Journal Information
Editor : Dr. Nanthiya Tanthachun
รายงานวิจัย (Researeh Article) เป็นบทความเกี่ยวกับการรายงานผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยมีโครงสร้างในการเขียนดังนี้ บทคัดย่อแบบไม่มีโครงสร้างทั้งภาษาไทยและอังกฤษพร้อมคำสำคัญ (Keywords) 3-5 คำ บทนำระบุวัตถุประสงค์ที่ส่วนท้ายวัสดุและวิธีการ ผลการศึกษา วิจารณ์ (สรุปเป็นย่อหน้าสุดท้าย) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
รายงานผู้ป่วย (Case Report) เป็นรายงานของผู้ป่วยที่น่าสนใจหรือภาวะที่ไม่ธรรมดา หรือที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่ที่ไม่เคยรายงานมาก่อนหรือพบไม่บ่อย ไม่ควรกล่าวถึงรายละเอียดของผู้ป่วยในภาวะนั้นๆ เกิน 3 ราย โดยแสดงถึงความสำคัญของภาวะที่ผิดปกติ การวินิจฉัยและการรักษา รายงานผู้ป่วย มีลำดับโครงสร้าง ดังนี้ บทคัดย่อแบบไม่มีโครงสร้างทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมคำสำคัญ (keywords) 3-5 คำ บทนำ รายงาน (พรรณนา) ผู้ป่วยวิจารณ์อาการทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเสนอความเห็นอย่างมีขอบเขต สรุป กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง ถ้าจะแสดงรูปภาพต้องแสดงเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ และได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้รับผิดชอบ
บทความฟื้นวิชา (Review Article) เป็นการศึกษาและรวบรวมความรู้ทางวิชาการจากวารสารหรือหนังสือต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความรู้ใหม่ สิ่งตรวจพบใหม่ๆ ที่น่าสนใจที่ผู้อ่านนำไประยุกต์ใช้ได้ เป็นบทความวิเคราะห์โรค การรักษา หรือวิจารณ์สถานการณ์การเกิดโรค โดยมีลำดับโครงสร้าง ดังนี้ บทคัดย่อแบบไม่มีโครงสร้างทั้งภาษาไทยและอังกฤษพร้อมคำสำคัญ (Keywords) 3-5 คำ บทนำ กล่าวถึงสิ่งที่รู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น สิ่งที่ยังไม่รู้และเหตุผลที่ต้องทบทวนศึกษาในประเด็นต่างๆ โดยระบุวัตถุประสงค์ ลำดับกานำเสนอ ประโยชน์ความคาดหวังของผู้เขียนด้วย สำหรับเนื้อหากล่าวถึงประเด็นต่างๆ ที่ได้ทบทวนและแสดงความคิดเห็นด้วย โดยเรียงลำดับตามที่เกริ่นไว้ในบทนำ อาจลำดับตามเวลาและเหตุการณ์ หรือลำดับจากลักษณะทั่วไปสู่ลักษณะเฉพาะหรือจากพบได้บ่อยสู่พบได้น้อย โดยสรุปเนื้อหาแต่ละประเด็นเชื่อมโยงสู่ประเด็นต่อๆ ไป วิจารณ์อภิปรายข้อมูลที่ได้ทบทวน แสดงข้อคิดเห็น เสนอข้อยุติและสรุป กิตติกรรมประกาศ (หากมี) และเอกสารอ้างอิง
บทความพิเศษ (Special Article) เป็นบทความกึ่งฟื้นวิชาที่ไม่สมบูรณ์พอที่จะบรรจุเป็นเป็นบทความชนิดใดชนิดหนึ่งหรือเป็นบทความที่แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจของมวลชน
จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to Editor) หรือจดหมายโต้ตอบ (Correspondence) เป็นเวทีใช้ติดต่อตอบโต้ระหว่างนักวิชาการ ผู้อ่านกับเจ้าของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารในกรณีที่ผู้อ่านมีข้อคิดเห็นแตกต่าง ต้องการชี้ให้เห็นความไม่สมบูรณ์หรือข้อผิดพลาดของบทความ บางครั้งบรรณาธิการอาจวิพากษ์สนับสนุนหรือโต้แย้ง
The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.