วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth <p>วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา (Lanna Journal of Health Promotion &amp; Environmental Health) โดยศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งความรู้จากการจัดการความรู้และงานวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสม ทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข โดยเฉพาะประเด็นการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการรับรองคุณภาพโดยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ให้เป็น วารสารกลุ่มที่ 2 (TCI Tier 2) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 256ุ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567</p> <p>สำหรับการรับรองในรอบที่ 5 ระหว่าง พ.ศ.2568-2572 นั้น ทางวารสารได้ส่งข้อมูลเพื่อเข้ารับการประเมินคุณภาพกับทาง TCI เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างรอผล ทั้งนี้ทางศูนย์ TCI จะทำการประกาศผลการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 พ.ศ. 2567-2572 ภายในเดือนมกราคม 2568</p> <p>ISSN: 2822-0471 (Online)</p> <p>ISSN: 2228-9410 (Print)</p> <p> </p> th-TH researchhpc1@gmail.com (แพทย์หญิงสิดาพัณณ์ ยุตบุตร) researchhpc1@gmail.com (นายกฤษณะ จตุรงค์รัศมี) Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) จังหวัดลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/273412 <p>การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) จังหวัดลำปาง เพื่อศึกษาสถานการณ์ และความสัมพันธ์ของปริมาณฝุ่น PM 2.5 กับการเสียชีวิต และจำนวนผู้ป่วยกลุ่มโรคที่เฝ้าระวังผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 จังหวัดลำปาง ได้แก่ กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคผิวหนัง โรคตา โดยใช้ข้อมูลค่าเฉลี่ย PM 2.5 (เฉลี่ย 24 ชม.) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ของกรมควบคุมมลพิษ ข้อมูลการตาย จากฐานข้อมูลมรณบัตร กรมการปกครอง ข้อมูลผู้ป่วยนอกจากหน่วยบริการสาธารณสุข จำแนกตามการวินิจฉัยโรคตามรหัสโรค (ICD-10) เป็นการศึกษาแบบอนุกรมเวลา วิเคราะห์การถดถอยแบบอนุกรมเวลา (Time-series Regression Design) ที่มีการกระจายตัวแบบปัวซองค์ (Poisson Distribution) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับ PM 2.5 รายวัน กับจำนวนเสียชีวิต และจำนวนผู้ป่วย ตามกลุ่มโรค รายวัน โดยพิจารณา Lag time ที่ 0-7 วัน (8) โดย Lag time ที่มี p-value น้อยที่สุดจะเป็นตัวแทน และคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากระดับ PM 2.5 แสดงด้วยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk: RR) การศึกษาพบว่าเมื่อรับสัมผัส PM 2.5 เพิ่มขึ้น 10 µg/m³ มีความเสี่ยงสัมพัทธ์การเสียชีวิตด้วยโรคระบบปอดอุดกั้นเรื้อรัง 1.0053 (95% CI: 1.0021, 1.0085) และการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด 1.0031 (95% CI: 1.0002 1.0060) ส่วนความสัมพันธ์กับการเข้ารับรักษาพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกพบว่าโรคระบบทางเดินหายใจมีความเสี่ยงสูงสุดที่ LAG 0 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.0021 (95% CI: 1.0020 1.0022), โรค COPD ความเสี่ยงสูงสุดที่ Lag 2 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.001861 (95% CI: 1.001442 1.002279), โรคหัวใจขาดเลือดมีความเสี่ยงสูงสุดที่ Lag 1 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.0012 (1.0007 1.0017), โรคหลอดเลือดสมองมีความเสี่ยงสูงสุดที่ Lag 2 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.0022 (1.0016 1.0028), โรคผิวหนังมีความเสี่ยงสูงสุดที่ Lag 2 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.0017 (95% CI: 1.0013 1.0021), โรคตา ความเสี่ยงสูงสุดที่ Lag 0 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.0022 (95% CI: 1.0018 1.0026) ข้อมูลนี้จะเป็นหลักฐานของความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนและปัญหาสุขภาพ อันจะนำไปใช้ในการกำหนดมาตรการคุ้มครองสุขภาพต่อไป</p> สุวิทย์ กาชัย, ชุมพล กาไวย์, วันวิสาข์ ชูจิตร Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/273412 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการใช้แอปพลิเคชันก้าวท้าใจ สำหรับส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/267096 <p>การทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ในสถานประกอบการ พบว่าผู้หญิงมีกิจกรรมทางกายน้อยกว่าผู้ชาย ซึ่งการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอส่งผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัยได้จัดทำแอปพลิเคชันก้าวท้าใจเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ประกอบด้วยทั้งข้อมูลความรอบรู้ การบันทึก การแปลผลกิจกรรมการออกกำลังกายให้มีความหมายที่ประชาชนสามารถเข้าใจง่าย รวมถึงของรางวัลที่เป็นแรงจูงใจให้ประชาชนสนใจในการออกกำลังกายมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แอปพลิเคชันก้าวท้าใจ สำหรับส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานเพศหญิง จำนวน 50 คน มีการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ในการวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามระดับกิจกรรมทางกาย (GPAQ Version2) และทดสอบสมรรถภาพทางกายตามวิธี YMCA Step Test โดยกลุ่มทดลองออกกำลังกายและบันทึกผลในแอปพลิเคชันก้าวท้าใจ กลุ่มควบคุมออกกำลังกายและบันทึกผลลงในสมุดบันทึก เป็นเวลา 8 สัปดาห์ นำข้อมูลจาก GPAQ Version2 มาคำนวณหาค่าการใช้พลังงาน (Metabolic equivalent : MET) ของกิจกรรมทางกาย และค่าอัตราการเต้นของหัวใจหลังการทดสอบYMCA Step Test ทดสอบการกระจายตัวของข้อมูลโดยใช้ Kolmogorov-Smirnov Test พบว่ามีการแจกแจงไม่ปกติ (<em>p</em> &lt; 0.05) จึงใช้สถิติ Wilcoxon Singed Rank Test เปรียบเทียบค่า MET ของกิจกรรมทางกายและค่าอัตราการเต้นของหัวใจก่อนและหลังภายในกลุ่มอาสาสมัคร และใช้ Mann-Whitney U Test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบค่า MET ก่อนและหลังภายในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.05) โดยหลังการได้รับโปรแกรมมีค่า MET เพิ่มขึ้น แต่กลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p </em>&gt; 0.05) สำหรับค่า MET ระหว่างกลุ่มอาสาสมัครมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &gt; 0.05) แต่ค่าอัตราการเต้นของหัวใจหลังการทดสอบ YMCA Step Test มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.05) โดยอาสาสมัครกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจหลังการทดสอบ YMCA Step Test น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า การใช้แอปพลิเคชันก้าวท้าใจในการบันทึกผลการกิจกรรมทางกายช่วยส่งเสริมให้พนักงานบริษัทมีความกระตือรือร้นและมีวินัยในการออกกำลังกาย และส่งเสริมให้มีสมรรถภาพทางกายเพิ่มขึ้น</p> ทิพวรรณ บุญกองรัตน์, ภัทรพร สิทธิเลิศพิศาล Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/267096 Mon, 08 Jan 2024 00:00:00 +0700 ผลการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน ( MOPH ED Triage ) งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/266800 <p>การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้แนวทางคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน หรือ MOPH ED Triage งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน ก่อนและหลังการนิเทศทางคลินิก ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 2 ปีขึ้นไปจำนวน 10 คน ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในระหว่างปีพ.