ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ นักเรียนชั้นประถมศึกษา เขตอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ฐิตาพร บุญโย สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ
  • พรพิมล ชูพานิข หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: พฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ความสัมพันธ์, นักเรียนชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

           

ปัจจุบันการใช้เวลาหน้าจอดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมที่อยู่กับสื่อหน้าจอมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่อยู่ในเขตอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น จำนวน 305 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามให้ตอบเอง โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.8 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.7 สอบถามประกอบด้วย ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปกครองและเด็ก, พฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอของเด็ก และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติกแบบพหุ

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 67.2 อุปกรณ์ที่ใช้เวลาหน้าจอส่วนใหญ่ คือ สมาร์ทโฟน ร้อยละ 70.8 กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับไม่เหมาะสม ร้อยละ 70.8 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอและปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า ความสัมพันธ์ของบิดา มารดาต่อเด็ก (Adjusted OR = 2.67; 95% CI: 1.18-6.06, p = 0.019) ระดับการศึกษาของผู้ปกครองต่ำกว่าอนุปริญญาลงมา (Adjusted OR = 2.87; 95% CI: 1.43-5.77, p = 0.003) ลักษณะครอบครัวขยาย (Adjusted OR = 2.40; 95% CI: 1.21-4.76, p = 0.012) การที่ห้องนอนของเด็กมีโทรทัศน์ (Adjusted OR = 3.67; 95% CI: 1.33-10.11, p = 0.012) และระยะเวลาการดูหน้าจอของเด็ก > 2 ชั่วโมง/วัน (Adjusted OR = 2.84; 95% CI: 1.64-4.93 ; p = <0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงผลกระทบของพฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอ และการจัดสรรเวลาสำหรับการใช้เวลาหน้าจอที่เหมาะสมในเด็กวัยเรียน รวมถึงส่งเสริมเรื่องการจัดเตรียมอาหารที่มีคุณค่าและประโยชน์สำหรับเด็กวัยเรียน

Author Biography

พรพิมล ชูพานิข, หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). งานโภชนาการ ร้อยละของเด็กอายุ 6 - 14 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 12 ปี. ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2565, จาก https://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=46522bd1e06d24a5bd81917257a93c&id=

e28682b2718e6cc82b8dbb3e00f2e28e

ปรียนันท์ เหล่าเภรี. (2557). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรุงเทพมหานครเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

เมริษา ยอดมณฑป. (2564). ปู่ย่าตายายมีส่วนช่วยเลี้ยงหลานอย่างไรให้เติบโตทั้งกายใจ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สุกัญญา บัวศรี, กมลทิพย์ ทิพย์สังวาล และอนงค์ สุนทรานนท์. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารผักและผลไม้ของเด็กวัยเรียน

ในจังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 47(2), 24-36.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารใน ครัวเรือน พ.ศ. 2563. ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/ICT/Survey%20 In%20Household/2020/fullreport_63.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในเด็กวัยเรียน. กรุงเทพฯ:

สามเจริญพาณิชย์.

โสภณา จิรวงศ์นุสรณ์ และคณะ. (2561). อันตรายที่แฝงมากับโทรศัพท์มือถือ. วารสารวิจัยราชภัฎพระนครสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(1), 164-177.

อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. (บรรณาธิการ). (2557). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

American Academy of Pediatrics. (2020). Screen time and children. Retrieved July 13, 2022, from https://www.aacap.org/AACAP/Families_and_Youth/Facts_for_Families/FFF-Guide/Children-And-Watching-TV-054.aspx

Bloom, B. (1975). Taxonomy of education. New York: David McKay Company.

Bowling, A., & Browne, P.D. (1991). Social networks, health, and emotional well-being among the oldest old in london. Journal of Gerontology, 46(1), 20-32.

Digital Quotient Institute. (2018). A Conceptual framework & methodology for teaching and measuring digital citizenship. Retrieved July 17, 2022, from https://www.dqinstitute.org/wp-content/uploads/2017/08/DQ-Framework-White-Paper-Ver1-31Aug17.pdf

Falbe, J., Kirsten, K., Franckle, R., Rebecca, L., Ganter, C., Steven, L., et al. (2015). Sleep duration, restfulness, and screens in the sleep environment. Pediatrics, 135(2), 367–375.

Hauk, L. (2017). Use of media by school-aged children and adolescents: a policy statement from the AAP. American Family Physician, 96(1), 56–57.

Huo, J., Kuang, X., Xi, X., Xiang, C., Yong, C., Liang, J., et al. (2022). Screen time and its association with vegetables, fruits, snacks and sugary sweetened beverages Intake among chinese preschool children in Changsha, Hunan Province: a cross-sectional study. Nutrients, 14(19), 1-14.

Konstantinos, D., Demosthenes, B., Glykeria, P., & Labros, S. (2020). Screen time and its effect on dietary habits and lifestyle among schoolchildren. Cent Eur J Public Health, 28(4), 260–266.

Mahmood, L., Paloma, F., Luis, A., Moreno, Y., & Esther, M. (2021). The influence of parental dietary behaviors and practices on children’ s eating habits. Nutrients, 13(4), 1-13.

Oka, Y., Suzuki, S., & Inoue, Y. (2008). Bedtime activities, sleep environment, and sleep/wake patterns of Japanese elementary school children. Behav Sleep Med, 6(4), 220-233.

Priya, P.R. & Veena, M. (2021). Screentime in primary school children and its associations: a cross sectional study. International Journal of Contemporary Pediatrics, 8(9), 1528-1538.

Qi, J., Yan, Y. & Yin, H. (2023) Screen time among school-aged children of aged 6-14: a systematic review. Glob Health Res Policy, 8(1), 1-12.

Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1977). On the use content specialists in the assessment of criterin reference test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 11(2), 62-64.

Scaglioni, S., Cosmi, V., Ciappolino V., Parazzini, F., Brambilla, P., & Agostoni, C. (2018). Factors influencing children’s eating behaviours. Nutrients, 10(6), 1-17.

Stiglic, N. & Viner, R. (2019). Effects of screen time on the health and well-being of children and adolescents: a systematic review of reviews. BMJ Open, 10(9), 1-15.

Soltero, E., Alejandra, J., Edith, H., Simón, B., Edtna, J., Juan, R. et al. (2021). Associations between screen-based activities, physical activity, and dietary habits in mexican schoolchildren. Int J Environ Res Public Health, 18(13), 1-10.

Tambalis, K., Panagiotakos, D., Psarra, G. & Sidossis, L. (2020). Screen time and its effect on dietary habits and lifestyle among schoolchildren. Cent Eur J Public Health, 28(4), 260-266.

Tenjin, K., Michikazu, S., Masaaki, Y., & Takashi,T. (2020). Relationship between parental lifestyle and dietary habits of children: a cross-sectional study. J Epidemiol, 30(6), 253-259.

Umoke, M., Prince, C., Nkechi, G., Elizabeth, N., Vera, V. et al. (2020). Influence of parental education levels on eating habits of pupils in Nigerian primary schools. Medicine, 99(43), 1-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-21