https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/issue/feed
พุทธชินราชเวชสาร
2023-01-13T11:38:47+07:00
Nanthiya Tanthachun
tnanthiya@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>พุทธชินราชเวชสาร</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความเกี่ยวกับการแพทย์ แพทยศาสตรศึกษาและสาธารณสุข ได้แก่ รายงานวิจัย รายงานผู้ป่วย บทความปริทัศน์ นวัตกรรมทางการแพทย์ ย่อวารสาร บทความจากการประชุมจดหมายถึงบรรณาธิการ ถามตอบปัญหาและบทความประเภทอื่นที่เหมาะสม</p>
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/259269
เครื่องมือปรับโครงสร้างจมูกและขากรรไกรบน CMU-NAM: รายงานผู้ป่วย
2022-10-12T16:29:06+07:00
ภัทรา ชุนพงษ์ทอง
patthara.gung@gmail.com
<p>ปากแหว่งเพดานโหว่เป็นความผิดปรกติบนใบหน้าที่พบได้ตั้งแต่กำเนิด มีลักษณะเป็นรอยแยกของริมฝีปากและเพดานปาก รักษาได้ด้วยการ ผ่าตัดตกแต่งเย็บปิดรอยแยก การใส่เครื่องมือปรับโครงสร้างจมูกและขา กรรไกรบนก่อนการผ่าตัดแก้ไขริมฝีปากและจมูกทำให้ช่องว่างของริม ฝีปากและสันเหงือกแคบลง รูปจมูกโค้งใกล้เคียงปรกติช่วยให้ทำผ่าตัด ได้ง่ายขึ้น ส่งเสริมให้หลังการผ่าตัดผู้ป่วยมีรูปร่างสันเหงือกและจมูกสมมาตร ใบหน้ามีพัฒนาการเจริญเติบโตได้สวยงามเป็นปรกติ รายงานผู้ ป่วยนี้นำเสนอผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวชนิดสมบูรณ์ 1 คน และปากแหว่งเพดานโหว่ชนิดสมบูรณ์ 2 ข้าง 1 คน ได้รักษาโดยใส่ เครื่องมือปรับโครงสร้างรูปจมูกและขากรรไกรบนด้วย CMU-NAM (Chiang Mai University nasoalveolar molding appliance) ก่อน การผ่าตัดแก้ไขริมฝีปาก ซึ่งพบว่า หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีรูปหน้าใกล้เคียง ปรกติ สรุปได้ว่าการใส่เครื่องมือปรับโครงสร้างรูปจมูกและขากรรไกรบน ชนิด CMU-NAM ก่อนการผ่าตัดแก้ไขริมฝีปากและจมูกทำให้ผู้ป่วย หลังผ่าตัดมีรูปหน้าใกล้เคียงปรกติ</p>
2023-01-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 พุทธชินราชเวชสาร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/258765
The รายงานผู้ป่วย : การดูแลทารกเพดานโหว่ 3 คนที่มีภาวะกลืนลำบากที่มีความซับซ้อน
2022-09-20T11:27:03+07:00
สุพจมาลย์ กิจฉวี
supotjaman@hotmail.com
<p>หลักการรักษาทารกเพดานโหว่คือเพื่อให้ทารกสามารถกินนมทางปาก ดูดกลืนร่วมกับการหายใจได้ปลอดภัยและได้รับนมเพียงพอ การใส่ เพดานเทียมเพื่อปิดช่องเพดานโหว่ส่งเสริมการให้อาหาร ลดการสำลัก และลดเวลาการให้นม เป็นวิธีรักษาที่ใช้อย่างกว้างขวาง แต่มีทารก เพดานโหว่ที่กลืนลำบากแม้ใส่เพดานเทียมซึ่งจำเป็นต้องจัดการอย่าง เหมาะสม บทความนี้นำเสนอวิธีรักษาทารกเพดานโหว่ที่มีภาวะกลืนลำบากอย่างซับซ้อนโดยรายงานทารกเพดานโหว่ของโรงพยาบาลพระ นั่งเกล้าช่วงปี พ.ศ. 2560-2561 ซึ่งกินนมไม่ได้แม้ใส่เพดานเทียม 3 คน รักษาด้วยแผนบำบัดฟื้นฟูการดูดกลืนโดยวิธีนวดลิ้น, กระตุ้นเส้น ประสาท trigeminal และ suck swallowing neuromuscular coordination โดยให้นมทารกในท่านั่ง ให้น้ำนมไหลช้าเป็นจังหวะ ซึ่ง ไม่พบการสูดสำลัก ได้ติดตามผู้ป่วย 1 ปีถึง 1 ปี 9 เดือนพบว่ามีน้ำหนัก เพิ่มตามเกณฑ์ 1 คน ต่ำกว่าเกณฑ์ 1 คน และค่อนข้างน้อย 1 คน ทารก ทุกคนได้รับการนัดผ่าตัดโดยทารกคนที่ 3 ซึ่งเปน็ congenital laryngomalacia, cerebral palsy ทั้งยังเปน็ โรคกรดไหลยอ้ น โรค หลอดลมอักเสบและโรคปอดอักเสบได้รับการผ่าตัดปิดรอยแยกที่ เพดาน ส่วนอีก 2 คนขาดการติดต่อ สรุปได้ว่าการร่วมวิเคราะห์โดยทีม สหวิชาชีพเพื่อหาสาเหตุการกลืนลำบากที่ถูกต้องนำไปสู่การจัดการที่ เหมาะสม ทารกเพดานโหว่ไม่ต้องใส่สายให้อาหารทั้งทางปากและหน้า ท้อง สามารถกลับไปดูแลที่บ้านได้ เติบโตมีน้ำหนักเพียงพอที่จะได้รับ การผ่าตัดปิดรอยโหว่ที่เพดานปาก</p>
2023-01-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 พุทธชินราชเวชสาร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/259391
การพัฒนารูปแบบการจัดการโควิด-19ในเรือนจำ
2022-11-02T11:51:02+07:00
จักริน สมบูรณ์จันทร์
sjukrin@hotmail.com
<p>เรือนจำมีความเสี่ยงสูงต่อการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากมีผู้ต้องขัง อยู่หนาแน่น การวิจัยแบบศึกษาข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลังจากเวชระเบียน แล้วเก็บข้อมูลใหม่ไปข้างหน้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการ พัฒนารูปแบบการจัดการโควิด-19 ในเรือนจำแห่งหนึ่งในจังหวัด พิษณุโลกระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ด้วย multiple logistic regression และ McNemar test พบการระบาดโควิด-19 รอบแรก (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2565) 2,146 คนจากผู้ต้องขัง 2,540 คน (ร้อยละ 84.5) รอบที่สอง (ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565) 1,745 คนจากผู้ต้องขัง 2,692 คน (ร้อยละ 64.8) พบปอด อักเสบลดลงจากร้อยละ 10 ในการระบาดรอบแรกเป็นร้อยละ 0.3 ในการ ระบาดรอบที่สอง โดยการจัดพื้นที่ลดการระบาดของโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและความเสี่ยงส่วนบุคคล (กลุ่ม 608) เพิ่มความรุนแรง ของโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งการระบาดและความ รุนแรงของโควิด-19 ลดลงหลังการพัฒนารูปแบบการจัดการโควิด-19 ในเรือนจำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าการจัดการโควิด-19 ใน เรือนจำต้องเน้นที่การจัดพื้นที่ร่วมกับการจำแนกกลุ่มที่มีความเสี่ยงส่วน บุคคลให้ได้รับการดูแลที่รวดเร็ว ใกล้ชิด และได้รับยาต้านไวรัสอย่าง เหมาะสมเพื่อลดการระบาดของโควิด-19 ในเรือนจำและเพื่อให้ผู้ต้องขัง ปลอดภัยจากโควิด-19</p>
2023-01-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 พุทธชินราชเวชสาร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/258668
การพัฒนารูปแบบการคัดกรองไวรัสตับอักเสบซี โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
2022-11-28T17:22:54+07:00
ธีรพจน์ ฟักน้อย
theeraphot@hotmail.com
<p>การคัดกรองเพื่อค้นหาไวรัสตับอักเสบซีนั้นช่วยลดการแพร่ กระจายเชื้อและอันตรายที่เกิดขึ้น การวิจัยและพัฒนานี้มี 3 ระยะมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการ คัดกรองไวรัสตับอักเสบซีโดย อสม. ประเมินความรู้ การดำเนิน การ และความพึงพอใจต่อการ ตรวจคัดกรองของ อสม. เปรียบ เทียบความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสตับ อักเสบซีและความพึงพอใจต่อการ รับบริการของประชาชนระหว่างการ รับบริการโดย อสม. กับโดยเจ้า หน้าที่สาธารณสุขศึกษาใน อสม. กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกลุ่มละ 66 คน และประชาชนผู้รับการตรวจ คัดกรองโดย อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกลุ่มละ 440 คน รูปแบบการคัดกรองไวรัสตับอักเสบซี โดย อสม. ประกอบด้วย 1) การ ประชาสัมพันธ์ 2) การเตรียม อุปกรณ์ และ 3) การให้บริการตรวจ วินิจฉัย ทั้งนี้ อสม. ร้อยละ 98.5 มี ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสตับ อักเสบซีในระดับดี, ร้อยละ 63.7 ดำเนินการตรวจคัดกรองในระดับ มาก และร้อยละ 95.5 พึงพอใจต่อ การตรวจคัดกรองในระดับสูง ผล การคัดกรองพบว่าประชาชนผู้รับ บริการตรวจคัดกรองโดย อสม. มี คะแนนเฉลี่ยความรู้ 9.28 ± 2.82 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน) น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการ ตรวจคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งเท่ากับ 9.89 ± 3.00 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.002) แต่พึงพอใจต่อการได้ รับการตรวจคัดกรองไม่แตกต่างกัน (p = 0.121) ดังนั้น ควรขยายการใช้รูปแบบการคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบซีโดย อสม. ต่อไป</p>
2023-01-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 พุทธชินราชเวชสาร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/259799
อุบัติการณ์ของวัณโรคและปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาในโรงพยาบาลชุมชน
2022-12-07T14:01:57+07:00
สันติ วงศ์ฝั้น
imagine_20@hotmail.com
