ผลของโปรแกรมสุขภาวะ ลดภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนของเด็กวัยเรียนในโรงเรียน บ้านห้วยหว้า ตำบลห้วยบง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขภาวะลดภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนของเด็กวัยเรียนในโรงเรียนบ้านห้วยหว้า ตำบลห้วยบง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือเด็กวัยเรียนอายุระหว่าง 6 – 12 ปี ที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ คู่มือการลดภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนในนักเรียน ตารางโปรแกรมออกกำลังกายด้วยการเดิน เดินเร็ว และเต้นแอโรบิก 8 สัปดาห์ แบบบันทึกการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายของนักเรียน ที่พัฒนาขึ้นและผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านความเชื่อมั่น ข้อคำถามวัดความรู้ ได้ค่า KR – 20 = 0.73 ข้อคำถามวัดทัศนคติ และการปฏิบัติ ได้ค่า Croncbach’s Alpha Coefficient = 0.72 และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนภายในกลุ่มวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired t - test
ผลการศึกษาหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความรู้ในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ( = 19.69, S.D. = 0.47) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ( = 19.12, S.D. = 0.61) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.003 (Mean difference = 0.56, 95% CI = 0.22 to 0.89) ทัศนคติในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านทัศนคติในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ( = 3.83, S.D. = 0.16) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ( = 3.73, S.D. = 0.28) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.03 (Mean difference = 0.09, 95% CI = 0.01 to 0.17) การปฏิบัติในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการปฏิบัติในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย( = 3.07, S.D. = 0.30) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ( = 2.77, S.D. = 0.52) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.005 (Mean difference = 0.29, 95% CI = 0.10 to 0.48)
สรุป การส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนในวัยเรียน เป็นกระบวนการที่ควรมีการพัฒนาให้เกิดขึ้นในบริบทของโรงเรียน เนื่องจากมีความสอดคล้องกับแนวทางการจัดบริการ และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งถ้าดำเนินการอย่างต่อเนื่องจะทำให้นักเรียนเกิดการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ดี มีต้นทุนสุขภาพที่ดี และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมา
References
กรมอนามัย. (2564). การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่นและกลไกการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เขตสุขภาพที่ 9 ปีงบประมาณ 2564.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6-14 ปี) มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ระดับเขตสุขภาพ. สืบค้นวันที่ 28 มิ.ย. 2565 จาก https://shorturl.asia/WE0Y5
จตุพร จำรองเพ็ง และคณะ. (2562). ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายและน้ำหนักตัวของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 13(1), 3-9.
นภาเพ็ญ จันทขัมมา และคณะ. (2563). ผลของโปรแกรมการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐานของนักเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารแพทย์นาวี, 47(2), 301-314.
ไมลา อิสสระสงคราม และทัศนีย์ บุญประคอง. (2562). ผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินในเด็กวัยเรียนของผู้เลี้ยงดู. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(1), 36-44.
วราวรรณ สมบุญนาค. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน. วารสารสุขศึกษา, 43(1), 38-46.
ศิรดา เสนพริก. (2560). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 299-312.
ศุภลักษณ์ ศรีธัญญาและคณะ. (2562). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 31(2), 87-95.
อัศรีย์ พิชัยรัตน์ และวรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพต่อน้ำหนักตัวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในเขตชนบท จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมชนกราชชนนี กรุงเทพ. 30(3), 66-74
อรอนงค์ ชูแก้ว. (2558). ได้ศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะอ้วน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
World Health Organization. Facts about overweight and obesity [online]. 2021 [cited 2021/7/20]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.