การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การเฝ้าระวังป้องกัน, โรคพิษสุนัขบ้า, การมีส่วนรวมบทคัดย่อ
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ร้ายแรงที่สามารถก่อโรคได้ทั้งคนและสัตว์ ในจังหวัดศรีสะเกษโรคพิษสุนัขบ้ายังถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงานร่วมกันจากหลายหน่วยงานและสหวิชาชีพหลายสาขาในการดำเนินการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สำเร็จ การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลของรูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดศรีสะเกษ แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบฯ ตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพตามวงล้อของ DEMMING CYCLE (PDCA) จำนวน 3 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภาคีเครือข่าย จำนวน 50 คน และระยะที่ 2 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 56 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยใช้สถิติ Independent t-test, Paired t-test นำเสนอด้วยค่า Mean difference และช่วงเชื่อมั่น 95%
ผลการวิจัย ได้รูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดศรีสะเกษ แบบ 5G ประกอบด้วย 1) การพัฒนาความรู้ การจัดการตนเอง และการทำงานเป็นทีม (Good team) 2) ระบบเฝ้าระวัง ตรวจจับโรคที่ดี (Good surveillance systems) 3) การประสานงานเครือข่ายที่ดี (Good Collaboration) 4) ระบบรายงานโรคที่มีประสิทธิภาพ (Good reporting systems) และ 5) การบริหารจัดการวัคซีนที่ดี (Good vaccine management) และหลังพัฒนารูปแบบฯ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยความรู้ 1.18 คะแนน (95% CI: 0.78-1.57) ทัศนคติ 2.35 คะแนน (95% CI: 1.52-3.19) และพฤติกรรมการป้องกัน 4.34 คะแนน (95% CI: 2.05-6.63)
โดยสรุปพบว่า รูปแบบ 5G ในการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยที่ชุมชนมีส่วนร่วม มีประสิทธิผลในการพัฒนาด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน ซึ่งจะเป็นกรอบของกระบวนการจัดการและความท้าทายในการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
References
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2563). รายงานสรุปสถานการณ์และผลการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2563. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (อัดสำเนา).
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). รายงานสรุปสถานการณ์และผลการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2565. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (อัดสำเนา).
กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน สำนักโรคติดต่อทั่วไป. (2562). เอกสารประกอบการประชุมเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2562 ร่วมมือสร้างภูมิคุ้มกันทั่วไทย ปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กรมปศุสัตว์. (2560). แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานโครงการ สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ปี 260-2563. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกสรและสหกรณ์.
กรรญา ภานุรักษ์, ศศิกานต์ ไพลกลาง, & ฐนกร ศรีธราพิพัฒน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดำเนินการสร้างเขตปลอดโรพิษสุนัขบ้าในชุมชนแบบมีส่วนร่วม เทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1),
-78.
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: กองระบาดวิทยา.
โกวิทย์ พวงงาม. (2541). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
จันทกานต์ วลัยเสถียร. (2564). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ต้นแบบ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์. นครราชสีมา. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา.
ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร, บุญทนาการ พรมภักดี, จุลจิลา หินจำปา, คณยศ ชัยอาจ, & กิตติศักดิ์ สีสด. (2563). รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโมเดลเชิงตรรกะตามนโยบายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชช.). วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 27(3); 111-132.
พงษ์เดช สารการ. (2558). ชีวสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูล: STATA10. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์. (2565). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนภาคตะวันออก ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชาญ บุญกิติกร, (2566). แนวทางการผลักดันการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าผ่านกลไกคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัด. เอกสารประกอบการประชุมโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าฯ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค.
สุวิมล ว่องวานิช. (2552). การออกแบบและประเมินโครงการโดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง. วารสารการวิจัยสังคมศาสตร์, 16, 7-25.
สุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร. (2565). การพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานและเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี, 20(2), 9-23.
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). รายงานผลตรวจติดตามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าฯ ประจำปี
พ.ศ. 2565. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://lamphun1.go.th/wp-content/uploads/2023/03/ว408แจ้งข้อเสนอแนะจากการตรวจติดตามโครงการ_removed.pdf
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีฯ. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
หทัยกาญจน์ ยางศรี, สงครามชัย สีทองดี, & จมาภรณ์ ใจภักดี. (2560). รูปแบบการดำเนินงานและการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน เพื่อให้เป็นเขตพื้นที่ปลอดโรค อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(2), 87-95.
Deming, W. (1986). Out of the crisis. New York: MIT Press.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.
The Thai Red Cross Society. (2018). The Thai red cross society: The campaign-day for the rabies disease 2561. Retrieved October 8, 2018, from https://www.redcross.or.th/news/ information/4898.
WHO, FOA, OIE, & GARC Partners. (2018). The global goal of Zero human rabies deaths by 2030. Geneva: WHO.
World Health Organization [WHO]. (2018). WHO expert consolation on rabies. Geneva: WHO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.