ศ. 2565 จำนวน 600 คน โดยสุ่มเก็บข้อมูลตัวอย่างเดือนละ 50 คน และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในระหว่าง วันที่ 9 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 จำนวน 338 คนโดยใช้สูตรของ Infinite population proportion ของ App N4Studies เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย <br />การนิเทศทางคลินิก และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้ สัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.934 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความถูกต้องของการคัดกรองโดยใช้สถิติ Chi-square test</p> <p><strong> </strong>ผลการศึกษาพบว่า การใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน ผลการคัดกรองมีความถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยยะสำคัญ โดยคัดแยกถูกต้องจากร้อยละ96.00 เป็น 97.04, (c<sup>2</sup>=0.671,df=1,p =0.265)เนื่องจากมีปัจจัยรบกวน เช่นการคาดคะเนการใช้ทรัพยากรผิดพลาด การเข้าถึงล่าช้า ปัญหาการสื่อสารกับผู้มารับบริการ พยาบาลวิชาชีพมีระดับความพึงพอใจ ในการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน ร่วมกับการนิเทศทางคลินิก อยู่ในระดับสูง ( =4.59) จึงควรมีการนิเทศทางคลินิกอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพ การใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน</p> จงรัก ปัญญาพล Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/266800 Thu, 25 Jan 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาโดยความร่วมมือของพยาบาลวิชาชีพ ในแผนกหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำพูน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/267373 <p>การส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาโดยความร่วมมือของพยาบาลวิชาชีพในรูปแบบที่เหมาะสม เป็นแนวทางสำคัญในการช่วยเพิ่มคุณภาพการพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของพยาบาลวิชาชีพ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา และประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา ในแผนกหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในแผนกหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำพูน จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาโดยความร่วมมือของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่า Fisher’s exact probability test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาโดยความร่วมมือของพยาบาลวิชาชีพ พบว่าการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.1 เป็น ร้อยละ 96.3 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.000) และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19)</p> <p> กล่าวได้ว่า การส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาโดยความร่วมมือของพยาบาลวิชาชีพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล</p> ศศิประภา ตันสุวัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/267373 Wed, 21 Feb 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะต่อความรุนแรงของ โรคข้อเข่าเสื่อมและน้ำหนักตัวในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักเกิน โรงพยาบาลลำพูน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/267386 <p>โรคข้อเข่าเสื่อมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการที่ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น การให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักเกิน จะช่วยเสริมสร้างภาวะสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมและน้ำหนักตัวในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักตัวเกิน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงกับผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ที่มารับการรักษาที่ห้องตรวจกระดูกและข้อ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 ถึงกรกฎาคม พ.ศ.2566 แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะ เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม และแบบบันทึกน้ำหนักตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Paired Samples t-test และ Independent samples t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักตัวเกิน หลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรค และน้ำหนักตัวลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่าระดับรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม และค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักเกินในกลุ่มทดลองลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05</p> <p>กล่าวได้ว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้ มีประสิทธิภาพในการลดระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมและมีน้ำหนักตัวในผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น </p> จุฑามาศ อุตรสัก Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/267386 Tue, 05 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ ที่เป็นเบาหวาน ในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลวังชิ้น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/267090 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานและการให้บริการในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลวังชิ้น 2) พัฒนาระบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน 3) ศึกษาผลการใช้ระบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย <br />สหวิชาชีพในโรงพยาบาลวังชิ้น ได้แก่ ผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล แพทย์ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก พยาบาลในคลินิกฝากครรภ์ นักกายภาพบำบัด และนักโภชนาการ โรงพยาบาลวังชิ้น จำนวน 11 คน หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อายุครรภ์ระหว่าง 12–28 สัปดาห์ ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลวังชิ้น ในช่วงระยะเวลาดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 จำนวน 20 คน ดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบทดสอบวัดความรู้ แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง แบบประเมินคุณภาพของระบบ แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขาดความเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพและครอบครัวในการวางแผนการรักษาและดูแลสุขภาพตนเอง หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากขาดความรู้ ความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง ไม่ได้รับคำแนะนำและไม่มีการติดตามหรือสนับสนุนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองจากพยาบาล 2) ระบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1) ปัจจัยนำเข้า: