พุทธชินราชเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ <p><strong>พุทธชินราชเวชสาร</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความเกี่ยวกับการแพทย์ แพทยศาสตรศึกษาและสาธารณสุข ได้แก่ รายงานวิจัย รายงานผู้ป่วย บทความปริทัศน์ นวัตกรรมทางการแพทย์ ย่อวารสาร บทความจากการประชุมจดหมายถึงบรรณาธิการ ถามตอบปัญหาและบทความประเภทอื่นที่เหมาะสม</p> <p style="text-align: justify;"><em><strong>ISSN 3027-8074 (Print)</strong></em></p> <p style="text-align: justify;"><em><strong>ISSN 3027-8953 (Online)</strong></em></p> <p style="text-align: justify;"><em><strong>#การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ลงพุทธชินราขเวชสาร จะต้องส่งผ่านระบบ ThaiJO เท่านั้น#</strong></em></p> Buddhachinaraj Medical Journal th-TH พุทธชินราชเวชสาร 3027-8074 ความรุนแรงของโรค แรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดและการเผชิญ ความเครียดของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/270221 <p>โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสุขภาพทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขระดับโลก การศึกษาแบบพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคและ<br />แรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของ สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาใน 24- 72 ชั่วโมงแรก ณ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก กำหนดขนาด ตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*POWER จำนวน 128 คน โดยศึกษาในผู้ที่มา เยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล 24-72 ชั่วโมงแรกทุกราย<br />ที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 และหอผู้ป่วย อายุรกรรมหญิง 2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษานี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเครียด แบบวัดการเผชิญ ความเครียด แบบวัดแรงสนับสนุน ทางสังคม และการประเมินทางระบบ ประสาท นำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่และค่าร้อยละ ศึกษาความสัมพันธ์ ด้วยสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า ความรุนแรงของโรคไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการเผชิญ ความเครียดของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แรง สนับสนุนทางสังคมก็ไม่มีความสัมพันธ์กับการเผชิญความเครียด แต่พบ ว่าแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดของ สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประกอบการจัดทำแนวทางสำหรับพยาบาลในการส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมแก่สมาชิกครอบครัวผู้ ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อลดความเครียดได้</p> กุลวลี สนธิเกษตริน ดวงพร ปิยะคง ขวัญแก้ว วงษ์เจริญ Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 116 126 ความเกี่ยวข้องระหว่างการออกกำลังกายกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/270383 <p>ในปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์มาก ทำให้มีเวลาในการนอนหลับพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมลดลง คุณภาพชีวิตที่ไม่ดีจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานในโรงพยาบาล การวิจัยภาคตัดขวาง ณ เวลาหนึ่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกของการออกกำลังกายในบุคลากรทางการแพทย์และประเมินความเกี่ยวข้องระหว่างการออกกำลังกายกับคุณภาพชีวิต โดยศึกษาในบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 โดยใช้แบบสอบถามประเมินการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมคือออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์และประเมินคุณภาพชีวิตด้วยแบบสอบถาม SF-36 ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรทางการแพทย์ 452 คนมีความชุกของการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมร้อยละ 19.9 แพทย์ออกกำลังกายเหมาะสมมากกว่าพยาบาลและเภสัชกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 11.1, 7.7 และ 1.1 ตามลำดับ, p &lt; 0.001) ไม่พบนักเทคนิคการแพทย์และนักกายภาพบำบัดที่ออกกำลังกายเหมาะสม บุคลากรทางการแพทย์ที่ออกกำลังกายเหมาะสมมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ออกกำลังกายไม่เพียงพอและไม่ออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) สรุปได้ว่าบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากยังขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอต่อสุขภาพ การออกกำลังกายเหมาะสมเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ</p> จีริสุดา ศรีแก้ว Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 127 