รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

คำสำคัญ:

Model, Development, Leadership, Health Promotion, Nursing Students

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานสร้างเสริม สุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และ3) ศึกษา ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ    กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน สร้างเสริมสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตภาคเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 411 คน และอาจารย์พยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตภาคเหนือ 5 แห่ง จำนวน 108 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน โดยใช้ แบบประเมินคุณภาพขององค์ประกอบรูปแบบ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยทดลองใช้รูปแบบกับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แบบประเมินภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ แบบประเมินโครงการการพัฒนาภาวะผู้นำวิเคราะห์ข้อมูล โดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test

สรุปผลการวิจัย

1. ผลการศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน สร้างเสริมสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ พบว่า มีจำนวนทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการคำนึงถึง ความแตกต่างของบุคคล 2) ด้านกระตุ้นปัญญา 3) ด้านคุณธรรม 4) ด้านความรู้การพยาบาลและการสร้างเสริม สุขภาพ 5) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และ6) ด้านบุคลิกภาพ โดยมีเกณฑ์การปฏิบัติทั้งหมด 50 ข้อ ที่สามารถ อธิบายลักษณะขององค์ประกอบในแต่ละด้าน

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ  7 องค์ประกอบ คือ 1) เป้าหมายการพัฒนา 2) ขอบเขตการพัฒนา 3) โครงสร้างการบริหารจัดการ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนา 5) โครงสร้างการพัฒนา ประกอบด้วย การเตรียมการ การประเมินก่อนดำเนินการ การดำเนินการพัฒนา การประเมินหลังดำเนินการ และการปรับปรุง 6) หน่วยการพัฒนา และ 7) เป้าหมายปลายทางของการพัฒนา ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นเกี่ยวกับมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และความเพียงพอ พบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นในภาพรวม มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก

3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัย พยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าหลังการพัฒนาผู้เข้ารับการพัฒนา มีความรู้ เจตคติ และทักษะเกี่ยวกับภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าก่อน การพัฒนาอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ในภาพรวม ผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก

คำสำคัญ : รูปแบบ  การพัฒนา  ภาวะผู้นำ  การสร้างเสริมสุขภาพ  นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract


This research was used the research & development process. The objectives of this research were (1) Factors analysis in health promotion leadership of nurses in Primary Care Units,(2) Create and develop a model for the development of health promotion leadership of Nursing Students in Nursing College under Praboromrajchanok Institute, The Ministry of Public Health, and (3) Study the result of implementation of the model of Nursing Students in Nursing College under Praboromrajchanok Institute, The Ministry of Public Health. The methodology had
3 phases. Phase 1st was studied of the factors in health promotion leadership. The samples were 411 nurses that working at the primary care unit in 17 northern provinces and the 108 nursing instructors in 5 northern Boromarajonani Nursing Colleges. The data were collected by questionnaire, Exploratory Factor Analysis. Phase 2nd was created and developed a model for the development of health promotion leadership. The data analysis & synthesis, review literatures and quality testing of the model were done by 9 experts, using the model quality assess form. Phase 3rd studied the result of implementation of the model by testing with the 30, 4th year nursing students in Chiang Mai Boromarajonani Nursing College. The research tools were the evaluating form of the health promotion leadership, the evaluating form of the leadership development project. The data were analyzed by mean, standard deviation and t–test.
The Results of research were shown as the followings.
1. The factors in health promotion leadership were 6 factors, (1) the leadership of individual
consideration,(2) the leadership of intellectual stimulation, (3) the leadership of moral, (4) the leadership of nursing knowledge and health promotion,(5) the leadership of inspiration motivation, and (6) the leadership of personality. There were 50 performance criteria to explain the character of factors in each part.
2. The model for development of health promotion leadership was 7 factors. There were (1) The goal of development,(2) The scope of development,(3) The structure of administration,(4) The development of
strategies,(5) The development of structure,(6) The development unit, and (7) The goal of development. The quality of the model was tested by experts at high grade level for it’s possibility, usefulness, feasibility, rightness and sufficiency.
3. The result of implementation of the model revealed that post-implementation, the participants had more knowledge, attitude and health promotion leadership skill than pre- implementation (p < .01). The evaluation of health promotion leadership development was at the good level.

Keywords : Model, Development, Leadership, Health Promotion,

Nursing Students

Author Biography

พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

อาจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย