การป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ด้วยการใช้รูปแบบ การดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ, การป้องกันแผลกดทับ, การผ่าตัดหัวใจแบบเปิดบทคัดย่อ
แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะวิกฤต การวิจัยแบบวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล การป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดด้วยการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โดยเป็นกลุ่มก่อนใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย แผลกดทับ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม-31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 65 คน และกลุ่มหลังใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม-31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 40 คน และกลุ่มพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย 2 หอ จำนวน 32 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลแผล กดทับ แบบสอบถามพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับแผลกดทับ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในการ ใช้รูปแบบ การดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t-test และ Fisher's Exact test ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ จำนวนการเกิดแผลกดทับลดลงจากร้อยละ 23.1 เหลือร้อยละ 2.5 (p = 0.004) คะแนนเฉลี่ยความรู้ของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับการดูแลแผลกดทับเพิ่มขึ้นจาก 21 คะแนน เป็น 28 คะแนน (p = 0.001) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับในระดับมากทุกด้าน สรุปคือการ ใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับสามารถลดการเกิดแผลกดทับ และพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการดูแลแบบนี้