การกระจายเชิงพื้นที่ของการหกล้มของผู้สูงอายุในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณฐกร นิลเนตร คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การกระจายเชิงพื้นที่, การหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การหกล้มเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บที่เข้ารักษาในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยและการหกล้มเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่ความพิการและเสียชีวิตในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งการกระจายเชิงพื้นที่ของการหกล้มของผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง

การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและการกระจายเชิงพื้นที่ของการหกล้มของผู้สูงอายุประเทศไทยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 40,489 ราย ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแบบสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560 สำนักงานสถิติแห่งชาติ วิเคราะห์ข้อมูลทั้งสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ด้วย Spatial Autocorrelation นำเสนอด้วยค่า Local Indicators of Spatial Association (LISA), Moran’s I

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการหกล้มในผู้สูงอายุ ร้อยละ 6.47 (95%CI=5.943-7.026) ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนปลาย (80 ปีขึ้นไป) มีความชุกของการหกล้ม ร้อยละ 8.14 (95%CI=7.433-8.897) เพศชายมีความชุกของการหกล้ม ร้อยละ 5.23 (95CI=4.905-5.569) ผู้สูงอายุที่อาศัยในพื้นที่ภาคใต้มีความชุกของการหกล้ม ร้อยละ 7.80 (95%CI=7.102-8.538) ซึ่งจังหวัดที่พบการหกล้มมากที่สุดคือจังหวัดกระบี่ ร้อยละ 16.51 และน้อยที่สุดคือจังหวัดอุดรธานี ร้อยละ 0.93 และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่แบบ Univariate Moran’s I พบว่าพื้นที่ใกล้เคียงรอบข้างมีสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ที่มีรูปแบบการกระจายตัวในทิศทางเดียวกันกับความชุกของการหกล้ม (p<0.05) โดยมีค่า Moran’s I เป็น 0.053 ซึ่งพบบริเวณที่มีการกระจุกตัวของพื้นที่ใกล้เคียงรอบข้างกับความชุกของการหกล้มที่มีค่าสูงหรือพื้นที่เสี่ยง (Hot spot or High-High) ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดยโสธรและจังหวัดภูเก็ต

ดังนั้นหน่วยงานระดับประเทศ ภูมิภาคที่เกี่ยวข้องควรนำผลการกระจายเชิงพื้นที่นี้ไปวางแผนงานนโยบายด้านสุขภาพเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันการหกล้ม ลดความพิการ และเสียชีวิตจากการหกล้มของผู้สูงอายุในระยะยาวต่อไป

Author Biography

ณฐกร นิลเนตร, คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ส.ม. (วิทยการระบาด)

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ปิรามิดประชากรรวมทั้งหมดปี 2563. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก https://dashboard. anamai.moph.go.th/dashboard

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.

จตุพร เหลืองอุบล, สุมัทนา กลางคาร, & วรพจน์ พรหมสัตยพจน์. (2563). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงวัยในเขตชนบทจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 27(3), 11-21

ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์ , จีราพร ทองดี, & จิตติยา สมบัติบูรณ์. (2559). อุบัติการณ์ของการหกล้มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 27(1), 123-138.

ปิ่นนเรศ กาศอุดม, ฆนรส อภิญญาลังกร, กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ, & นิมัสตูรา แว. (2561). บทบาทครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(3), 300-310.

เพ็ญพักตร์ หนูผุด, ดุสิต พรหมอ่อน, สมเกียรติยศ วรเดช, & ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2563). ความชุกของภาวะเสี่ยงล้มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะเสี่ยงล้มในกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(1), 125-137.

รอยล จิตรดอน. (2560). สถานการณ์ฝนและน้ำประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร, 1(1), 1-9.

วิชัย เอกพลากร. (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2557). การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างนโยบายที่เหมาะสมกับการดำเนินงานในเชิงพื้นที่ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสมดุล. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2557). การหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษกิจและสังคม. (2561). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษกิจและสังคม.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Anselin, L. (1995). Local indicators of spatial association-LISA. Geographical Analysis, 27(2), 93-115.

Anselin, L., Syabri, I., & Kho, Y. (2006). GeoDa: An introduction to spatial data analysis. Geographical Analysis, 38(1), 5-22.

Carlos, H. O. (2014). Prevalence and determinants of fall-related injuries among older adults in Ecuador. Current Gerontology and Geriatrics Research, e863473.

Centers for Disease Control and Prevention. (2015). Costs of falls among older adults. Retrieved February 28, 2021, from http://www.cdc.gov/homeandrecreationalsafety/falls/fallcost.html

Centers for Disease Control and Prevention. (2019). Older adult fall prevention. Retrieved March 30, 2021, from https://www.cdc.gov/falls/index.html

Jing, S., Bai, Y. Z., Yong, K. T., Pu, L. Y., Chuan, F. Z., Zhao, H. Q., et al. (2014). Incidence and associated factors for single and recurrent falls among the elderly in an urban community of Beijing. Biomedical and Environmental Sciences, 27(12), 939-949.

José, E. F., Wyngrid. P. B., Juliano, B. M. D., Alexandre, W. C. B., Raquel, R. B., & Diogo, C. F. (2019). Prevalence of falls and associated factors in community-dwelling older Brazilians: A systematic review and meta-analysis. Cadernos De Saude Publica, 35(8), 1-16.

Marcela, A. B., Giraldo-Rodríguez, L., Murillo-González, J. C., Mino-León, D., & Cruz-Arenas, E. (2018). Factors associated with occasional and recurrent falls in Mexican community-dwelling older people. PloS One, 13(2), 1-12.

McLafferty, S. L. (2003). GIS and health care. Annual Review of Public Health, 24(1), 25-42.

Miller, C. (2015). Nursing for wellness in older adults. Philadelphia: Wolters Kluwe.

Nykiforuk, C. I., & Flaman, L. M. (2011). Geographic information systems (GIS) for health promotion and public health: A review. Health Promotion Practice, 12(1), 63-73.

Orasa, P., Atthaphol, R., Chitsirin, K., & Rattanawadee, T. (2018). The related factors to elderly fall in Huaroe Subdistrict Mueang Didtrict Phitsanulok Province. PSRU Journal of Science and Technology, 3(2), 46-54.

Poh, C. L., Low, C. T., Martin, W., & Wing, C.W. (2009). Spatial analysis of falls in an urban community of Hong Kong. International Journal of Health Geographics, 8(1), 14.

Savita, S. P., Suryanarayana, S. P., Dinesh, R., Shivraj, N. S., & Murthy, N. S. (2015). Risk factors for falls among elderly:

A community-based study. International Journal of Health & Allied Sciences, 4(3), 135-140.

Steiniger, S., & Hunter, A. J. (2013). The 2012 free and open-source GIS software map: A guide to facilitate research, development, and adoption. Computers, environment, and urban systems, 39, 136-150.

Thammawongsa, P., Laohasiriwong, W., Prasit, N., & Phimha, S. (2021). Spatial Association Patterns of Smoking, Tobacco Outlet Density, and Secondhand Smoke in Thailand. Journal of Southwest Jiaotong University, 56(5), 351-361.

World Health Organization. (2019). World health statistics 2019. Retrieved April 26, 2021, from https://www.who.int/ data/gho/publications/world-health-statistics

World Health Organization. (2021). Fact sheet: Fall. Retrieved March 1, 2022, from http://www.who.int/mediacentre/ factsheets/fs344/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-15