การสร้างขุมความรู้ ด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาล ตามแนวคิดการจัดการความรู้ ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข*
คำสำคัญ:
Knowledge Assets, Knowledge Management, Nursing Instructionบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพความรู้ด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาล และพัฒนาขุมความรู้ตามรูปแบบการสร้างขุมความรู้ ด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาล ตามแนวคิดการจัดการความรู้ ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ 1)หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลและอาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาลผู้สูงอายุ จำนวน 61 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษที่มีประสบการณ์สูงเพื่อสร้างรูปแบบการสร้างขุมความรู้จำนวน 8 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรวบรวมความรู้ตามรูปแบบการสร้างขุมความรู้ จำนวน 5 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาลผู้สูงอายุจำนวน 8 คน โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตการสอน และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์สาระ (content analysis) และสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก มีการจัดการความรู้ ไว้ในทุกภารกิจ คือ ด้านวิชาการ ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการแก่สังคม ด้านพัฒนานักศึกษา และด้านบริหาร
2. รูปแบบการสร้างขุมความรู้ ด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาลประกอบด้วย 1) การรวบรวมความรู้โดยนัยและความรู้ชัดแจ้ง ในระดับบุคคล 2) ระดับของความรู้ ได้แก่ รู้ว่าคืออะไร รู้วิธีการ รู้เหตุผล และใส่ใจกับเหตุผล 3) การนิยามความรู้ ได้แก่ ความรู้ที่รู้ว่ารู้ ความรู้ที่รู้ว่าไม่รู้ ความรู้ที่ไม่รู้ว่ารู้ และความรู้ที่ไม่รู้ว่าไม่รู้
3. ขุมความรู้ด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) ขุมความรู้เกี่ยวกับ
หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่ใช้ เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนมี
วิธีการสอนที่หลากหลาย มีกลเม็ดเคล็ดลับ หรือเทคนิคเฉพาะตัวที่ใช้เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนการสอนทาง
การพยาบาลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 1.1 แบบกรณีศึกษา 1.2 แบบการศึกษาจากสภาพจริง
1.3 แบบแผนผังมโนทัศน์ 1.4 แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 1.5 แบบคิดวิจารณญาณ 1.6 แบบใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 1.7 แบบใช้สถานการณ์จำลอง 1.8 แบบเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง 1.9 บทบาทสมมติ 1.10 แบบสืบสวน
1.11 แบบเรียนผ่านสื่อ 1.12 แบบผสมผสาน 2) ขุมความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่ต้องการอย่างแท้จริง 3) ขุมความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่ทันยุคสมัย 4) ขุมความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ 5) ขุมความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่รู้ว่ารู้ 6) ขุมความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่รู้ว่าไม่รู้ 7) ขุมความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่ไม่รู้ว่ารู้ 8) ขุมความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่ไม่รู้ว่าไม่รู้
คำสำคัญ : ขุมความรู้ การจัดการความรู้ การเรียนการสอนทางการพยาบาล
Abstract
aims to examine the nursing instruction knowledge and to pursue the creation of knowledge assets for nursing instruction based on the knowledge asset creation model and knowledge management concept in Nursing Colleges under Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health. The data are collected from the sample group consisting of (1) head of the School of Nursing and nursing instructors responsible for the gerontological nursing instruction in total of 61 persons; (2) 8 senior specialists on knowledge asset model creation; (3) 5 specialists for the collection of data on knowledge asset creation model; and (4) 8 senior experts with the experience and expertise in the gerontological nursing instruction. The questionnaire, interview form, observation form and focus group discussion assessment form are employed in data collection, while the data analysis is conducted by means of content analysis. Besides, the statistical methods include the frequency, percentage, means, and standard deviation.
The research results are as follows:
1. The knowledge management is available in the nursing college and covers all missions, namely, academic affairs, research works, academic services for the society, student development activities and
administration
2. The creation of knowledge assets for nursing instruction model consists of 1) the collection of individual tacit and explicit knowledge 2) the level of knowledge including know-what, know-how, know-why and care-why 3) the defining of knowledge, namely, the knowledge you know you have, the knowledge you know you don't have, knowledge you don't know you have and the knowledge you don't know you don't have.
3. The knowledge assets for the gerontological nursing instruction are: 1) the knowledge assets of the use of theories, principles, concepts and learning processes of learner-focus including the case study, authentic instruction, concept mapping, problem- based learning, critical thinking, evidence base practice, simulation, self-directed learning, role play, inquiring learning, social media (twitter, line, facebook, web blog, online game), mixed methods 2) the knowledge assets of the right knowledge 3) the knowledge assets of the right time 4) the knowledge assets of the right place 5) the knowledge assets of the knowledge you know you have 6) the knowledge assets of the knowledge you know you don't have 7) the knowledge assets of the knowledge you don't know you have 8) the knowledge assets of the knowledge you don't know you don't have.
Keywords : Knowledge Assets, Knowledge Management, Nursing Instruction