<p>วัณโรคเป็นปัญหาทางสาธารณสุขหลักของประเทศไทย ข้อมูลปีงบประมาณ 2561-2564 โรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดลำพูนยังพบผู้ ติดเชื้อวัณโรคอย่างต่อเนื่อง การศึกษาแบบย้อนหลังจากฐานข้อมูล โปรแกรมบริหารงานคลินิกวัณโรคระหว่างปีงบประมาณ 2561-2564 ใน โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำพูนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอุบัติ การณ์ของวัณโรคและปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาวัณโรคในโรงพยาบาล ชุมชน ข้อมูลผู้ป่วยประกอบด้วยเพศ อายุ ที่อยู่ โรงพยาบาลที่ขึ้น ทะเบียนรักษา ชนิดของวัณโรค ผลตรวจย้อมเอเอฟบี ผลการตรวจเอช ไอวี โรคประจำตัว ประวัติการเป็นวัณโรคและผลการรักษาวัณโรค วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาด้วยการถดถอยโลจิสติกทวิที่ช่วง ความเชื่อมั่นระดับร้อยละ 95 กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบ อุบัติการณ์การเกิดวัณโรคในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำพูน 58.5, 64.3, 47.8 และ 53.2 ต่อแสนประชากรผู้ป่วยวัณโรคทั้งหมด 644 คน ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติได้แก่อายุ 15-34 ปี อายุ 35-54 ปี และอายุ 55-74 ปี ปัจจัยที่มีผลต่อการตายอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ 15-34 ปี อายุ 35-54 ปี อายุ 55-74 ปี และ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วม โดยผู้ป่วยวัณโรคที่อายุน้อยมีโอกาส รักษาสำเร็จมากกว่าผู้ป่วยวัณโรคสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นวัณโรคมาก่อนและมีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมมีโอกาสรักษาสำเร็จลดลง สรุปได้ว่า ผู้ป่วยวัณโรคที่อายุมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่อายุ75 ปีขึ้นไป มีประวัติ เป็นวัณโรคมาก่อน และเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมมีโอกาสที่ผลการ รักษาไม่สำเร็จและมีโอกาสเสียชีวิตได้</p>
2023-01-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 พุทธชินราชเวชสาร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/259857
การพัฒนาระบบการพยาบาลเจ้าของไข้ ห้องผู้ป่วยหนักแผนกกุมารเวชกรรม
2022-12-14T10:18:32+07:00
สุมิตรา โพธิ์ปาน
Sbothipan@hotmail.com
กมลชนก มากมา
nomail@helplis.org
วิธศมน วุฒิศิรินุกูล
nomail@helplis.org
อัญชลี อินทะเสน
nomail@helplis.org
<p>ผู้ป่วยหนักทารกและเด็กต้องได้รับบริการพยาบาลที่มีคุณภาพมากที่สุด การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและ ประเมินประสิทธิผลของระบบการพยาบาลเจ้าของไข้ ห้องผู้ป่วยหนัก แผนกกุมารเวชกรรม ผู้ร่วมวิจัยคือพยาบาลวิชาชีพในห้องผู้ป่วยหนัก แผนกกุมารเวชกรรม 45 คน การวิจัยมี 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์ปัญหา และวางแผน 2) ลงมือปฏิบัติและสังเกตการณ์ 3) สะท้อนผล รวมเวลา 7 เดือน ผลการศึกษาได้ระบบการพยาบาลเจ้าของไข้ห้องผู้ป่วยหนัก แผนกกุมารเวชกรรม หรือ "the PN2CF system" ประกอบด้วย P (primary nurses), N (nursing process and nursing care plan), C (CNPG), C (chief nurse and buddy) และ F (family center care) หลังนำระบบการพยาบาลฯ มาใชพ้ บวา่ ใหผ้ ลลัพธท์ ี่ดี ดังนี้ ดา้ นผูใ้ ชบ้ ริการพบวา่ อัตราการเสียชีวิต, อัตราการเกิด VAP, อัตราการเกิด CLABSI, อัตราการเกิด ROP stage 3, อัตราการเกิด IVH, อัตราการเกิดภาวะ septic shock, อัตราการเกิดภาวะ respiratory failureจาก pneumonia ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) อีกทั้งความพึงพอใจของครอบครัวพบว่าอัตราการได้รับนมมารดาและ อัตราการเฝ้าของครอบครัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)<br />ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ ความรู้ของพยาบาล การปฏิบัติบทบาทพยาบาลเจ้าของไข้ การใช้กระบวนการพยาบาลและความพึงพอใจต่อระบบฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ด้านองค์กรพบว่าจำนวน วันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) จึง ควรนำระบบนี้มาใช้ในห้องผู้ป่วยหนักแผนกกุมารเวชกรรมต่อไป</p>
2023-01-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 พุทธชินราชเวชสาร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/258341
