ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุวภัทร ทันแก้วเจริญ -

คำสำคัญ:

อาการไม่พึงประสงค์, วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19, ปัจจัย

บทคัดย่อ

การฉีดวัคซีนสามารถควบคุมการระบาด และการลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ให้ครอบคลุมประชากรทั้งหมด อย่างไรก็ตามการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ยังคงต้องเฝ้าระวัง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) มีการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากฐานข้อมูลเวชระเบียนของผู้ป่วย โรงพยาบาลพล ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564 จำนวน 452 ราย และมีการติดตามหลังได้รับวัคซีนต่อระยะเวลา 1 เดือน จากรายงาน (AEFI) การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Adverse Events Following Immunization: AEFI)  โปรแกรม Hosxp แอปหมอพร้อม วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติพหุถดถอยแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป (Generalized Linear Model, GLMs) นำเสนอ ค่า Adjusted relative risk ค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า ผู้มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เป็น 1.83 เท่าเมื่อเทียบกับผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป  (Adjusted RR=1.83; 95%CI=1.38-2.43) ผู้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เป็น 2.04 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 (Adjusted RR=2.04; 95%CI=1.60-2.60) สรุป ผู้มีอายุน้อยกว่า 40 ปี และจำนวนเข็มวัคซีน มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวังอาการหลังฉีดวัคซีนในกลุ่มนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์

References

กรมควบคุมโรค. (2564ก). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์ระบาดปี 64 ของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2564, จาก https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/covid-19-public-Vaccine-040664.pdf

กรมควบคุมโรค. (2564ข). สถานการณ์ AEFI COVID-19. ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2564, จาก https://eventbased-doe.moph.go.th/aefi/ dashboard

กรมควบคุมโรค. (2564ค). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ภายในประเทศ. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม. (2564). การรับมือผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2565, จาก https://chulalongkornhospital.go.th/ kcmh/line/การรับมือผลข้างเคียงวั/

รนินทร์ อัศววิเชียรจินดาจาร. (2564). วัคซีนโควิด 19 กับการใช้ยารักษาไมเกรน. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/วัคซีนโควิด-19-กับการใช้ย/

รับพร ทักษิณวราจาร. (2564). ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด 19 เพื่อเตรียมการรับมือกับการฉีดวัคซีน. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก https://www.praram9.com/covid-vaccine-side-effect/

สุนิสา เบาเออร์.(2564). ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกำหนดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19: กรณีศึกษาประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 14(1), 1-27.

Global Change Data Lab. (2021). COVID-19 data explorer. Retrieved October 16, 2021, from https://ourworldindata.org/ explorers/coronavirus-data-explorer?facet=none&pickerSort=desc&picker Metric=population&Interval=7day+rolling+ average&Relative+to+Population=true&Color+by+test+positivity=false&country=~OWID_WRL&Metric=Confirmed+deaths

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in medicine, 17(14), 1623-1634.

Lai, F. T. T., Leung, M. T. Y., Chan, E. W. W., Huang, L., Lau, L. K. W., Peng, K., et al. (2022). Self-reported reactogenicity of CoronaVac (Sinovac) compared with Comirnaty (Pfizer-BioNTech): A prospective cohort study with intensive monitoring. Vaccine, 40(10), 1390-1396.

Ministry of Health. MOPH Immunization Center. Retrieved September 21, 2021, from https://cvp1.moph.go.th/dashboard/

Riad, A., Sağıroğlu, D., Üstün, B., Pokorná, A., Klugarová, J., Attia, S., et al. (2021). Prevalence and risk factors of CoronaVac side effects: an independent cross-sectional study among healthcare workers in Turkey. Journal of Clinical Medicine, 10(12), 2629.

Serap, B. A. T. I., Burucu, R., Cantekin, I., & Donmez, H. (2021). Determining the side effects of COVID-19 (Sinovac) vaccination on nurses: An independent descriptive study. Konuralp Medical Journal, 13(S1), 479-487.

World Health Organization. (2021). WHO Coronavirus (COVID-19) dashboard. Retrieved September 6, 2021, from https://covid19.who.int/

World Health Organization. (2022). COVID-19 vaccine tracker and landscape. Retrieved September 6, 2021, from https://www.who.int/publications/m/item/draft-landscape-of-covid-19-candidate-vaccines

Zhang, M. X., Zhang, T. T., Shi, G. F., Cheng, F. M., Zheng, Y. M., Tung, T. H., et al. (2021). Safety of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine among healthcare workers in China. Expert Review of Vaccines, 20(7), 891-898.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-30