ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟของครูระดับมัธยมศึกษา ในเขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • Saichol Thornmart Epidemiology, Graduate School, Khon Kaen University

บทคัดย่อ

ความสำคัญของปัญหา: อาชีพครูนอกจากภาระงานหนักแล้ว ยังมีความคาดหวังต้องคอยมองหาโอกาสในการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ทำให้คุณครูหลายคนมองหาความสมบูรณ์แบบและเป้าหมายที่สูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของภาวะเครียดสะสมได้ และอาจจะก่อเกิดอาการหมดกำลังใจในการทำอาชีพที่ตนเคยรักต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟของครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตสุขภาพที่ 7

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Analytical cross-sectional study) ในครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 539 คน ทำการศึกษา ในเดือน พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอยพหุแบบลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอด้วยค่า Adjusted odds ratio ค่าเชื่อมั่นที่ 95% และค่า P-value ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษา: ครูมีความชุกของภาวะหมดไฟ ร้อยละ 17.6 (95%CI = 14.6-21.1) จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ พบว่า ประสบการณ์ทำงานเป็นครู จำนวนชั่วโมงการสอน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) กล่าวคือ เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรที่เหลือในโมเดลสุดท้ายแล้ว พบว่า ครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 1-10 ปี มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเป็น 4.10 เท่า เมื่อเทียบกับครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 21 ปีขึ้นไป (AOR= 4.10 ; 95%CI= 2.21-7.60) ครูที่มีการสอน จำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ ขึ้นไป มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเป็น 2.09 เท่า เมื่อเทียบกับครูที่มีการสอน จำนวนน้อยกว่า 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ (AOR= 2.09 ; 95%CI= 1.29-3.38) และครูที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานน้อย มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ เป็น 3.17 เท่า เมื่อเทียบกับครูที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมาก (AOR= 3.17 ; 95%CI= 1.54-6.55)

สรุปและข้อเสนอแนะ: ความชุกของภาวะหมดไฟในการทำงานของครูไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตามควรมีการประเมินคัดกรองภาวะหมดไฟในครู รวมถึงการกระจายภาระงานให้เหมาะสมกับบุคลากรและมีกิจกรรมในการจัดการความเครียดเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟในอนาคต

References

กชามาส วิชัยดิษฐ, อารยา ประเสริฐชัย & ปกมล เหล่ารักษาวงษ์. (2565). ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดชุมพร. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 30(3), 211-221.

กรมสุขภาพจิต. (2563). แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Combat 4th Wave of COVID-19 : C4). นนทบุรี: เอวัน ปริ้นติ้ง.

กรมสุขภาพจิต. (2564). Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2565, จากhttps://dmh.go.th/news/view.asp?id=2445

ฉัตรชกรณ์ ระบิล. (2564). ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 15(2), 60-79.

ดวงฤทัย เด่นจารุกูล. (2564). ข้อเสนอทางเลือกเพื่อลดภาวะความท้อแท้ในการทำงานของครูจากปัจจัยเสี่ยงในโรงเรียน : การวิเคราะห์ต้นไม้เอสอีเอ็ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพรัตน์ บำรุงพนิชถาวร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชัยณรงค สุวรรณมยุร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทำงาน ภาระงาน อารมณ์ในขณะทำงาน การเปรียบเทียบทางสังคมกับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของครูระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภรณฉัตร โอฐเจริญชัย. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะขาดประสิทธิภาพในการทำงานขณะป่วยและภาวะหมดไฟในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). Burnout in the City. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565, จาก https://www.facebook.com/burnoutinthecity

มะลิสา คล่องแคล่ว. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยวัดผลและสถิติการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วลีรัตน์ เช็คเทิดทูน. (2558). ภาวะความเครียดจากงานและภาวะหมดไฟในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความ ณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีสกุล เฉียบแหลม & เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ. (2562). ภาวะหมดไฟในการทำงาน [Burnout syndrome]. วารสารแพทยสารทหารอากาศ, 65(2), 44-52.

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7. (2560). แบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงาน. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565, จาก https://mhc7.dmh.go.th

สุนันท์ษา นิธิวาสิน. (2562). ภาวะติดงาน ความเครียดจากงานและภาวะหมดไฟในครูโรงเรียนเตรียมทหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alsalhe. (2021). Occupational Burnout Prevalence and Its Determinants Among Physical Education Teachers: A Systematic Review and Meta-Analysis. Front Hum Neurosci, 9(15), 553230.

Al-Asadi, J., Khalaf, S., Al-Waaly, A., Abed, A. & Shami, S. (2018). Burnout among primary school teachers in Iraq: prevalence and risk factors. East Mediterr Health J, 24(3), 262-268.

Ballantyne, J., & Retell, J. (2020). Teaching careers: Exploring links between well-being, burnout, self-efficacy and praxis shock. Front Psychol, 10, 2255.

Baker, C.N., Peele, H., Daniels, M., Saybe, M., Whalen, K. & Overstreet, S. (2021). The experience of covid-19 and its impact on teachers’ mental health, coping, and teaching. School Psychology Review, 50(4), 491-504.

Cheung, P. & Li, C. (2019). Physical activity and mental toughness as antecedents of academic burnout among school students: A latent profile approach. Int J Environ Res Public Health, 16(11).

Ferradás, M.D.M., Freire, C., García-Bértoa, A., Núñez, J.C. & Rodríguez, S. (2019). Teacher profiles of psychological capital and their relationship with burnout. Sustainability, 11(18).

Hsieh, F.Y., Bloch, D.A., & Larson, M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623-1634.

Li, S., Li, Y., Lv, H., Jiang, R., Zhao, P., Zheng, X., et al. (2020). The prevalence and correlates of burnout among Chinese preschool teachers. BMC Public Health, 20(1), 160.

Ma, K., Chutiyami, M., Zhang, Y. & Nicoll, S. (2021). Online teaching self-efficacy during covid-19: Changes, its associated factors and moderators. Educ Inf Technol (Dordr), 26(6), 6675-6697.

Makara-Studzinska, M., Golonka, K. & Izydorczyk, B. (2019). Self-efficacy as a moderator between stress and professional burnout in firefighters. Int J Environ Res Public Health, 16(2).

Marić, N., Mandić-Rajčević, S., Maksimović, N. & Bulat, P. (2020). Factors Associated with Burnout Syndrome in Primary and Secondary School Teachers in the Republic of Srpska (Bosnia and Herzegovina). Int J Environ Res Public Health, 17(10), 3595.

Ozamiz-Etxebarria, N. (2023). Prevalence of Burnout among Teachers during the COVID-19 Pandemic: A Meta-Analysis. Int J Environ Res Public Health, 20(6), 4866.

Pressley, T. (2021). Factors Contributing to Teacher Burnout During COVID-19. Sage Journals, 50(5).

Silva, L.P., Santos, J.S., Silva, L.L., Cezar, I.S., Abreu, J.S., Cerqueira, V.P., et al. (2021). Prevalence of burnout syndrome and associated factors in university professors working in Salvador, state of Bahia. Rev Bras Med Trab, 19(2), 151-156.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19