135 ประสิทธิผลของออกซิโทซิน คาร์เบโทซิน และออกซิโทซินร่วมกับไมโซพรอสทอล ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการคลอดทางช่องคลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/272110 <p>ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกเป็นยามาตรฐานสำหรับป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด มีวิธีบริหารจัดการประสิทธิผลและผลข้างเคียงของยาที่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของออกซิโทซินร่วมกับไมโซพรอสทอล ออกซิโทซิน และคาร์เบโทซินในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการคลอดทางช่องคลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและศึกษาผลข้างเคียงของยาด้วยการวิจัยแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมโดยเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ศึกษาในสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวที่คลอดทางช่องคลอดและมีภาวะโลหิตจาง 324 ราย สุ่มเปรียบเทียบ 3 กลุ่ม กลุ่มละ 108 ราย ได้แก่ กลุ่มออกซิโทซินร่วมกับไมโซพรอสทอล กลุ่มออกซิโทซิน และกลุ่มคาร์เบโทซิน โดยพบปริมาณการเสียเลือดตั้งแต่เริ่มทำคลอดจนเสร็จสิ้นการคลอดมากกว่า/เท่ากับ 500 มิลลิลิตร 1 ราย, 10 ราย และ 2 รายตามลำดับ (p = 0.003) ส่วนผลข้างเคียงของยาพบอาการไข้ 27 ราย, 11 ราย และ 14 รายตามลำดับ (p = 0.007) และอาการขมปาก 26 ราย, 2 รายและ 1 ราย ตามลำดับ (p &lt; 0.001) สรุปได้ว่าออกซิโทซินร่วมกับไมโซพรอสทอลมีประสิทธิผลช่วยลดปริมาณการเสียเลือดหลังคลอดทางช่องคลอดในสตรีที่มีภาวะโลหิตจาง แต่มีอาการข้างเคียงคืออาการไข้และขมปาก</p> ชัยกิจ อุดแน่น Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 136 148 ปัจจัยทำนายภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/270118 <p>โรคหลอดเลือดสมองเป็นการเจ็บป่วยที่การทำหน้าที่ต่างๆ เสื่อมลง ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง ผู้ดูแลต้องใช้เวลาและพลังงานในการดูแลอย่างต่อเนื่อง เกิดผลกระทบต่อด้านร่างกาย จิตใจ การดำเนินชีวิตและสูญเสียรายได้ในครอบครัว เกิดภาระในการดูแล การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยทำนายภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประกอบด้วยเศรษฐกิจของผู้ดูแล ระยะเวลาในการดูแลต่อวัน ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และแรงสนับสนุนทางสังคม ศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง 100 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบคัดกรองอาสาสมัคร แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินภาระในการดูแลของผู้ดูแลฯ นำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติการถดถอยพหุคูณเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่าภาระการดูแลของผู้ดูแลฯ อยู่ในระดับน้อย โดยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย (<em>β </em>= -0.581, p &lt; 0.001) และแรงสนับสนุนทางสังคม (<em>β</em> = -0.189, p = 0.019) มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาระการดูแล ซึ่งมีความแปรปรวนร้อยละ 38.6 (adjusted R<sup>2</sup> = 0.386, p &lt; 0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนให้การพยาบาลโดยการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยและการเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมเพื่อลดหรือป้องกันภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้</p> ปัญญาพร เพชรเอือง ดวงพร ปิยะคง Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 149 160 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/269844 <p>ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบบ่อย เพิ่มการใช้ทรัพยากรในการดูแลรักษามากกว่าเด็กปกติ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในระยะยาว การศึกษาย้อนหลังแบบวิเคราะห์ชนิดมีกลุ่มเปรียบเทียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย โดยศึกษาในมารดาและทารกที่คลอดในโรงพยาบาลวังทองระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 กลุ่มทดลองเป็นทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัมทั้งหมดที่เข้าเกณฑ์การศึกษา 77 คนและกลุ่มควบคุมคือทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่าหรือเท่ากับ 2,500 กรัม 231 คน วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยด้วย multiple logistic regression analysis นำเสนอเป็นค่า adjusted odds ratio (adj OR) และช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% CI) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่าปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ได้แก่ คลอดก่อนกำหนด อายุมารดามากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี ประวัติคลอดทารกน้ำหนักน้อยในครรภ์ก่อน และมารดามีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ การเฝ้าระวัง ให้ความรู้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ การส่งต่อประสานข้อมูลกับแผนกสูติกรรมและเครือข่ายฝากครรภ์คุณภาพ รวมทั้งการพัฒนาระบบคัดกรอง ประเมินและค้นหาปัจจัยเสี่ยงจะช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย</p> พัชรินทร์ เรืองธุวกุล Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 161 172 ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลตติยภูมิ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/270700 <p>วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก การตรวจคัดกรองบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงเพื่อวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (Latent Tuberculosis Infection: LTBI) เป็นหนึ่งในมาตรการยุติวัณโรคขององค์การอนามัยโลก การตรวจวินิจฉัยด้วย Interferon-gamma release assays (IGRAs) มีข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่ายและห้องตรวจปฏิบัติการ การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงช่วยให้การค้นหาและคัดกรองบุคลากรก่อนส่งตรวจวินิจฉัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษาย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกโรงพยาบาลตติยภูมิในจังหวัดพิษณุโลกระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 จำนวน 512 ราย พบบุคลากรมีผลตรวจ IGRAs เป็นบวก 94 ราย (18.4%) และผลตรวจ IGRAs เป็นลบ 418 ราย (81.6%) ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงที่สำคัญ ได้แก่ เพศหญิง (mOR 5.8; 95%CI: 1.4-24.2) อายุ 31-40 ปี (mOR 4.5; 95%CI: 1.7-12.1) อายุ 41-50 ปี (mOR 7.4; 95%CI: 2.2-24.5) อายุมากกว่า 50 ปี (mOR 6.0; 95%CI: 1.4-26.4) ปฏิบัติงานแผนกหอผู้ป่วยใน (mOR 4.0; 95%CI: 1.8-8.6) สรุปได้ว่าการคัดกรองบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงของการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงหากมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ บุคลากรเพศหญิง อายุมากกว่า 30 ปี และปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยในเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่ควรได้รับการพิจารณาให้ส่งตรวจ IGRAs เป็นอันดับต้นๆ</p> ภูมินทร์ พรหมรัตนกุล Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 173 183 ความเกี่ยวข้องระหว่างบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงและบรรยากาศองค์การกับ การคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพใหม่ในโรงพยาบาลศูนย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/270565 <p> การคงอยู่ในงานของพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารต้องส่งเสริมเพื่อธำรงรักษาบุคลากรไว้ในองค์การ การวิจัยแบบวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการรับรู้บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง บรรยากาศองค์การ และการคงอยู่ในงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงกับการคงอยู่ในงาน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพใหม่ในโรงพยาบาลศูนย์ ศึกษาในพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุงานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป-5 ปีจำนวน 224 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม 3 ชุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก ค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บรรยากาศองค์การภาพรวมอยู่ในระดับสูง ค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การคงอยู่ในงานภาพรวมอยู่ในระดับสูง บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการคงอยู่ในงานในระดับปานกลาง (r = 0.494, p &lt; 0.001) และบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการคงอยู่ในงานในระดับปานกลาง (r = 0.639, p &lt; 0.001) ผู้บริหารทางการพยาบาลควรใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการส่งเสริมบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงและบรรยากาศองค์การให้เหมาะสมแก่บริบทของแต่ละองค์การต่อไป</p> วิธศมน วุฒิศิรินุกูล จิรรัตน์ หรือตระกูล รุ่งทิวา บุญประคม Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 184 198 อาการและความรุนแรงของโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น ระหว่างสายพันธ์ุโอไมครอนกับสายพันธ์ุเดลต้า https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/270642 <p>ปัจจุบันไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอไมครอนเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาด การศึกษาแบบวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการและความรุนแรงของโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นระหว่างสายพันธุ์โอไมครอนกับเดลต้า โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 18 ปีที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 และรับการรักษาผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และ 1 มกราคมถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นช่วงสายพันธุ์เดลต้าและไอไมครอนเป็นสายพันธุ์หลักตามลำดับ โดยมีจำนวนกลุ่มละ 75 ราย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่า มีไข้ 0.58 เท่า (Adj RR = 0.58, 95% CI: 0.34-0.97) เจ็บคอ 2.96 เท่า (Adj RR = 2.96, 95% CI: 1.20-7.32) ไม่มีอาการและอาการแสดง 2.23 เท่า (Adj RR = 2.23, 95% CI: 1.05-4.89) ปอดอักเสบ 0.15 เท่า (Adj RR = 0.15, 95% CI: 0.03-0.77) และมีความรุนแรงโรคระดับปานกลางถึงรุนแรงเป็น 0.21 เท่า (Adj RR = 0.21, 95% CI: 0.05-0.80) สรุปได้ว่าผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและพบการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่าสายพันธุ์เดลต้า</p> ทรงเกียรติ อุดมพรวัฒนะ สุวริทธิ์ สุวรรณโห Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 199 209 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้เท่าทันสื่อของพยาบาลวิชาชีพเจนเนอร์เรชั่นแซด ในโรงพยาบาลศูนย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/270610 <p>พยาบาลวิชาชีพใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการทำงานทั้งด้านบริหาร ด้านบริการ และด้านวิชาการ แต่พบว่าใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทางที่ไม่เหมาะสมทั้งด้านการเข้าถึงสื่อ การเลือกใช้สื่อที่ขาดความน่าเชื่อถือ ขาดการประเมินค่าสื่อ และการสร้างสื่อที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการร้องเรียนฟ้องร้อง เสียหายทั้งส่วนตัวและองค์กร โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่นแซดซึ่งเป็นกลุ่มที่สื่อสารแบบสังคมออนไลน์มากที่สุด การวิจัยเชิงพยากรณ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการรู้เท่าทันสื่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้เท่าทันสื่อของพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่นแซดในโรงพยาบาลศูนย์ โดยศึกษาในพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่นแซด 174 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ แบบสอบถามการรู้เท่าทันสื่อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ซึ่งพบว่าระดับการรู้เท่าทันสื่อโดยรวมของพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่นแซดอยู่ในระดับมาก ปัจจัยภายในบุคคล ได้แก่ การเลือกเปิดรับสื่อ การคิดวิจารณญาณ และปัจจัยสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการรู้เท่าทันสื่อของพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่นแซดร้อยละ 58.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นผู้บริหารสามารถนำผลการวิจัยในประเด็นของการคิดวิจารณญาณ, การเปิดรับสื่อ, ครอบครัวและตัวแบบที่พบว่ามีอิทธิพลต่อการรู้เท่าทันสื่อมาใช้พัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่นแซด</p> อัญชลี อินทะเสน จิรรัตน์ หรือตระกูล Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 210 219 บรรณาธิการแถลง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/273676 <p>no abstract</p> นันทิยา ตัณฑชุณห์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 115 115 การแก้ไขฟันเขี้ยวบนฝังด้วยการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน : รายงานผู้ป่วย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/269118 <p>ฟันเขี้ยวบนฝังพบได้บ่อย โดยพบอุบัติการณ์ร้อยละ 1-2 พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายสองเท่า พบด้านเพดานและริมฝีปากร้อยละ 85 และ 15 ตามลำดับ แนวทางในการรักษามีตั้งแต่การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดเพื่อติดอุปกรณ์ดึงฟันเขี้ยวฝังขึ้นมา หรือการผ่าเอาฟันเขี้ยวฝังออก รายงานผู้ป่วยฉบับนี้เป็นกรณีศึกษาที่ได้รักษาทางทันตกรรมจัดฟันโดยใช้เครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่นร่วมกับการผ่าตัดเพื่อดึงฟันเขี้ยวบนขวาฝังขึ้นมาในผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 14 ปีที่มีฟันเขี้ยวบนขวาฝังด้านริมฝีปากและมีฟันเขี้ยวน้ำนมขวาคงค้างอยู่ในช่องปาก ผลการรักษาได้ผลสำเร็จที่ดี สามารถดึงฟันเขี้ยวบนขวาฝังขึ้นมาเรียงในตำแหน่งปกติ ฟันเรียงเป็นระเบียบสวยงาม การสบฟันที่ดีและมีเสถียรภาพ ระยะเวลาการรักษา 4 ปีและติดตามระยะการคงสภาพฟัน 1 ปี</p> รัศมีจันทร์ กีรติสุขสกุล Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-06 2024-09-06 41 2 220 238