ปัจจัยทางการบริหารและการบริหารเวลาที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของ ทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • Sasina Sihanat -
  • สุรชัย พิมหา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนาพร ปิ่นสุวรรณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, การบริหารเวลา, คุณภาพชีวิตการทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและการบริหารเวลาที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุดรธานี โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด 100 คน และมีการใช้สถิติอ้างอิงเพื่ออธิบายไปยังประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และกลุ่มบุคคลที่ใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่ามีข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 จำนวน 106 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 99.06 จากนั้นปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถาม เพื่อความสมบูรณ์ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช 0.98 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง 13 มกราคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยทางการบริหาร ระดับการบริหารเวลาและระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดอุดรธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 (s = 0.70), 4.00 (s = 0.60) และ 3.84 (s = 0.66) ตามลำดับ ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.671, p-value<0.001, 95% CI: 0.497 – 0.779) และการบริหารเวลามีความสัมพันธ์ระดับสูงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.723, p-value<0.001, 95% CI: 0.646 – 0.953) ทั้งนี้ ตัวแปรการบริหารเวลาด้านการลำดับความสำคัญของงาน ปัจจัยทางการบริหารด้านบุคลากร และการบริหารเวลาด้านการกำหนดช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร มีผลและสามารถร่วมกันในการทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดอุดรธานี ได้ร้อยละ 64 (r2 = 0.640, p – value < 0.001)

References

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2563). รายงานประจำปี 2563. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี.

กาญจนา พิทักษ์วาณิชย์ & ประจักร บัวผัน. (2559). บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรโรงพยาบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 16(1), 90-103.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). บริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข.

จารุณี บุญญวิจิตร์. (2544). การบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด. วารสารสุทธิปริทัศน์, 15(47), 52-55.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2542). การบริหารเวลา. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ประจักร บัวผัน. (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เพ็ญนภา ชาดี & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านทันตกรรมป้องกันของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 30(1), 92-102.

ภูมิฤทัย จุรัณณะ & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2563). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานตามพันธกิจที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดของนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยมข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(3), 158-166.

รัชนีวรรณ ภูมิสะอาด & วรยา มณีลังกา. (2561). บทบาทหน้าที่และความก้าวหน้าของทันตาภิบาลกรณีศึกษาที่ปฏิบัติงานในเขตสุขภาพที่ 7. วารสารทันตาภิบาล, 29(1), 57-70.

ศรัณยา พันธุ์โยธา & ประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข, 21(2), 152-165.

ศศิธร เฝ้าทรัพย์ & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2560). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 28(1), 23-34.

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2553). การบริหารเวลา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2565). จำนวนบุคลากรสาธารณสุขจำแนกตาม providertype เขตสุขภาพที่ 8 จังหวัดอุดรธานี ปี งบประมาณ 2565: แฟ้ม provider จำแนกตาม providertype เขตสุขภาพที่ 8 จังหวัดอุดรธานี ปี งบประมาณ 2565. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี.

สำเริง จันทรสุววรณ & สุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรวรรณ สินค้า & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). ปัจจัยทางการบริหารและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 613-622.

อานัน เพชรล้อมพลอย. (2546). คู่มือการบริหารเวลาของผู้จัดการ. กรุงเทพฯ: กู๊ดมอร์นิ่ง.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale: Lawrence Erlbaum.

Elifson, K.W., Runyon, R.P., & Haber, A. (1990). Fundamental of social statistics. New York: McGraw-Hill.

Keopaseuth, P., ประจักร บัวผัน และสุรชัย พิมหา. (2563). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐเขตนครหลวงเวียงจันทน์. วารสารวิจัยมข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2),

-107.

Likert, R. (1967). Attitude theory and measurement. New York: John Wiley & Sons.

Walton, R.E. (1973). Quality of working life: What is it. Sloan Management Review, 4(7), 20-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19