ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่มารับบริการ ที่โรงพยาบาลแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พรชนก ยี่ลังกา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคพิษสุนัขบ้า, ทัศนคติ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่มารับบริการที่โรงพยาบาลแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่มารับบริการโรงพยาบาลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 161 รายระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  ถึง มีนาคม 2561โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาแล้ว โดยมีค่า IOC = 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและพฤติกรรมสุขภาพด้วยสถิติแบบไคสแคว์ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 50.9 มีสิทธิการรักษาพยาบาลด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 79.5 ลักษณะของการสัมผัสโรคเป็นการถูกกัด ร้อยละ 87.6 ตำแหน่งที่สัมผัสโรคส่วนใหญ่ได้แก่ ตำแหน่งขา ร้อยละ 37.3 สาเหตุมาจากทำให้สัตว์เจ็บปวด ร้อยละ 42.0 สัตว์นำโรคส่วนใหญ่ ได้แก่ สุนัข ร้อยละ 68.9ทัศนคติและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้าต่ำซึ่งมีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสูง ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการวางแผนการดำเนินงาน รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลให้กับเทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรค ความรุนแรง การป้องกันตนเองต่อโรคพิษสุนัขบ้า และการปฏิบัติตัวหลังการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนต่อไป

References

1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศภายในพ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2556
2. กระทรวงสาธารณสุข. เมื่อถูกสุนัขกัดปฏิบัติตัวอย่างไร. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 เม.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://healthydee.moph.go.th /view_article.php?id=505
3. ธวัชชัย กมลธรรม, ปัทมา สุพรรณกุล, วิระวรรณ ถิ่นยืนยง, วัฒนศักดิ์ ศรรุ่ง. ปัญหาและสาเหตุของการตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าของประเทศไทยปี 2546-2552. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2555; 459-466.
4. นครินทร์ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน, ธวัชชัย แซ่เตีย, ตนุ เกสรสิริ. ความเหมาะสมของการจัดการผู้ป่วยเสี่ยงสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index. php/%20SRIMEDJ% 20/article/ view/239910/163619
5. นภักสรณ์ บงจภร, นารถลดา ขันธิกุล, สุรเชษฐ์ อรุโณทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอายุกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สัมผัสสัตว์ที่เสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้าในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา, 2562; 37-46
6. ผาณิต แต่งเกลี้ยง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนไม่ครบตามนัดของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า โรงพยาบาลพรหมคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 23 มิ.ย.2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.promkiri.go.th/detail.php?id=1292558
7. มงคล เกียรติกวินพงศ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่มารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ที่ถูกสุนัขหรือแมวกัด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์ บุรีรัมย์, 2551; 23(2), 759-770.
8. มนัญญา เนินทราย. วันโรคพิษสุนัขบ้าโลก 2012 (World Rabies Day 2012): โรคพิษสุนัขบ้าป้องกันได้.ง่ายนิดเดียว. [อินเตอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bang kokhealth..com/index.php/health/healthsystem/infectious/2210-2012-world-rabies-day-2012.html.
9. วาสนา ตันติรัตนานันท์. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2551.
10. วิเชียร เกตุสิงห์. ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัย การศึกษา, 2538; 18, 8-11.
11. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์ปี 59 รายสัปดาห์ ระบบออนไลน์. [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 19 พ.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe. moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=42
12. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมรายงานผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้ากลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://r36.ddc.moph.go.th/r36/home.
13. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าและคำถามที่พบบ่อย.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี; กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป; 2556
14. สุขุมาล กาฬเนตร, อารยา ประเสริฐชัย, วรางคณา จันทร์คง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการวัคซีนพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2562; 111-122.
15. สุรพงษ โสธนะเสถียร. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม.[อินเตอร์เน็ต]. 2533. [เข้าถึงเมื่อ 26 มิ.ย. 2553] เข้าถึงได้จาก: http://www.novabizz.com/NovaAce/Attitude.htm
16. เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, สหภาพ พูลเกสร, สมคิด คงอยู่, ธีรศักดิ์ ชักนำ, ปณิตา คุ้มผล, ประวิทย์ ชุมเกษียร. บทสรุปทางระบาดวิทยาในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2561.
17. หทัยทิพย์ จุทอง,วาสนา ยกสกูล. การสำรวจความตระหนักรู้สำหรับประชาชนเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เสี่ยง จังหวัดตรัง พัทลุง สงขลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563:81-87
18. หทัยทิพย์ จุทอง,วาสนา ยกสกูล. การวิเคราะห์เชิงพรรณนาข้อมูลระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า 5 มิติ เขตสุขภาพที่ 12 สงขลา พ.ศ. 2561. วารสารสภาการสาธารณสุขปีที่ 2 2563;2(1); 35-41
19. อรพิรุฬห์ สการะเศรณี อรพิรุฬห์ สการะเศรณี, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, ธีระศักดิ์ ชักนำ, ธนวดี จันทร์เทียน, พรรณนาราย สมิตสุวรรณ, นิรันดร จอหอ และคณะ.การสำรวจความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ จากการสอบสวนกรณีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดจันทบุรี ปี 2558. OSIR, 1-8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/08/2021