การคัดกรองและวินิจฉัยโรคเพื่อจัดทำฐานข้อมูล (2) กระบวนการ: การวางแผนทางการพยาบาล และปฏิบัติตามคู่มือการดูแลสุขภาพตนเอง 5 ขั้นตอน คือ การประเมินสภาพ การให้คำแนะนำ การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การวางแผนร่วมกัน และการติดตามให้ความช่วยเหลือ (3) การติดตามผลลัพธ์: ติดตามความรู้หญิงตั้งครรภ์ด้านความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (4) การให้ข้อมูลย้อนกลับ: การติดตามทางโทรศัพท์ การเยี่ยมบ้าน การให้ข้อมูลทาง Line Open Chat 3) ผลการใช้ระบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานมีความรู้เรื่องเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองสูงกว่าก่อนใช้ระบบ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หญิงตั้งครรภ์และผู้ให้บริการมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด</p> จารุนิล ไชยพรม Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/267090 Fri, 08 Mar 2024 00:00:00 +0700 การทำนายจำนวนครั้งการดับไฟป่าและพื้นที่เสียหายจากไฟป่า จังหวัดเชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/266524 <p>จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีการเกิดไฟป่าและพื้นที่เสียหายสูงสุดของประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 ถึง 2566 เพื่อประเมินสถานการณ์ในอนาคตจึงนำข้อมูลจำนวนครั้งการดับไฟป่าและพื้นที่เสียหายจากไฟป่ามาทำนายด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เชิงเส้นตรง การวิเคราะห์การถดถอยอนุกรมเวลา และการการพยากรณ์ตามทฤษฎีระบบเกรย์</p> <p> ผลการวิคราะห์ข้อมูลพบว่า ค่าเฉลี่ยพื้นที่เสียหายจากไฟป่าต่อครั้งของการดับไฟโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่า 20 ไร่ต่อครั้ง จำนวนครั้งของการดับไฟป่ากับพื้นที่เสียหายมีสหสัมพันธ์กันสูง (สหสัมพันธ์เพียร์สัน 0.576 สหสัมพันธ์ Spearman's rho 0.645) จำนวนครั้งของการดับไฟป่ามีแนวโน้มลดลง (ความลาดชัน -39.071) พื้นที่เสียหาย (ไร่) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ความลาดชัน 489.85) ไร่ การพยากรณ์ด้วยตัวแบบ GM(1,1) Error Periodic Correction ให้ค่าร้อยละของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) น้อยกว่าร้อยละ 10 ใช้พยากรณ์ได้ดีมีค่าต่ำกว่าตัวแบบ GM(1,1) ทำนายว่าปีงบประมาณ 2567 จะมีการดับไฟป่า 1,145 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 43,966 ไร่ </p> วัฒนา ชยธวัช Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/266524 Mon, 11 Mar 2024 00:00:00 +0700 โมเดลการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในเมืองท่องเที่ยว สุขภาพดีวิถีใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองหัวหิน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/269204 <p>การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นประสบการณ์สำคัญในการพัฒนาการรับมือด้านการท่องเที่ยว <br />ซึ่งการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนเมืองให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีความยืดหยุ่นต่อการรับมือในวิถีใหม่ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของเมืองท่องเที่ยวสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวสุขภาพดี วิถีชีวิตใหม่ เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารปลอดภัยและน้ำบริโภค รวมถึงการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ซึ่งประยุกต์ใช้แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมุ่งเน้นองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ ที่พัก (สถานประกอบกิจการประเภทโรงแรม/ที่พัก) ที่กิน (สถานประกอบกิจการด้านอาหาร ได้แก่ ตลาดสด, ตลาดนัด, ร้านอาหาร และร้านอาหารริมบาทวิถี) ที่เที่ยว (สถานประกอบกิจการประเภทนวด/สปา สถานที่ท่องเที่ยวชายหาด) และระบบสาธารณูปโภค (ตู้น้ำหยอดเหรียญและระบบประปา) ซึ่งใช้เทศบาลเมืองหัวหินเป็นพื้นที่ศึกษา ทำการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 – เดือนกันยายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยมาตรฐานเมืองท่องเที่ยวสุขภาพดี วิถีใหม่ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดในแต่ละองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยว ดำเนินการเก็บข้อมูล 2 วิธี ได้แก่ การประเมินตนเอง (Self-Assessment) ด้วยแบบสำรวจ และการลงพื้นที่สำรวจ โดยดำเนินการ 2 ช่วง คือ ช่วงก่อนปฏิบัติการและช่วงหลังปฏิบัติการ</p> <p>ผลที่ได้พบว่า โมเดลการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในเมืองท่องเที่ยวสุขภาพดี วิถีชีวิตใหม่ <br />มีองค์ประกอบสำคัญที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนทั้งหมด 3 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน <br />มิติที่ 2 การสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและความสะอาด และมิติที่ 3 <br />การจัดการและการตรวจสอบด้านสุขอนามัยและสุขาภิบาลของแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเทศบาลเมืองหัวหินมีความสามารถในการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในเมืองท่องเที่ยวสุขภาพดี วิถีชีวิตใหม่ ตามรูปแบบของโมเดล อยู่ในระดับดี โดยปัจจัยการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขภาพ เป็นปัจจัยที่มีคะแนนต่ำสุดของสถานประกอบกิจการด้านโรงแรม/ที่พัก ปัจจัยสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร เป็นปัจจัยที่มีคะแนนต่ำสุดของสถานประกอบกิจการด้านอาหาร ปัจจัยความปลอดภัยและปัจจัยการสุขาภิบาล เป็นปัจจัยที่มีคะแนนต่ำสุดของสถานประกอบกิจการประเภทนวด/สปาและสถานที่ท่องเที่ยวชายหาด ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยการบำรุงรักษาความสะอาด เป็นปัจจัยที่มีคะแนนต่ำสุดของตู้น้ำดื่ม</p> สมศักดิ์ ศิริวนารังสรรค์ , ชัยเลิศ กิ่งแก้วเจริญชัย , นัชชา ผลพอตน Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/269204 Wed, 20 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร และภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/270012 <p>พระสงฆ์ถือเป็นผู้มีความสำคัญในการสืบทอดพระพุทธศาสนา แต่ยังพบว่าพระสงฆ์มีปัญหา ทางสุขภาพโดยเฉพาะป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือดและภาวะไขมันในเลือดสูงซึ่งสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการฉันภัตตาหารและการมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มชูกำลังและขาดการออกกำลังกาย หากไม่ได้รับการแก้ไขจะกลายเป็นผู้ป่วย รายใหม่ได้ ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร ภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ และศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร และภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทำการวิจัยแบบภาคตัดขวางและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร และภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านรูปแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือ พระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดย ไม่อาศัยความน่าจะเป็น และใช้การสุ่มตามความสะดวก ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการฉันภัตตาหาร และภาวะโภชนาการแบบพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการทดสอบ ไคสแควร์ การทดสอบฟิชเชอร์ และการสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า พระสงฆ์มีพฤติกรรมการฉันภัตตาหารเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.43 <br />ด้านภาวะโภชนาการ พบว่า ส่วนใหญ่มีภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 64.51 (n=200) และภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 35.49 (n=110) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปกับพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร พบว่า จำนวนพรรษา ระดับการศึกษาทางโลกและระดับการศึกษาทางธรรม(แผนกบาลี) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป และภาวะโภชนาการ พบว่า ข้อมูลทั่วไปไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร และภาวะโภชนาการ โดยใช้ค่าดัชนีมวลกายเป็นตัวแทน ของภาวะโภชนาการ พบว่า พฤติกรรมการฉันภัตตาหารไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่</p> เปรมกมล ศิริมงคล, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ , วราภรณ์ บุญเชียง Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/270012 Mon, 20 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/263870 <p>ปัญหาอนามัยแม่และเด็กเป็นปัญหาที่สำคัญโดยเฉพาะการเสียชีวิตของมารดาและทารกที่ยังไม่ลดลงสาเหตุเกิดจากหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในทุกระยะของการตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ารวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ใช้แนวคิดของสติงเกอร์ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และเปรียบเทียบคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็น หญิงไทยตั้งครรภ์ อายุครรภ์ ไม่เกิน 28 สัปดาห์ ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลแหลมสิงห์ จำนวน 30 คน <br />เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ขั้นตอนในการวิจัยประกอบไปด้วย 3 ระยะได้แก่ 1) การพินิจพิเคราะห์สภาพปัญหา <br />2) การออกแบบรูปแบบ 3) การทดสอบรูปแบบในการนำรูปแบบไปใช้และการประเมินผลของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้เป็น แนวคำถามสนทนากลุ่ม ประเด็นการประชุมทีมวิจัย กิจกรรมของรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และ Wilcoxon Signed Rank test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ<br />การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ รูปแบบ P3M ซึ่งประกอบไปด้วย 1) P(Process) คือกระบวนการใน<br />การเตรียมการในการดำเนินงาน 2) M(Method) คือวิธีการในการสร้างรูปแบบและกิจกรรมในรูปแบบ 3) M(Material) คือวัสดุอุปกรณ์ และ M(Man) คือคนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบ เมื่อนำกิจกรรมในรูปแบบไปใช้พบว่า คะแนนความรู้ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองรวม พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านโภชนาการ ด้านกิจกรรมทางกาย ด้านการจัดการกับความเครียด ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ของหญิงตั้งครรภ์หลังการเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value &lt; 0.001 ผลที่ได้จากการวิจัยควรนำรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ รูปแบบ P3M ไปใช้ในการดำเนินงานในหน่วยงานและและพื้นที่อื่นที่มีลักษณะทางประชากรคล้ายคลึง</p> มลิวัลย์ ประสาทไชยพร, จินตนา ใจมั่น, ชัชชญา สร้อยเพชร, นิตยา ทองมา Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/263870 Mon, 20 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของกระบวนการพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพต่อการเตรียมความพร้อมของสามีและญาติในการเฝ้าคลอดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/259171 <p>การตั้งครรภ์และการคลอดบุตรเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ผู้คลอดมีความกลัว วิตกกังวล และความเจ็บปวด การส่งเสริมสนับสนุนให้สามีและญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอด เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้คลอดลดความกลัวและเกิดประสบการณ์ที่ดีต่อการตั้งครรภ์และการคลอด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพต่อการเตรียมความพร้อมของสามีและญาติในการเฝ้าคลอด เก็บข้อมูลในช่วง กรกฎาคม -ธันวาคม 2563 กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ประชากรที่เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการงานห้องคลอดจำนวน 7 คนและพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการที่ต้องหมุนเวียนปฏิบัติงานที่หน่วยงานห้องคลอดทุก 6 เดือนจำนวน 12 คน รวม จำนวน 19 คน กลุ่มที่ 2 สามีและญาติของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ที่ได้ผ่านโรงเรียนพ่อแม่ 2 ครั้งและเข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมของสามีและญาติในการเฝ้าคลอด มาคลอดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ จำนวน 24 คน เครื่องมือประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการสอนการเตรียมความพร้อมของสามีและญาติในการเฝ้าคลอด และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีทั้งหมด 4 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired samples t Test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความรู้และความสามารถในการสอนของพยาบาลหลังการพัฒนาศักยภาพสูงกว่าก่อนพัฒนาศักยภาพ (p &lt; 0.001) คะแนนการรับรู้และความมั่นใจในการดูแลของสามีและญาติในการเฝ้าคลอดหลังการเข้าร่วมกระบวนการของสามีและญาติผู้ดูแลสูงว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการ (p &lt; 0.001) แสดงให้เห็นว่าผลการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้และความสามารถด้านการสอนของพยาบาลวิชาชีพต่อการเตรียมความพร้อมของสามีและญาติในการเฝ้าคลอด มีความสอดคล้องกันนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของพยาบาลวิชาชีพและช่วยเสริมความมั่นใจในการดูแลผู้คลอดให้แก่สามีและญาติได้ ควรนำผลการศึกษานี้ไปปรับใช้กับพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดเพื่อให้การดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ</p> ประดับ สังผลิพันธ์, อุษณี คงขุนเทียน, อำภาพร ผิวอ่อน Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/259171 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับบริการ ในคลินิกสุขภาพผู้ใหญ่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/269930 <p>ทั่วโลกมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงถึงหนึ่งพันล้านคนและคาดการณ์ว่าใน พ.ศ. 2568 จะมีประชากร วัยผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงถึง 1.56 พันล้านคนโดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงประมาณ <br />8 ล้านคน โรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริม<br />และพัฒนาทักษะให้เกิดความรอบรู้ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในคลินิกสุขภาพผู้ใหญ่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบจำนวน 70 คน ได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ที่ประยุกต์จากแนวคิดการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของรศ.ดร.