ผลของโปรแกรมเปลี่ยนความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวด และระดับความปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
Changing Pain atastrophizing Program, Pain Catastrophizing, Primary Dysmenorrheaบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองแบบ Randomized pretest – posttest control group design นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดประจำเดือน และระดับความปวดประจำเดือนในกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเปลี่ยนความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดและระดับความปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิของนักศึกษาพยาบาล 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดประจำเดือน และระดับความปวดประจำเดือนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม หลังใช้โปรแกรมเปลี่ยนความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวด และระดับความปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิของนักศึกษาพยาบาล ภายใต้การควบคุมตัวแปรการใช้ยาแก้ปวดและตัวแปรภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักศึกษาพยาบาลหญิง ชั้นปีที่ 1 – 2 วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปีการศึกษา 2556 จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดระดับความปวด Face Pain Scale – Revised 3) แบบวัดความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดประจำเดือนฉบับภาษาไทย 4) แบบวัดภาวะซึมเศร้า และ 5) โปรแกรมเปลี่ยนความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดและระดับความปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วย t-test และ Multivariate Analysis of Covariance
ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดประจำเดือนและระดับความปวดประจำเดือนในกลุ่มทดลอง หลังใช้โปรแกรมเปลี่ยนความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดและระดับความปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ น้อยกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เมื่อควบคุมอิทธิพลของการใช้ยาแก้ปวด และภาวะซึมเศร้าแล้ว หลังใช้โปรแกรมเปลี่ยนความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดและระดับความปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ กลุ่มทดลองมีความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดประจำเดือน และระดับความปวดประจำเดือน น้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : โปรแกรมเปลี่ยนความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวด ความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับ
ความปวด ความปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ
Abstract
The aims of this experimental research with randomized pretest – posttest control group design , were: 1) to compare pain catastrophizing and pain intensity of dysmenorrhea before and after using a program to change pain catastrophizing and pain intensity for primary dysmenorrhea in
nursing students 2) to compare pain catastrophizing and pain intensity of dysmenorrheal between experimental and control group after using the program after controlling the analgesic drug used and depression. The voluntary participants were 40 freshman and sophomore nursing students from Phrapokklao Nursing College, Chanthaburi in the academic year 2013. These participants were
randomly assigned equally to experimental and control groups. Research instruments consisted of general data questionnaire, face pain scale – revised, pain catastrophizing of dysmenorrheal
scale – thai version, Thai Beck Depression Inventory and a program to change pain catastrophizing and pain intensity for primary dysmenorrhea in nursing students. Data were analyzed using t-test and Multivariate Analysis of Covariance.
The research results showed that 1) pain catastrophizing and pain intensity in experimental group after using a changed pain catastrophizing and pain intensity program were statistically
significance lower than before using the same program. 2) after controlling analgesic drug used and depression, pain catastrophizing and pain intensity in experimental group after using a changed pain catastrophizing and pain intensity program were statistically significance lower than control group.
Keywords : Changing Pain atastrophizing Program, Pain Catastrophizing, Primary Dysmenorrhea