ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษา บุคลากรและอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

ผู้แต่ง

  • ศุภวรรณ สีแสงแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • เปรมฤดี ดำรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • พัชรินทร์ คมขำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • พิมพ์ณัฐชา สุไลมาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • วานีตา สาเมาะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

คำสำคัญ:

ความเครียด, การติดต่อสื่อสาร, การปฏิสัมพันธ์, Stress, Communication, Interaction

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษา บุคลากรสายสนับสนุน  อาจารย์  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรของวิทยาลัยพยาบาล ประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 บุคลากรสายสนับสนุน อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2556 จำนวน 343 คน  รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2556 – เดือนมีนาคม  2557  โดยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุง  (SPST-20)  ของสุวัฒน์  มหัตนิรันดร์กุลและคณะ (2545)  จำนวน  20 ข้อ แบบประเมินตนเองของพรรณราย ทรัพย์ประภา(อ้างในรัชนี  เขตรสาลี, 2552) จำนวน  50 ข้อ  เครื่องมือมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .92, .90  ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์  สำหรับวิเคราะห์หาค่าความถี่  ร้อยละ .และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
    ผลการศึกษา พบว่า  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 343 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 89.5 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 58.9  ส่วนใหญ่เป็นสภาวะพ่อแม่เจ้าระเบียบ ร้อยละ 71. 58.60 รองลงมาคือ สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ ร้อยละ 16.60  ที่มีการติดต่อสื่อสารที่เด่น
    1.    ระดับความเครียด  พบว่า  กลุ่มตัวอย่างโดยรวมมีความเครียดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 44.60  ระดับปานกลาง ร้อยละ 10.80 ระดับเล็กน้อย ร้อยละ 21.90  อยู่ในเกณฑ์ปกติ  ร้อยละ 22.74  เมื่อจำแนกรายกลุ่ม  พบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 11.6 มีความเครียดสูง รองลงมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 ตามลำดับ
    2.    ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษา บุคลากรและอาจารย์  โดยรวม พบว่า บุคคลที่มีการติดต่อสื่อสาร  แบบสภาวะเด็กปรับตัว  และแบบสภาวะเป็นเด็กตามธรรมชาติ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับความเครียด  (r = .21, .24) และบุคคลที่มีการติดต่อสื่อสารแบบสภาวะเป็นผู้ใหญ่มีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับความเครียด (r = -.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : ความเครียด  การติดต่อสื่อสาร  การปฏิสัมพันธ์

Abstract
    The purpose of this descriptive study were to describe the level of stress among nursing students, officers and nursing instructors in Boromarajonani College of Nursing Yala and to explored factors associated with their stress. A total of 343 participants participated in this study. Data were collected during December 2013 to March 2014. The instruments of this study comprised of
demographic data questionnaires, self reporting questionnaire of stress which has been developed by Mahatnirankun, S and et al. (2002) and Sabprapa, P. (cite in Katsalee, 2009) as an instrument  
designed to evaluate the level of stress. The questionnaires were tested for reliability using by Cronbach’s alpha and the results were 0.92 and 0.90 respectively. The data were analyzed using computer
program. for frequency  by percentage of the level of stress and also were analyzed correlation between factors and the stress using Pearson’s correlation, and Chi-square.
    The result of this study revealed that the majority of participants were female (89.5%) and also were Buddhists (58.9%). The  person  with communication of controlling parent type and Adult  ego state type have strength point in communication. participants  Most of participants have a high levels of stress (44.60%) others have a moderate and low levels of stress (21.90% and 10.80%) and  22.74% have no stress.  Freshmen  students have high  level of stress  11.6 %  In addition, the study reported that some participants were no stress (). The characteristic of obedient child of participants was positively correlated with the low level of stress.
    Factors associated with stress of Nursing student, Officer and Instructors especially in person  who  communicated  by  Adapth child type  and free  child type  have low positive level  related with stress. (r=.21, .24)  and  Adulth  ego  state  type have low level negative related with stress (r= -17)  by statistical  significance  at .o5.

Keywords :  Stress,  Communication,  Interaction.




Author Biographies

ศุภวรรณ สีแสงแก้ว, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

เปรมฤดี ดำรักษ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

พัชรินทร์ คมขำ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

พิมพ์ณัฐชา สุไลมาน, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

วานีตา สาเมาะ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย