช้ SBL ได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องและการได้รับการสนับสนุนจากสถาบันและการจัดทำ นโยบาย ทิศทางในอนาคตของ SBL ได้แก่ การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ การเพิ่มความร่วมมือด้าน การใช้สถานการณ์จำลองระหว่างวิชาชีพ การใช้ SPs และการจัดการเรื่องการเข้าถึงในสถานที่ที่มีทรัพยากรจำกัดการวิจัยและการทำนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเท่าเทียมของการใช้ SBL ในการศึกษาพยาบาล</p>
Onouma Thummapol
Saw Yu Thanda
ปัทมาพร ธรรมผล
Copyright (c) 2025 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-04
2025-03-04
18 1
e273181
e273181