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
2022-10-05T18:07:28+07:00
อนัญญา คูอาริยะกุล
ืnomail@helplis.org
กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร
nomail@helplis.org
ดวงกมล ภูนวล
duang66@hotmail.com
ชมภู่ บุญไทย
nomail@helplis.org
ศรันย์ ปองนิมิตรพร
nomail@helplis.org
<p>ข้อมูลการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังสามารถนำมาวางแผนปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูงได้ การวิจัยเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ตนเองในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังโดยศึกษาผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงตามเกณฑ์ที่กำหนดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลป่า เซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 186 คนด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการ ศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ศึกษามีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ในการป้องกันการเกิด โรคไตเรื้อรังภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ตนเองในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังภาพรวมอยู่ในระดับดี ในภาพ รวมการรับรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในการป้องกันโรคไตเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ได้ว่าผู้ป่วยที่รับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค รับรู้ความรุนแรงของโรค และรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติตัวจะมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ในการป้องกันโรคไตเรื้อรังดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเชิงลึกถึงปัจจัย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง</p>
2023-01-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 พุทธชินราชเวชสาร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/259699
ผลของโปรแกรมส่งเสริมการให้ธาตุเหล็กต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6 เดือน
2022-11-09T19:42:31+07:00
อุบลรัตน์ จันทนะโพธิ
ubonrut_14@outlook.com
เชาวกิจ ศรีเมืองวงศ์
ืnomail@helplis.org
วิโรจน์ วรรณภิระ
nomail@helplis.org
สิริพรรณ ธีระกาญจน์
nomail@helplis.org
<p>ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปีเป็น ปัญหาที่พบได้บ่อยในประเทศไทยและทั่วโลก การวิจัยแบบกึ่งทดลอง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมส่งเสริมการให้ธาตุ เหล็กต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก อายุ 6 เดือนที่มารับบริการที่คลินิกเด็กดี ศูนย์สุขภาพเมือง โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ในกลุ่มตัวอย่าง 56 คน (กลุ่มศึกษาและกลุ่ม ควบคุมกลุ่มละ 28 คน) กลุ่มศึกษาได้รับโปรแกรมส่งเสริมการให้ธาตุ เหล็ก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำแบบปกติ ศึกษาระดับการมีส่วน ร่วมของผู้ปกครอง, ระดับฮีมาโตคริต และภาวะโลหิตจางของเด็ก เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Chi-square, Mann-Whitney U และ Independent-t ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มศึกษามีจำนวนผู้ปกครอง ที่มีส่วนร่วมระดับมากมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.011) เด็กในกลุ่มศึกษามีระดับฮีมาโตคริตสูงกว่าในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.027) สรุปได้ว่าโปรแกรมส่งเสริมการ ให้ธาตุเหล็กช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, เพิ่มระดับฮีมาโตคริต และฮีโมโกลบินในเด็ก รวมทั้งลดจำนวนเด็กอายุ 6 เดือนที่มีภาวะโลหิต จาง</p>
2023-01-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 พุทธชินราชเวชสาร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/261085
บรรณาธิการแถลง
2023-01-12T10:14:26+07:00
นันทิยา ตัณฑชุณห์
tnanthiya@gmail.com
<p>no abstract</p>
2023-01-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023