https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/issue/feed วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2024-03-13T00:00:00+07:00 ผศ.ดร.กิตติพร เนาว์สุวรรณ [email protected] Open Journal Systems <p><span lang="TH"><img src="https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/26/XhOJkV.jpg" /></span></p> <p>วารสารวิชาการของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุขเป็นวารสารในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์<br />และเทคโนโลยี ที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย<br />(Thai Journal Citation Index Center: TCI Center) มีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <p class="body1">1. เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ ด้านการพยาบาล การผดุงครรภ์ การศึกษาพยาบาล และสุขภาพ</p> <p class="body1">2.เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการของพยาบาล อาจารย์พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพ</p> <p class="body1">3. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและองค์กรทางสุขภาพทั่ประเทศ<br />กำหนดการออกวารสาร</p> <p class="body1"><strong>วารสารการพยาบาลและการศึกษา เป็นวารสารราย 3 เดือน กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ ดังนี้</strong></p> <p class="body1"> ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มีนาคม<br /> ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน - มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม - กันยายน<br /> ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/267802 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออุบัติเหตุ อาการทางสุขภาพ และการยศาสตร์จากการประกอบอาชีพ ของเกษตรกรชาวสวนทุเรียน จังหวัดแห่งหนึ่ง ภาคใต้ของประเทศไทย 2023-12-19T11:46:24+07:00 ปวิตร ชัยวิสิทธิ์ [email protected] สมเกียรติยศ วรเดช [email protected] ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ [email protected] <p>การศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดภาคตัดขวางนี้เพื่อศึกษา 1) ความชุกของการได้รับอุบัติเหตุ อาการทางสุขภาพและการยศาสตร์ (อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก) 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการได้รับอุบัติเหตุ อาการทางสุขภาพและอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในระยะแต่งดอกและแต่งผลอ่อนทุเรียน จำนวน 200 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหา .67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสมการถดถอยโลจิสติกพหุตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความชุกของอุบัติเหตุจากการทำงานตลอดระยะเวลา 1 ปี ร้อยละ 33.00 ส่วนความชุกอาการทางสุขภาพร้อยละ 37.50 และความชุกของอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ร้อยละ 83.00</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุ พบว่า ปัจจัยด้านระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายมีความเสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุลดลงร้อยละ 56 (AOR = 0.44, 95%CI: 0.20-0.98) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความเสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุ 2.47 เท่า (AOR = 2.47, 95%CI: 1.17-5.22) การนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง มีความเสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุ 12.40 เท่า (AOR = 12.40, 95%CI: 4.66-33.04) และจำนวนระยะเวลาของการทำงานต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นมีความเสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น 1.30 เท่า (AOR = 1.30, 95%CI: 1.18-1.42) ส่วนของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการทางสุขภาพ คือ ปัจจัยการนอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมง มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางสุขภาพ 5.33 เท่า (AOR = 5.33, 95%CI: 2.31-12.29) การมีโรคประจำตัวมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางสุขภาพ 4.35 เท่า (AOR = 4.35, 95%CI: 1.76-10.75) และการมีจำนวนระยะเวลาทำงานต่อเดือนเพิ่มขึ้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางสุขภาพเป็น 1.21 เท่า (AOR = 1.21, 95%CI: 1.12-1.30) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก คือ การมีระยะเวลาการทำงานต่อเดือนเพิ่มขึ้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกเป็น 1.63 เท่า (AOR = 1.63, 95%CI: 1.40-1.91)</span></p> <p>ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขควรมีการจัดการความเสี่ยงและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร สวนทุเรียนระยะแต่งดอกและแต่งผลอ่อนทุเรียน</p> 2024-03-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการศึกษา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/263227 อิทธิพลขององค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในสตรีที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 2023-06-06T14:34:36+07:00 จิราจันทร์ คณฑา [email protected] อัจฉโรบล แสงประเสริฐ [email protected] สุดกัญญา ปานเจริญ [email protected] รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ [email protected] <p>การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและระดับพฤติกรรมการดูแลตนเอง และศึกษาอิทธิพลขององค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์จำนวน 118 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในด้านทักษะความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ การสื่อสารข้อมูลสุขภาพเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ การจัดการเงื่อนไขของตนเองด้านสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อด้านสุขภาพ การตัดสินใจด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .67 – 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้ .71, .82, .83, .79, .74, .72 และ .75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับก้ำกึ่ง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 66.42, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 9.62) ความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพอยู่ในระดับถูกต้องบ้าง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 7.58, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> =1.77) การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 2.42, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .65) การสื่อสารข้อมูลสุขภาพเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ การจัดการเงื่อนไขของตนเองด้านสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อด้านสุขภาพ และการตัดสินใจด้านสุขภาพ อยู่ในระดับพอใช้ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 2.24, 2.10, 2.17, 10.09, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.42, 0.58, 0.45, 2.15 ตามลำดับ) พฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 3.11 , </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.37)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยการจัดการเงื่อนไขของตนเองด้านสุขภาพสามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (β=.588) โดยทำนาย ได้ร้อยละ 34.5 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">R<sup>2</sup></em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .345, </span><em style="font-size: 0.875rem;">F</em><span style="font-size: 0.875rem;">=1401, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><span style="font-size: 0.875rem;"> &lt; .01)</span></p> <p>ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพ การให้ข้อมูลในการดูแลสุขภาพแก่สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ให้มีพฤติกรรมการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้อย่างปลอดภัย</p> 2024-03-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการศึกษา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/263885 การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ศูนย์ผ่าตัดฟื้นฟูสุขภาพ โรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่ง 2023-10-01T20:05:29+07:00 ลภัสรดา โสภณ [email protected] เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย [email protected] อุษา ตันทพงษ์ [email protected] <p>การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยน ข้อเข่าเทียมแบบหนึ่งข้างและแบบสองข้างพร้อมกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ รายงานต้นทุนทั้งหมดของบุคลากรพยาบาล จำนวน 14 คน และรายงานต้นทุนที่เกิดจากการให้บริการผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 30 คน เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการ จำนวน 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยบริการ ได้แก่ ค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ โดยเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิของโรงพยาบาล 2) พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 3) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2566 ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยกับผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ .97 และคำนวณค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ต้นทุนกิจกรรมพยาบาลรวมของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบหนึ่งข้างและแบบสองข้าง พร้อมกัน เท่ากับ 74,480.47 บาท และ 134,838.68 บาท</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ต้นทุนต่อกิจกรรมการพยาบาลเท่ากับ 2,53 บาท และ 2,466.56 บาท ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลต่อรายเท่ากับ 7,448.04 บาท และ 7,154.04 บาท</span></p> <p>ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลเชิงประจักษ์เรื่องขององค์ประกอบต้นทุน (ค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน) เพื่อใช้ประกอบการ วางแผนการบริหารต้นทุนและงบประมาณได้สอดคล้องกับกิจกรรมการผ่าตัด ทำให้มีการเตรียมทรัพยากรด้านต้นทุนได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้การจัดบริการเป็นไปตามเป้าหมาย</p> 2024-03-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการศึกษา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/264852 ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการแพทย์ฉุกเฉิน โดยใช้สถานการณ์จำลอง ในการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน กรณีผู้ป่วยที่มีประวัติเข้าเกณฑ์สงสัยการติดเชื้อ Covid 19 ของชุดปฏิบัติการระดับพื้นฐาน จังหวัดมหาสารคาม 2023-12-01T20:54:37+07:00 ชลลดา ทอนเสาร์ [email protected] นันทวรรณ ทิพยเนตร [email protected] นิรันดร์ อินทรัตน์ [email protected] จันทนา