การติดเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูงด้วยการตรวจเอชพีวีอย่างเดียว

การติดเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง

ผู้แต่ง

  • ลลิตา โฆษิตวรกิจกุล Srisangworn sukhothai hospital

คำสำคัญ:

ความชุก, ติดเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง, ความเที่ยงตรง, ส่องกล้องปากมดลูก, พยาธิวิทยา

บทคัดย่อ

การติดเชื้อ HPV ชนิดความเสี่ยงสูงเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็ง ปากมดลูก การศึกษาแบบย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ความชุกของการติดเชื้อ HPV ชนิดความเสี่ยงสูงและความถูกต้องของ การตรวจด้วยวิธีส่องกล้องปากมดลูกเทียบกับผลพยาธิวิทยาปากมดลูก  ในโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน  ผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย primary HPV testing ซึ่งมีผลการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องปากมดลูกและผลพยาธิ วิทยาปากมดลูกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกันยายน  พ.ศ. 2564 พบว่ามีผู้เข้ารับการตรวจคัดกรอง 1,882 คนอายุเฉลี่ย  48.52 ปี พบการติดเชื้อ HPV ชนิดความเสี่ยงสูง 150 คน (ร้อยละ 8) พบพยาธิวิทยาปากมดลูกตั้งแต่ CIN 2 ขึ้นไปร่วมกับการติดเชื้อ high risk HPV สายพันธ์ุ 16, 18, 31, 33, 52, 58 จำนวน 5 คน ผลการตรวจ ด้วยกล้องส่องปากมดลูกกับผลทางพยาธิวิทยาของปากมดลูกมีความ ถูกต้องร้อยละ 84.6 ความไวร้อยละ 66.7 และความจำเพาะร้อยละ 100  ส่วนผลการตรวจด้วยกล้องส่องปากมดลูกกับผลทางพยาธิวิทยาปาก มดลูกจาก LEEP มีความถูกต้องร้อยละ 69 สรุปได้ว่าผู้ป่วยที่มีผลติด เชื้อ HPV ชนิดความเสี่ยงสูงควรได้รับการตรวจส่องกล้องปากมดลูก อย่างรวดเร็วเพื่อวินิจฉัยรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่ม ต้น

Author Biography

ลลิตา โฆษิตวรกิจกุล, Srisangworn sukhothai hospital

กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64120

References

National Cancer Institute, Department of Medical Services, Ministry of Public Health, Thailand. Hospital Based Cancer Registry 2016. Bangkok, Thailand: National Cancer Institute; 2018.

Bruni L, Albero G, Serrano B, Mena M, Collado JJ, Gomez D, et al. Human papillomavirus and related diseases in Thailand. HPV Information Centre [online]. 2017 [cited 2021 Oct 22]. Available from:https://hpvcentre.net/statistics/reports/THA.pdf

NHSO. HPV primary testing [online]. 2019 Jul 21 [cited 2020 Jul 20]. Available from:https://www.hfocus.org/content/2019/07/17388

IARC. IARC monographs on the evaluation of carcinogenic risks to human Vol 90. Lyon, France: IARC; 2007. p.48-179.

Serrano B, Brotons M, Bosch FX, Bruni L. Epidemiology and burden of HPV-related disease. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol 2018;47:14-26. doi: 10.1016/j.bpobgyn.2017.08.006

RTCOG. Cervical cancer screening [online]. 2021 Jan 22 [cited 2022 Jun 1]. Available from:http://www.rtcog.or.th/home/wpcontent/uploads/2022/05/GY-64-017-1.pdf

Landis JR, Koch GG.The measurement of observer agreement for categorical data. Biometrics 1977;33(1):159-74.

Siriaunkgul S, Settakorn J, Sukpan K, Srisomboon J. Population-based cervical cancer screening using high-risk HPV DNA testing and liquid-based cytology in Northern Thailand. Asian Pac Cancer Prev 2014;15(16):6837-42.

Choeypan W, Suprasert P, Sukpan K, Settakorn J. The prevalence of high-risk human papillomaviral infection and abnormal cervical cytology in Faculties of Medicine and Nursing, Chiang Mai University Population. Thai J Obstet Gynaecol 2014;22(1):44-51.

Sukvirach S, Smith JS, Tunsakul S, Munoz N, Kesararat V, Opasatian O, et al. Populationbased human papillomavirus prevalence in Lampang and Songkla, Thailand. J Infect Dis 2003;187(8):1246-56.

Swangvaree SS, Kongkaew P, Rugsuj P, Saruk O. Prevalence of high-risk human papillomavirus infection and cytologic result in Thailand. Asian Pac J Cancer Prev 2010;11(6):1465-8.

Kietpeerakool C, Kleebkaow P, Srisomboon J. Human papillomavirus genotype distribution among Thai women with high-grade cervical intraepithelial lesions and invasive cervical cancer: a literature review. Asian Pac J Cancer Prev 2015;16 (13):5153-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-12