คุณภาพการนอนหลับ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อภิสิทธิ์ อ้วนวงษ์ -

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, คุณภาพการนอนหลับ, การบริโภคอาหาร, ความเครียด

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุมักประสบปัญหาการนอนหลับที่ไม่ดี โดยมีหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับ และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับของผู้สูงอายุ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีที่อาศัยอยู่ที่อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 364 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ประเมินคุณภาพการนอนหลับด้วยแบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของพิตต์สเบิร์ก (PSQI) เก็บข้อมูลปัจจัยด้านต่าง ๆ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล การบริโภคอาหาร การเคลื่อนไหวร่างกาย ความเครียด และสภาพแวดล้อมของการนอน/กิจกรรมก่อนนอน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆ กับคุณภาพการนอนหลับโดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติกพหุ

ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่ศึกษามีอายุเฉลี่ย 68.35 ± 3.88 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 78  ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดีร้อยละ 51.10 (95% CI: 45.95 - 56.22)  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศหญิง ( (ORadj)=3.87 ; 95% CI 2.10 - 7.14, p <0.001) ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี (ORadj=3.30; 95% CI 1.74-6.24, p<0.001) การมีโรคประจำตัว (ORadj=1.92; 95% CI 1.16-3.19, p=0.011) การมีความเครียดระดับปานกลางขึ้นไป (ORadj= 3.88; 95% CI 1.63-9.23, p=0.002) การบริโภคผักน้อยกว่า 4 ครั้ง/สัปดาห์ (ORadj=2.12; 95% CI1.16-3.87, p=0.014)  สรุป ผู้สูงอายุที่ศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี หน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรจัดโครงการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมคลายเครียด ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมที่เหมาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุเพศหญิง ที่มีโรคประจำตัว ควรให้คำแนะนำเป็นพิเศษ

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). 93 วันสู่สังคม”คนชรา” 5 จังหวัด? คนแก่เยอะสุด-น้อยสุด. ค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30453.

โชติมันต์ ชินวรารักษ์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, นัฏศรา ดำรงพิวัฒน์. (2561). คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในผู้สูงอายุที่หมู่บ้าน

ประชานิเวศน์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(2), 199-210.

ตุลยา สีตสุวรรณ, สนทรรศ บุษราทิจ, พิมลรัตนา อัมพวัลย์, และวัฒนชัย โชตินัยวัตรกุล. การทดสอบความเที่ยงและความตรงของแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับพิตส์เบิร์กฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับ. J Med Assoc Thai 2014, 97(3), 57-67.

เทศบาลตำบลแก่นฝาง. (2563). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. ค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564, จาก http://www.kaenfang.go.th/page.php?menuid=7.

ยุพาวดี ขันทบัลลัง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 1(2), 15-30.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ประชากรจำแนกเพศกลุ่มอายุรายปี. ค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0

รังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2560). อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(3), 1-16.

สุดารัตน์ ชัยอาจ,พวงพะยอม ปัญญา. (2548). การนอนไม่หลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารสภาการพยาบาล, 20(2), 1-12.

สุพิภา พวงสมบัติวนิช. (2564). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับและภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ. PCFM, 4(1), 61-73.

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร. (2564). การนอนหลับของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาล, 36(2), 18-31.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2541). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง.

วารสารสวนปรุง, 13(3), 1-20.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. (2558). แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อัญชลี ชุ่มบัวทอง. (2552). วงจรการนอนหลับ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 18, 294-304.

Bloom, B. S., et al. (1971). Handbook on Formative and Summative Evalution of Student Learning.

New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Cappuccio, F. P., Cooper, D., D'Elia, L., Strazzullo, P., & Miller, M. A. (2011). Sleep duration predicts cardiovascular outcomes: a systematic review and meta-analysis of prospective studies. European Heart Journal, 32(12),

–1492.

Cao, Y., Taylor, A. W., Wittert, G., Adams, R., & Shi, Z. (2017). Dietary patterns and sleep parameters in a cohort of community dwelling Australian men. Asia Pacific Journal of Clinical Nutrition, 26(6), 1158–1169.

Chennaoui, M., Arnal, P. J., Sauvet, F., & Léger, D. (2015). Sleep and exercise: a reciprocal issue?. Sleep Medicine Reviews, 20, 59–72.

Feng, F., Zhang, Y., Hou, J., Cai, J., Jiang, Q., Li, X., Zhao, Q., & Li, B. A. (2018). Can music improve sleep quality in adults with primary insomnia? A systematic review and network meta-analysis. International Journal of Nursing Studies, 77, 189–196.

Godos, J., Grosso, G., Castellano, S., Galvano, F., Caraci, F., & Ferri, R. (2021). Association between diet and sleep quality: a systematic review. Sleep Medicine Reviews, 57, 101430.

Gao, Q., Kou, T., Zhuang, B., Ren, Y., Dong, X., & Wang, Q. (2018). The association between vitamin d deficiency and sleep disorders: a systematic review and meta-analysis. Nutrients, 10(10), 1395.

Kushkesthani, M., Parvani, M., Moradi, K., Moghadassi, M. (2020) Malnutrition is associated with cognitive function, tiredness and sleep q quality in elderly living nursing home. Journal of Aging Science, 8, 233.

Methipisit, T., Mungthin, M., Saengwanitch, S., Ruangkana, P., Chinwarun, Y., Ruangkanchanasetr, P., et.al. (2016). The development of sleep questionnaires Thai version (ESS, SA-SDQ, and PSQI): Linguistic validation, reliability analysis and cut-off Level to determine sleep related problems in Thai population. Journal of Medical Assocociation of Thailand, 99(8), 893–903.

Padumanonda, T. & Johns, J. (2013). Determination of melatonin content in traditional Thai herbal remedies used as sleeping aids. Planta Medica, 79(10).

Pereira, N., Naufel, M. F., Ribeiro, E. B., Tufik, S. et al. (2020). Influence of dietary sources of melatonin on sleep quality: A review. Journal of Food Science, 85(1), 5–13.

Rubio-Arias, J. Á., Rodríguez-Fernández, R., Andreu, L., Martínez-Aranda, L. M., Martínez-Rodriguez, A. et al. (2019). Effect of sleep quality on the prevalence of sarcopenia in older adults: A systematic review with meta-Analysis. Journal of Clinical Medicine, 8(12), 2156.

Schwartz, S., Anderson, W. M., Cole, S. R., Cornoni-Huntley, J. et al. (1999). Insomnia and heart disease: a review of epidemiologic studies. Journal of Psychosomatic Research, 47(4), 313-333.

Shan, Z., Ma, H., Xie, M. (2015). Sleep duration and risk of type 2 diabetes: a meta-analysis of prospective studies. Diabetes Care, 38(3), 529–537.

Stone, K. L., & Xiao, Q. (2018). Impact of poor sleep on physical and mental health in older women. Sleep Medicine Clinics, 13(3), 457–465.

Thichumpa, W., Howteerakul, N., Suwannapong, N., & Tantrakul, V. (2018). Sleep quality and associated factors among the elderly living in rural Chiang Rai, northern Thailand. Epidemiology and Health, 40.

Zarcone, V. P. (2000). Sleep hygiene. In Kryger, M. H., Roth, T. & Dement, W. C. (Eds.). Principles and Practices of Sleep Medicine. 3rd ed. Philadelphia: WB Saunders Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-21