ศรีพราว [email protected] ฉัตริน ศรีพล [email protected] ไมตรี ทอนเสาร์ [email protected] จุรีภรณ์ นามอามาตย์ [email protected] <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มทดสอบก่อนหลังนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการแพทย์ฉุกเฉินโดยใช้สถานการณ์จำลองในการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน 19 กรณีผู้ป่วยที่มีประวัติเข้าเกณฑ์สงสัยการติดเชื้อ Covid ของชุดปฏิบัติการระดับพื้นฐาน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 112 คน ประกอบด้วย เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเลือก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 56 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 56 คน การใช้โปรแกรมในผู้ป่วยที่มีประวัติสงสัยว่าติดเชื้อ Covid 19 เป็นกลุ่มทดลองในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรม โดยประเมินความรู้ ทัศนคติ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและความมั่นใจในตนเอง และสมรรถนะด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินในการออกปฏิบัติการ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและความมั่นใจในตนเอง และทัศนคติในการออกปฏิบัติการด้านการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หลังการใช้โปรแกรมสูงกว่า ก่อนการใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .001</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. สมรรถนะด้านการแพทย์ฉุกเฉินในการออกปฏิบัติการด้านการบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรณีผู้ป่วยที่มีประวัติเข้าเกณฑ์สงสัยการติดเชื้อ Covid ของชุดปฏิบัติการระดับพื้นฐาน ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</span></p> <p>ผลของการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าควรนำโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการแพทย์ฉุกเฉิน โดยใช้สถานการณ์จำลองในการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน มาเป็นแนวทางในการอบรมภาคปฏิบัติ และสามารถประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อการดูแลผู้เจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-03-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการศึกษา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/266085 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะวิกฤติในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 2024-01-19T21:38:19+07:00 ชลดา ผิวผ่อง [email protected] ศจีรัตน์ โกศล [email protected] ปารณีย์ มีมาก [email protected] ถกลรัตน์ หนูฤกษ์ [email protected] <p>การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะวิกฤติในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและ 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นผู้บริหารและพยาบาล 23 คน 2) ระยะพัฒนารูปแบบการพยาบาลฯ และ 3) ประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ 40 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายและหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เป็นกลุ่มควบคุม 25 คน กลุ่มทดลอง 25 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการพยาบาลฯ ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา IOC เท่ากับ 1.00 2) แบบสังเกตการปฏิบัติด้านทักษะการพยาบาลฯ ได้ค่า Inter rater = .90 3) แบบทดสอบวัดความรู้ ได้ค่าความยากง่าย KR-20 เท่ากับ <strong>.</strong>78 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ Willcoxon Signed Rank test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นชื่อว่า GCC Model ได้แก่ (1) G แทน Guideline หมายถึงแนวทางการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง (2) C แทน Clinical supervision การนิเทศทางคลินิก และ (3) C แทน Competency หมายถึง สมรรถนะการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ฯ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลลัพธ์การใช้รูปแบบได้แก่ ด้านผู้รับบริการพบว่าอัตราการเกิดภาวะวิกฤตต่ำกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านผู้ให้บริการพบว่า มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และทักษะผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 ด้านกระบวนการ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 3.65, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.49) และความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับมากที่สุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 3.60, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .51)</span></p> <p>ดังนั้นควรนำรูปแบบการพยาบาลฯ นี้ไปใช้ใน รพ.ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะวิกฤติในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง</p> 2024-03-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการศึกษา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/265975 ผลของแอปพลิเคชันการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อการปฏิบัติการคงไว้ซึ่งนมมารดา และปริมาณน้ำนมของมารดาทารกแรกเกิดก่อนกำหนด 2023-11-12T10:23:25+07:00 รัตนาภรณ์ แบ่งทิศ [email protected] มินตรา อุทัยรังษี [email protected] วรรณ์วิการ์ ใจกล้า [email protected] นิตยา ณะวัน [email protected] <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแอปพลิเคชันการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อ การคงไว้ซึ่งนมมารดาของมารดาทารกแรกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคเหนือ จำนวน 50 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการเสริมสร้างสมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาโดยใช้แอปพลิเคชันและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด และแบบสังเกตการปฏิบัติในการคงไว้ซึ่งน้ำนมของมารดา ทารกแรกเกิดก่อนกำหนด ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 0.89 และค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาสถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน และสถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่ม เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. มารดาทารกแรกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มที่ได้รับแอปพลิเคชันการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนมีคะแนน การปฏิบัติในการคงไว้ซึ่งน้ำนมมารดามากกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </span><em style="font-size: 0.875rem;">(</em><em style="font-size: 0.875rem;">p &lt; .01)</em></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. มารดาทารกแรกเกิดก่อนกำหนดมีคะแนนการปฏิบัติในการคงไว้ซึ่งน้ำนมมารดา ภายหลังได้รับแอปพลิเคชันการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน มากกว่าก่อนได้รับแอปพลิเคชันการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ </span><em style="font-size: 0.875rem;">(</em><em style="font-size: 0.875rem;">p &lt; .01)</em></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. มารดาทารกแรกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มที่ได้รับแอปพลิเคชันการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน มีปริมาณน้ำนมมารดามากกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </span><em style="font-size: 0.875rem;">(</em><em style="font-size: 0.875rem;">p &lt; .01)</em></p> <p>ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแอปพลิเคชันการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน ทำให้มารดาทารกแรกเกิดก่อนกำหนดมีทักษะในการปฏิบัติในการคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดาเพิ่มขึ้น จึงควรส่งเสริมให้มีการนำแอปพลิเคชัน การเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน ให้เป็นกลวิธีหนึ่งในการส่งเสริมทักษะของมารดาทารกแรกเกิดก่อนกำหนด</p> 2024-03-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการศึกษา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/264234 ผลของโปรแกรมเสริมสร้างการเติบโตภายหลังได้รับบาดเจ็บทางจิตใจต่อความสุขของผู้รอดชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ของไทย 2024-01-19T21:04:05+07:00 สุริยา ยอดทอง [email protected] วินีกาญจน์ คงสุวรรณ [email protected] <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างการเติบโตภายหลังได้รับบาดเจ็บทางจิตใจต่อความสุขของผู้รอดชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ของไทย กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 20 - 60 ปี จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่างผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติตามที่ผู้วิจัยกำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมเสริมสร้างการเติบโตภายหลังได้รับบาดเจ็บทางจิตใจ ตามแนวคิดของ เทเดสชิและคาลฮอน มีการดำเนินกิจกรรม 5 กิจกรรม ๆ ละ 90 นาที ระยะเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 กิจกรรม 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบสอบถามความสุข โปรแกรมเสริมสร้างการเติบโตภายหลังได้รับบาดเจ็บทางจิตใจ และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เครื่องมือแบบสอบถามความสุขผ่านการตรวจสอบความเที่ยง โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. กลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างการเติบโตภายหลังได้รับบาดเจ็บทางจิตใจมีคะแนนเฉลี่ยคะแนนความสุข (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 34.43, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 1.47) สูงกว่าก่อนที่ได้เข้าร่วมโปรแกรม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 28.95, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 1.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><span style="font-size: 0.875rem;">=16.007, </span><em style="font-size: 0.875rem;">P&lt; .001</em><span style="font-size: 0.875rem;">)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างการเติบโตภายหลังได้รับบาดเจ็บทางจิตใจ มีคะแนนเฉลี่ยความสุข (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 34.43, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 1.47) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 29.67, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 1.807) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 11.184, </span><em style="font-size: 0.875rem;">P&lt; .001</em><span style="font-size: 0.875rem;">)</span></p> <p>ดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพจึงควรนำโปรแกรมเสริมสร้างการเติบโตภายหลังได้รับบาดเจ็บทางจิตใจประยุกต์ใช้เพิ่มความสุขให้กับผู้ได้รับบาดเจ็บทางจิตใจต่อไป</p> 2024-03-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการศึกษา