การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันโรคผิวหนังสำหรับสามเณร ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Niratchaphon Somrusakul -
  • aksara
  • jukkrit

คำสำคัญ:

การวิจัยและพัฒนา, โรคกลาก, โรคเกลื้อน, โมชันกราฟิก, สามเณร

บทคัดย่อ

       

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันโรคผิวหนังสำหรับสามเณรและศึกษาผลของการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันโรคผิวหนังในสามเณรโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิด ADDIE MODEL เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการผลิตสื่อโมชันกราฟิก โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกในบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันโรคในสามเณรและตัวแทนสามเณร ระยะที่ 2 พัฒนาสื่อโมชันกราฟิก ประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และระยะที่ 3 ประเมินผลของการผลิตสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันโรคผิวหนัง โดยวัดความรู้ก่อนและหลังการรับสื่อ ประเมินความพึงพอใจ ประสิทธิภาพของสื่อ ในสามเณรจำนวน 43 รูป  ผลการวิจัยพบว่า สื่อที่ได้พัฒนาขึ้นจากการวิจัย คือ สื่อโมชันกราฟิกที่มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโรคกลากและโรคเกลื้อน ที่สื่อสารด้วยภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบและเสียงบรรยายที่สามารถดึงดูดความสนใจ ความยาวของสื่อประมาณ 3 นาที โดยการประเมินคุณภาพสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันโรคผิวหนังสำหรับสามเณรในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สื่อมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ทั้ง 4 ด้าน (  = 100.60, S. D. = 2.07) การประเมินความรู้ก่อนและหลังการรับสื่อโดยการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired t-test หลังรับชมสื่อกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังสูงกว่าก่อนรับชมสื่อโมชันกราฟิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ก่อนและหลังรับสื่อเท่ากับ 16.37±3.27 และ 19.98±2.37 (95%CI = 2.75 – 4.46) ตามลำดับ การประเมินความพึงพอใจของสามเณรต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันโรคผิวหนัง พบว่าภายหลังการรับชมสื่อ ความพึงพอใจในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (  = 93.48, S. D. = 7.90) ความพึงพอใจรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน นอกจากนี้ผลการทดสอบประสิทธิภาพสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันโรคผิวหนัง โดยการหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E1/E2 กำหนดเกณฑ์การหาประสิทธิภาพเท่ากับ 60/60 ในการทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว (1:3) แบบกลุ่ม (1:10) และภาคสนาม (1:30) นั้น ผลการหาประสิทธิภาพได้ค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อยู่ที่ 65/84, 80/91และ 64/80 ตามลำดับ

จากผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าสื่อโมชันกราฟิกที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมกับกลุ่มสามเณร และความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อและประสิทธิภาพของสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันโรคผิวหนังสำหรับสามเณรอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังเพิ่มความรู้ในการป้องกันโรคผิวหนังในกลุ่มสามเณร และหากนำสื่อโมชันกราฟิกที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในกลุ่มสามเณรอาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของความรู้และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคผิวหนังต่อไป

References

กรมอนามัย. (2556). คู่มืออนามัยสามเณร. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.

กองสุขศึกษา. (2551). สุขบัญญัติแห่งชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 1-16.

ณัฐนันท์ เกตุภาค, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, & อารีวรรณ กลั่นกลิ่น. (2554). ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ป่วย ในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 38(3), 98-109.

ณัฐพงศ์ อุทร, จักรกฤษณ์ วังราษฎร, & วราภรณ์ บุญเชียง. (2563). ผลของการใช้คู่มือการใช้ยาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 16(2), 81-91

ดาราวรรณ รองเมือง, พุทธิดา รอดศรี, วรารัตน์ กลับชุ่ม, ววิราวรรณ ทองสุข, ศรสวรรค์ เพชรคงทอง, สิรินันท์ สร้อยฟ้า, & ศิริขวัญ เสมอภาค.(2557). การใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปากในเด็กวัยก่อนเรียน: ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารสุขภาคใต้, 1(1), 29-41.

ดลวรรณ พวงวิภาต. (2555). ผลการเรียนรู้และความคงทนเรื่องคำศัพท์นิทานภาษาอังกฤษเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 5(2), 598-609.

ธวัชชัย สหพงษ์, & ศิริลักษณ์ จันทพาหะ. (2560). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง คอนแทคเลนส์. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 9-15.

ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ. (2560). สื่อกับการพัฒนาเด็ก. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562, จาก http://humaneco.stou.ac.th/UploadedFile/

-14.pdf

เบญจวรรณ จุปะมะตัง, &ธวัชชัย สหพงษ์. (2560). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ตำนานพระธาตุขามแก่น. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(2), 1-6.

พรเจริญ บัวพุ่ม, สมทรง มณีรอด & เพ็ญเจริญ รอดพรม. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง. วารสารคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7(3).

พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, นิตยา ไทยาภิรมย์, ภารดี นานาศิลป์, พระครูปลัดธงชัย ปุณณชโย, พระชินภัทร ชิน-ภัทฺโท, & อรวรรณ พุ่มพวง. (2553). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ สามเณรวัดศรีโสดา. พยาบาลสาร, 37(ฉบับพิเศษ), 61-73.

ศรีพาวรรณ อินทวงค์. (2551). การพัฒนาสื่อแอนิเมชัน เพื่อการรณรงค์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมโชค เนียนไธสง, มีตรา ธีระเสธียร, นพรัตน์ กุมภะ, มนตรา ตรีชั้น, ธีร์ คำหอม, & อรรถ อารีรอบ. (2561). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโรคอ้วนในเด็ก ช่วงอายุ 6 -12 ปี กรณีศึกษา โรงเรียนวัดดอนเสลา (ปาน พูน รัฐราษฎร์บำรุง). วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(1), 187-201.

สิงหา จันทน์ขาว. (2555). การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารคณะพลศึกษา, 15(ฉบับพิเศษ), 336-351.

สิริวรรณ ยะไชยศรี, สานิตย์ กายาผาด, & พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2558). รูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อการเรียนรู้ด้านการมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(57), 123-130.

สุธัญญา นวลประสิทธิ์, พวงเพชร วุฒิพงศ์ & กษิรา จันทรมณี. (2553). ผลของการใช้สื่อวิดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเองต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยตาต้อกระจกและญาติผู้ดูแล. วารสารสภาการพยาบาล, 25(2), 78-86.

สุดารัตน์ วงศ์คำพา, สานิตย์ กายาผาด, & วิทยา อารีราษฎร์. (2554). พัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อรณรงค์แก้ปัญหาเด็กอ้วน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 31(2), 155-163.

แสงหล้า พิทาคำ. (2552). การปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคผิวหนังในนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรุณี ยันตรปกรณ์, ปณิธาน มหุวรรณ, ปภาวดี คาเทพ, รัตติยากร รักเสนาะ, รัตนวรรณ ท่าราชทัย & อภิญญา นะวะศรี. (2561). การพัฒนาสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่องผลกระทบของการใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ (ครั้งที่ 4) และนานาชาติ (ครั้งที่ 2) เรื่อง การวิจัยและนวัตกรรมด้านสุขภาพ. (หน้า 524-538). กรุงเทพฯ: เครือข่ายสถาบัน วิชาการสาธารณสุขและเทคโนโลยีทางการแพทย์.

McGriff, S.J. (2000). Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. PA: Instructional Systems, College of Education, Penn State University.

ThaiQuote. (2560). สามเณร 4.0. กรมอนามัยจับมือภาคีเครือข่ายพัฒนาสุขอนามัย. ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2562, จาก https://www.thaiquote.org/content/205089

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19