ขวัญเมือง แก้วดำเกิง มีกิจกรรมฝึกทักษะ 5 ด้านได้แก่ ทักษะการเข้าถึง (access) ทักษะการสร้างความเข้าใจ (understand) ทักษะการไต่ถาม (questioning) ทักษะการตัดสินใจ (make decision) และทักษะการนำไปใช้ (apply) โดยการจัดกระบวนการอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามพฤติกรรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะสวนบุคคล ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Paired t-test ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรค ความดันโลหิตสูงสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิต ซีสโตลิกและไดแอสโตลิกต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น จากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ช่วยให้กลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมการป้องกันโรคเพิ่มขึ้นและระดับความดันโลหิตลดลง</p> วรรณิษา วิริยสกุลทอง, ปัทมา น้ำจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/269930 Wed, 07 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/269253 <p>ปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM<sub>2.5 </sub>ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอชายแดนซึ่งประสบปัญหาหมอกควันข้ามแดน การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM<sub>2.5</sub> ของ อสม.พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM<sub>2.5</sub> ของ อสม. และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ ระยะที่ 2 พัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และ ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณในกลุ่มตัวอย่างที่เป็น อสม. จำนวน 60 คน และประชาชนกลุ่มเสี่ยง 60 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประธาน อสม. และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวม 50 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน Paired t-test กับ Pearson correlation วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของ อสม. อยู่ในระดับมาก</li> <li>ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของ อสม. มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>การพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของ อสม. พบว่า ก่อนการพัฒนาความรอบรู้อยู่ในระดับมาก หลังพัฒนามีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</li> <li>ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ก่อนและหลัง อสม.ที่ผ่านการพัฒนาฯ ลงเยี่ยม พบว่า ก่อน อสม.เยี่ยม ความรอบรู้อยู่ในระดับปานกลาง หลัง อสม.เยี่ยม ความรอบรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยความรอบรู้ก่อนและหลัง อสม.เยี่ยม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</li> <li>รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของ อสม. มีองค์ประกอบ คือ <em>1) <u>ด้านปัจจัย</u></em> ได้แก่ ปัจจัยภายนอก เช่น ด้านนโยบาย เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และปัจจัยภายใน คือ ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล และการตัดสินใจข้อมูล <em>2) <u>ด้านกระบวนการ</u></em> ได้แก่ การหาความรอบรู้ การสร้างคู่มือพัฒนาความรอบรู้ การประเมินช่องว่างความรอบรู้ การพัฒนาความรอบรู้ และการประเมินผลการพัฒนา <em>3) <u>ด้านผลลัพธ์ที่คาดหวัง</u></em> ได้แก่ ความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพของ อสม. และความรอบรู้ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ในด้านความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเที่ยงตรงอยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> สยามราชย์ ฟูเจริญกัลยา Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/269253 Thu, 08 Aug 2024 00:00:00 +0700 The การประเมินการใช้งานแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุ Blue Book Application ในเขตสุขภาพที่ 1 ปี 2566 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/270500 <p>กรมอนามัยได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้า เพื่อให้บริการเก็บข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยผู้ใช้งานสามารถเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาโรค และการตรวจสุขภาพ สำหรับบันทึกสุขภาพที่ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขสามารถเข้าถึงได้ ทำให้การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเชิงรุกครอบคลุมและมีคุณภาพ</p> <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเป็นเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งาน ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจ ของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุ ในเขตสุขภาพที่ 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และกลุ่มเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 726 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ผ่านระบบออนไลน์มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วงคะแนน 0.60 -1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณณาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวน กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 88.43 มีอายุเฉลี่ย 59.50 ปี (S.D=12.46) การศึกษาระดับปริญญาตรี/อนุปริญญา ร้อยละ 49.31 มีพฤติกรรมการใช้งานโดยรู้จักแอพพลิเคชั่นผ่านช่องทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนะนำ และมีความถี่ในการใช้งานแอพพลิเคชั่น เดือนละ 1 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจการใช้งานแอพพลิเคชั่นฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า กลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการใช้งานของแอพพลิเคชั่น อยู่ในระดับปานกลาง (3.28 ± 0.95 , 3.25 ± 0.92, 3.23 ± 0.89 และ 3.06 ± 0.92 ตามลำดับ) ด้านประสิทธิผลของการใช้งาน พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีความคิดเห็นในระดับมาก (3.59 ± 0.77, 3.80 ± 0.84, 3.52 ± 0.83 และ <br />3.50 ± 0.86 ตามลำดับ) ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน พบกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข <br />มีความคิดเห็นระดับมาก (3.52 ± 0.91, 3.72± 0.84 และ 3.44 ± 0.86 ตามลำดับ) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยด้านความคิดเห็นต่อประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน</p> <p> จากผลการศึกษาควรมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุให้ตอบสนองต่อการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้งานได้ทุกกลุ่ม เพื่อให้สามารถนำข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุมาประยุกต์ในการใช้งานได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับกลุ่มผู้ใช้งานในแต่ละภาคส่วน โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ</p> อังศุมาลิน บัวแก้ว, ณษิดา จันต๊ะมา Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/270500 Tue, 13 Aug 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการกระตุ้นน้ำนม ต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม และความรู้ของมารดาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/273542 <p>น้ำนมแม่เป็นสารอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกน้อย ทารกแรกเกิด ที่มีภาวะความเจ็บป่วยต้องแยกจากแม่หลังคลอดในทันที อาจเป็นอุปสรรคต่อการที่ทารกจะได้รับนมแม่ ตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้น<br />การช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นให้มารดามีน้ำนมมาเร็ว และมีการคงไว้ซึ่งปริมาณ น้ำนมที่เพียงพอ จะทำให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม และความรู้ของมารดาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือมารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษามากกว่า 4 ชั่วโมง ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ จำนวน 50 ราย เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นน้ำนม กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มละ 25 ราย เครื่องมือวิจัยในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย โปรแกรมการกระตุ้นน้ำนม แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและปริมาณน้ำนม และแบบทดสอบความรู้ของมารดาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า มารดากลุ่มทดลองมีระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมเร็วกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.841, p &lt; .01) และมีความรู้ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในทารกป่วยดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <br />(t = -4.683, p = &lt; .001)</p> <p> ผลการวิจัยนี้แสดงให้ เห็นว่าโปรแกรมกระตุ้นน้ำนม สามารถทำให้ระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมเร็วขึ้น และมารดามีความรู้ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วยดีขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ต่อเนื่อง และทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเพิ่มมากขึ้น</p> วัชรา ศิริกุลเสถียร, ชีวารัตน์ พลอยเลื่อมแสง, กฤษณะ จตุรงค์รัศมี Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/273542 Thu, 03 Oct 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความตั้งใจและ พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/272318 <p>องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายว่าควรเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่อย่างเดียว<br />อย่างน้อย 6 เดือน และควรเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องร่วมกับอาหารตามวัยจนถึง 2 ปีหรือมากกว่า ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2568 ว่าทารกร้อยละ 50 ควรจะได้กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน อย่างไรก็ตาม การสำรวจพบว่ามารดาชาวไทยมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตลอด 6 เดือนแรกต่ำกว่าเป้าหมาย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความตั้งใจและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดบุตรครรภ์แรกที่มีปัญหาหัวนมเต้านมเล็กน้อยที่ยังสามารถให้นมบุตรได้ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่</p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดก่อนและหลังในกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดบุตรครรภ์แรกที่เข้ารับการรักษาที่ตึกสูติกรรมและได้รับการส่งต่อมายังคลินิกนมแม่ในช่วงการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 30 คน <br />ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึงเดือนพฤษภาคม 2567 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล <br />แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบประเมินความตั้งใจ และแบบสังเกตพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรมเท่ากับ 0.95 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงและทดสอบการกระจายของข้อมูลด้วย Shapiro–Wilk test ซึ่งพบว่าข้อมูลมีการกระจายปกติ ใช้สถิติ Paired t-test ในการเปรียบเทียบก่อนและหลัง</p> <p>ภายหลังได้รับโปรแกรม คะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 3.41 เป็น 4.10 (p &lt; 0.05) อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากค่าเฉลี่ย 4.77 เป็น 4.93 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p &gt; 0.05) แต่พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้นอย่างชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=28.721, p&lt;.05) โดยมารดาทุกคนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องหลังจากได้รับโปรแกรม เช่น เทคนิคการนำลูกเข้าเต้า และท่าอุ้มให้นม ดังนั้น โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองมีประสิทธิภาพในการเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น แม้ว่าการเพิ่มความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ประสิทธิผลโดยรวมของโปรแกรมแสดงให้เห็นว่าควรนำไปใช้เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานพยาบาลอื่น</p> ประภัสสร โตธิรกุล, จงรศา ภูมาศ, ปิยะนุช ชูโต, ลวิตรา เขียวคำ Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/272318 Sat, 19 Oct 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมแม่ทำงานนอกบ้านต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันสำหรับครอบครัวนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/272906 <p>ปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมควบคู่กับการกินนมแม่จะเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ สถานเลี้ยงเด็กกลางวันสำหรับครอบครัวนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ให้บริการเลี้ยงดูเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้ลูกได้กินนมแม่จนถึงอายุ 2 ปี และผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมแม่ทำงานนอกบ้าน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ได้ตามเป้าหมาย การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนและปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 2 ปีของแม่ที่เข้าร่วมโปรแกรมและเพื่อสำรวจความพึงพอใจของแม่ต่อการเข้าร่วมโปรแกรม โดยการทบทวน สรุปประสบการณ์การดำเนินงานเพื่อให้เห็นเหตุปัจจัยภายในและภายนอกที่ทำให้เกิดผลอย่างที่เป็นอยู่ สะท้อนในรูปแบบปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) และผลลัพธ์ (output) ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ แม่และลูกของแม่ทุกรายที่ได้รับโปรแกรม ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2563 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2566 จำนวน 30 คู่แม่ลูก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลจากแฟ้มประวัติเด็กที่ได้รับโปรแกรม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนและปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 2 ปี และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล และความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ โดยใช้การสรุปประเด็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมแม่ทำงานนอกบ้านมีผลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 2 ปี ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนและปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 2 ปีของแม่ที่เข้าร่วมโปรแกรม ได้แก่ ความเชื่อและทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากคนในครอบครัว นโยบายและสิ่งอำนวยความสะดวกในที่ทำงานแม่ และนโยบายของสถานเลี้ยงเด็กกลางวันสำหรับครอบครัวนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระดับความพึงพอใจของแม่ต่อโปรแกรมแม่ทำงานนอกบ้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, S.D. = 0.35)</p> นภาพร สุนันต๊ะ, ประภัสสร โตธิรกุล Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/272906 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการผ่าตัดคลอดครั้งแรก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/272743 <p>ปัจจุบันการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วยซึ่งสูงกว่าอัตราการผ่าตัดคลอดที่องค์การอนามัยโลกกำหนด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการผ่าตัดคลอดครั้งแรก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่วิจัยเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการผ่าตัดคลอดครั้งแรก แบ่งเป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม 2 ส่วน ประกอบด้วย โปรแกรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์ และแบบสอบถามโปรแกรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์ ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ค่า CVI เท่ากับ 0.95 และ หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20) = 0.50 ความเชื่อมั่นปานกลาง นำมาหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ 1.04 และ 0.99 ตามลำดับ</p> <p>วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.001) 2.หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.001)</p> <p>ดังนั้นการใช้ โปรแกรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์กลุ่มดังกล่าวมีความพร้อมในการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง สามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้</p> สุกัญญา ศรีเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/272743 Tue, 19 Nov 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลเด็กที่มารับการรักษาด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/273222 <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey research) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลเด็กที่มารับการรักษาด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 คลินิกตรวจโรคทั่วไป คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 90 ราย ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2567 เครื่องมือประกอบด้วย <br />3 ส่วน 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคระบบทางเดินหายใจ 3) แบบวัดความรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคระบบทางเดินหายใจ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.80 และตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3 ตอน <br />6 องค์ประกอบหลัก ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลเด็กที่มารับการรักษาด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 คลินิกตรวจโรคทั่วไป ด้านความรอบรู้เมื่อได้รับใบนัดเพื่อการเข้ารับการตรวจรักษาอยู่ในระดับทำได้ทุกครั้ง (= 4.43, S.D = 0.65) ด้านความรอบรู้เกี่ยวกับ<br />การอ่านฉลากยาอยู่ในระดับทำได้ทุกครั้ง (= 4.70, S.D = 0.50) และด้านความรอบรู้โรคระบบทางเดินหายใจเด็กอยู่ในระดับทำได้ทุกครั้งเช่นกัน (= 4.60, S.D = 0.65)</p> <p>จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางด้านสุขภาพควรมีการส่งเสริมให้ผู้รับบริการ และผู้ดูแลเข้าถึงแหล่งความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน</p> ทัศนีย์พรรณ อาจมาก Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/273222 Thu, 24 Oct 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score เพื่อส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/272657 <p>การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ เป็นแนวทางสำคัญสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรก ตามนโยบายขององค์การอนามัยโลก การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ <br />มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score และศึกษาผลลัพธ์ความสำเร็จของแนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดำเนินการระหว่าง<br />เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 เลือกกลุ่มศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงจากแม่หลังคลอดครรภ์แรกที่เข้ารับบริการในแผนกสูตินรีเวชกรรม 1-2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ โดยแบ่งแม่หลังคลอดออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกสูตินรีเวชกรรม 1-2 จำนวน 15 คน แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การนำแนวปฏิบัติที่ได้ไปใช้ในงานประจำโดยผู้วิจัยใช้วิธีการนิเทศทางการพยาบาล และการประเมินผลหลังการใช้โดยให้พยาบาลประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ และประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนคือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือแนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถามประเมินผลลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวในระยะ 24 ชั่วโมงก่อนจำหน่าย แบบสอบถามประเมินระดับความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแม่หลังคลอดก่อนจำหน่าย แบบสอบถามประเมินผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในวันมาตรวจตามนัดที่อายุ 7 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วย Pair t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย Independent T-test ผลการศึกษาพบว่าหลังจากการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ส่งผลให้แม่หลังคลอดมีคะแนน C (รู้สึกสบายเต้านมและหัวนม) <br />สูงกว่าหรือพบปัญหาเจ็บหัวนมน้อยกว่า มีระดับความมั่นใจของแม่เรื่องความพอเพียงของน้ำนมแม่มากกว่า ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวหลังจำหน่ายถึงอายุ 7 วันมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> <p>สรุปได้ว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถช่วยให้แม่มั่นใจเรื่องความพอเพียงของน้ำนมแม่ และส่งผลให้หลังจำหน่ายสามารถให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวถึง 7 วันเพิ่มขึ้น</p> นันทวัน จันทร์ตา, สุรัสวดี เวียงสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/272657 Mon, 28 Oct 2024 00:00:00 +0700 โภชนาการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/269075 <p>โภชนาการเพื่อสุขภาพดีเป็นหลักการใช้อาหารเพื่อการส่งเสริมให้มีความแข็งแรงของสุขภาพ โดยเป็นการดึงความรู้ในเรื่องของสุขภาพ ในมิติสุขภาพกาย โดยเน้นไปถึงเรื่องของการรับประทานอาหาร การปรุงประกอบอาหาร หลักการอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และเทคโนโลยีหรือแนวโน้มด้านโภชนาการและอาหารที่จะส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยนิยามคำว่า Wellness เดิมจะเป็นการดูแลมิติทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและอื่น ๆ ไม่มีการแยกเรื่องของโภชนาการออกมาอย่างชัดเจน เพียงแต่แฝงอยู่ในหมวดของมิติทางกาย ร่วมกับการออกกำลังกายและการนอนหลับเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแล้วเรื่องโภชนาการกับการส่งเสริมสุขภาพในศาสตร์ของ Wellness เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่แค่การรณรงค์ลดหวาน มัน เค็ม ทั่วไป แต่ยังมีมิติของการส่งเสริมสุขภาพเรื่องของการปรุงประกอบอาหารอย่างไร ให้ได้คุณค่าทางโภชนาการจากสารอาหารให้มากที่สุด การเลือกอาหารที่เป็นแหล่งของสารอาหารและวิตามินให้เหมาะกับร่างกาย การใช้อาหารฟังก์ชั่นที่มีส่วนในการดูแลสุขภาพเข้ามาเป็นการเสริมสุขภาพ รวมไปถึงเทคโนโลยีด้านอาหารต่างๆ เช่นการจัดโภชนาการและสารอาหารตามพันธุกรรม ที่เข้ามาในกระแสของโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อส่งเสริมสุขภาพและให้ตรงกับแต่ละบุคคล การใช้เทคโนโลยีการตรวจอุจาระเพื่อตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร เพื่อแนะนำการรับประทานอาหารที่ส่งเสริมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์กับทางเดินอาหารได้อย่างแม่นยำตามแต่ละบุคคล บทความนี้จึงนำเสนอมุมมองมิติด้านโภชนาการที่เชื่อมโยงกับ Wellness ให้ชัดเจนขึ้น</p> วริทธิ์ ศรีสุขทวีรัตน์, กมล ไชยสิทธิ์, อำนาจ ประสิทธิ์ดำรง Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/269075 Wed, 08 May 2024 00:00:00 +0700 มาตรฐานความงามบนภาพลักษณ์ร่างกายผ่านมุมมองสุขภาพแบบองค์รวม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/271349 <p>การมีมาตรฐานความงามบนภาพลักษณ์ร่างกายและการดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญ ในยุคปัจจุบันที่มาตรฐานความงามมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา และเป็นค่านิยมที่คนในสังคมยังคงยึดติด เพื่อต้องการสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเองและสร้างภาพลักษณ์ในอุดมคติจากกรอบทางสังคม บทความนี้จะกล่าวถึงมาตรฐานความงามบนภาพลักษณ์ร่างกายผ่านมุมมองสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพจิตวิญญาณ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ จากการศึกษาพบว่า การธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานความงามโดยการใช้แนวคิดสุขภาพองค์รวมทำให้บุคคลมีความความมั่นใจในตนเอง และสร้างชุดความคิดในการปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาร่างกายให้คงอยู่ด้วยความแข็งแรง ถ้าผลของมาตรฐานความงามไม่เป็นไปตามความคาดหวัง อาจทำให้รู้สึกไม่พอใจในภาพลักษณ์ร่างกายของตนเอง และก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพในทุกมิติ นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นฐานข้อมูลและปรับใช้ในการสร้างมโนทัศน์หรือการสร้างแนวคิดที่เกี่ยวกับมาตรฐานความงามและสุขภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการสาธารณสุขต่อไป</p> ชนัยชนม์ นาราษฎร์ , ซูบัยดา นาอีแต, ชนะพันธุ์ ใสเนตร, ณิชา บุญหนู, บาลีมีนย์ จบศรี, ปภัสวรรณ นาวาน้อย, กิตรวี จิรรัตน์สถิต Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/271349 Wed, 24 Jul 2024 00:00:00 +0700 ชุดหน้ากากชนิดแรงดันบวกทางทันตกรรม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/272222 <p>การรักษาทางทันตกรรม เป็นงานหัตถการเฉพาะทางที่ทันตแพทย์ให้การรักษาบริเวณช่องปาก ซึ่งจะมีการแพร่กระจายของละอองสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำลาย เป็นต้น เมื่อมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส <br />โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ <br />จึงสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อมากขึ้น เนื่องจากอาการป่วยจากไวรัสชนิดนี้มีความรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ และในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว เกิดการขาดแคลนของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทำให้มีราคาสูงและต้องหาอุปกรณ์ชนิดอื่นมาใช้งานทดแทน โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ผลิตชุดหน้ากากชนิดแรงดันบวกที่ใช้งานทางทันตกรรมได้และพัฒนานวัตกรรมที่ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคหรือ Covid-19 ในคลินิกทันตกรรม ผลการทดสอบพบว่า ประสิทธิภาพด้านแรงดันอากาศมีค่าสูงสุดอยู่ที่ +31Pa และต่ำสุด +29 Pa โดยมีค่าเฉลี่ย +30 Pa ค่าประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอน ตามมาตรฐาน ASTEM F2299-03 วัดค่าได้ 98.53% ส่วนค่าประสิทธิภาพความแนบกระชับ มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 81.81% เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ชุดหน้ากากกรองอากาศชนิดมีแบตเตอรี่แบบพกพาที่มีจำหน่ายในท้องตลาดพบว่า เป็นหน้ากากชนิดแรงดันบวกเหมือนกันแต่นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนั้นพกพาได้ง่าย ไม่ต้องอาศัยท่อนำอากาศจากเครื่องกรองอากาศเนื่องจากเป็นวัสดุหน้ากากเพียงชิ้นเดียว อีกทั้งไม่ต้องใช้สายรัดตัวแบตเตอรี่และชุดกรองอากาศไว้บริเวณเอว ซึ่งส่งผลต่อท่าทางการนั่งใน<br />การรักษาทางทันตกรรม และยังมีราคาต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเนื่องจากไม่ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ แต่ยังพบปัญหาของนวัตกรรมที่ควรจะต้องพัฒนา คือ น้ำหนักของนวัตกรรมเมื่อสวมใส่ทางศีรษะแล้วยังมีน้ำหนักที่มากเกินไป ส่งผลต่อความเมื่อยล้าของผู้ใช้เมื่อใช้งานเป็นเวลานานและส่วนของความแนบกระชับระหว่างวัสดุกับใบหน้าที่ต้องทำให้แนบกระชับพอดีมากขึ้นเพื่อป้องกันการรั่วไหลของอนุภาคขนาดเล็กเข้ามาภายในชุดหน้ากาก</p> นวรัตน์ วินิจจะกูล, แมนสรวง วงศ์อภัย, ดนพัทธ์ ปัญญาชัย Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/272222 Sun, 08 Sep 2024 00:00:00 +0700 ประเด็นสำรวจสุขภาพ เพื่อบริจาคโลหิตที่ปลอดภัยต่อผู้รับ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/274120 <p>โลหิตที่ใช้สำรองในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยมาจากการรับบริจาคโลหิตจากผู้ที่มีสุขภาพดีและประสงค์ต้องการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากภาวะวิกฤตทางสุขภาพอันเกิดจากโรคภัยและอุบัติเหตุ โดยไม่มีการแบ่งแยก การมีปริมาณโลหิตสำรองที่เพียงพออยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันสัดส่วนผู้บริจาคโลหิตในประเทศไทยยังต่ำกว่าเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก จึงทำให้เกิดภาวะขาดแคลนโลหิตสำรองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาวะโรคระบาดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ในบทความนี้จึงนำเสนอ <br />9 ประเด็นสำรวจสุขภาพของตนเอง อาทิ ประเภทของอาหาร สมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ต้องงดชั่วคราวก่อนการบริจาคโลหิต ข้อมูลการเจ็บป่วยและการใช้ยารักษาโรคประจำตัว การฉีดวัคซีน การผ่าตัด ประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจบริจาคโลหิตใช้พิจารณาความพร้อมของตนเองว่าโลหิตที่จะบริจาคมีความปลอดภัยแก่ผู้รับ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงและไม่มีโรคติดเชื้อที่ส่งต่อทางโลหิต ซึ่งจะทำให้สามารถบริจาคโลหิตได้ยาวนานจนถึงวัยเกษียณ อันเป็นการลดภาวะขาดแคลนโลหิตสำรองในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น</p> กนกรัตน์ ไชยลาโภ Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/274120 Fri, 22 Nov 2024 00:00:00 +0700