รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ปฏิบัติงานบนพื้นที่สูง
คำสำคัญ:
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การพัฒนารูปแบบ, พื้นที่สูงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานบนพื้นที่สูง และประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คัดเลือกพื้นที่สูงตามระดับความยากง่ายในการเข้าถึง โดยเลือกพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย ปานกลาง และยากในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ทั้งหมด 11 ตำบล จากอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการพัฒนารูปแบบ คือ บุคลากรสุขภาพ และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน 31 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่ม การเข้าสำรวจพื้นที่จริงและระดมความคิดเห็น/แลกเปลี่ยนกับภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การนำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และถอดบทเรียนรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินผลการปฏิบัติงานในพื้นที่ของซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และแบบประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่รับบริการจากซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธี Naturalistic data processing
ผลการวิจัย ได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาสมรรถนะ 4 ขั้นตอน ได้แก่ เปิดโอกาสให้ได้รับประสบการณ์ตรง ทบทวนความรู้และสะท้อนคิด รับรู้และตกผลึกความรู้ด้วยตนเอง และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติ กระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอนดำเนินการภายใต้ระบบและกลไกการสนับสนุนดูแลของภาคีเครือข่าย และการใช้ประโยชน์จากปัจจัย 3 ประการที่มีอิทธิพลในการส่งเสริมให้กระบวนการพัฒนามีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ภาคีเครือข่าย การสื่อสารและความร่วมมือระหว่างกัน ภายหลังการนำร่องทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา พบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมและรายข้อของการปฏิบัติงานของซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผ่านสูงกว่าร้อยละ 80 และคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลอยู่ในระดับพอใจมาก (Mean 4.14, SD 0.86) ผลการวิจัยนี้อาจสะท้อนถึงประสิทธิภาพและความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้านความรู้และความสามารถในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนบนพื้นที่สูง ซึ่งควรนำไปต่อยอดหรือขยายผลในพื้นที่สูงอื่นเพื่อยืนยันถึงความเหมาะสมและประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาต่อไป
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). หลักสูตรการอบรม อสม. เชี่ยวชาญ พ.ศ. 2555 ในโครงการอบรมฟื้นฟู อสม. พ.ศ. 2555 ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ข้อ 7 สร้างแรงจูงใจและพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุข ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566, จาก http://www.ssosth.go.th/rp2011/rps3/Thu110758.pdf
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.): นักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย ปีพุทธศักราช 2557. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566, จาก http://phc.moph.go.th/www_hss/
frontend/theme/view_information.php?Submit=ViewList&ID_Inf_Nw_SubCategory=0094#
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือ อสม. หมอประจำบัาน. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/OSM_Doctor.pdf
ฉลาด ภู่ระหงษ์, มาลี ไชยเสนา, & กุลชญา ลอยหา. (2564). ศักยภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดระยอง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 9(1), 369–379.
ชาญชัย จิวจินดา. (2561). รูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 6(2), 1–9.
ชิตสุภางค์ ทิพย์เที่ยงแท้. (2556). สังเคราะห์ความรู้จากผลการวิจัย เรื่องที่การติดตามประเมินผลการบริการวิชาการ: กรณีศึกษา ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี. ค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2565, จาก http://www.bcnr.ac.th/article/p22222.pdf
นาฏยา นุชนารถ, ศิริชัย เพชรรักษ์, & สุเทพ เชาวลิต. (2561). การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(2), 768–779.
เพ็ญศรี โตเทศ. (2563). การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะอสม. 4.0 ภาคเหนือปี 2561. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(1), 34–44.
รัศมี ศรีนนท์, อุดมกฤษฎิ์ ศรีนนท์, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, & กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 331–343.
รำพึง นุ่มสารพัดนึก. (2565). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอประจำบ้านในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนครนายก. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี, 31(2), 118–130.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาในชุมชน. ค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2565, จาก http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_28.html
วิเชียร เทียนจารุวัฒนา, กิตติพน เนาว์สุวรรณ, & สายสมร วชิระประพันธ์. (2564). แนวทางการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คุณภาพเพื่อสนับสนุนกำลังคน ด้านสาธารณสุขสำหรับระบบสุขภาพในอนาคต. วารสารวิชาการสาธาณสุข, 30(2), 353–366.
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). (2562). เกี่ยวกับสภาพพื้นที่สูง. ค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2565, จาก https://www.hrdi.or.th/About/Highland
สมชาย ศรีวิรัตน์. (2556). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น: แนวคิด หลักการพัฒนา และการดำเนินงานพัฒนาชุมชน. ค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/549133
อิสรภาพ มาเรือน, จันทร์เพ็ญ ชุมแสง, & ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา. (2556). การเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขในการจัดการขยะที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของชุมชนชาวเขาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 9(2), 25–43.
Anderson, H.M. (n.d.). Dale’s cone of experience. Retrieved July 6, 2023, from https://www.queensu.ca/teaching
andlearning/modules/active/documents/Dales_Cone_of_Experience_summary.pdf
Baum, F., MacDougall, C., & Smith, D. (2006). Participatory action research. [Electronic version]. Journal of Epidemiology and Community Health, 60, 854-857.
Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw- Hill.
Kolb, A.Y., & Kolb, D.A. (2011). The Kolb learning style inventory 4.0: A comprehensive guide to the theory, psychometrics, research on validity and educational applications. Retrieved May 13, 2023, from https://learningfromexperience.com/downloads/research-library/the-kolb-learning-style-inventory-4-0.pdf
Lincoln, Y.S., & Guba, E.G. (1985). Naturalistic inquiry. Newbury Park, California: SAGE.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.