ฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากลูกหม่อนและเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวในการยับยั้งการสร้างโปรตีน Interleukin 1β และ Interleukin 6
คำสำคัญ:
ลูกหม่อน, ฟักข้าว, สารพฤกษเคมี, Interleukin 1β, Interleukin 6บทคัดย่อ
การอักเสบเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นด้วยสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส เป็นต้น เมื่อเกิดการอักเสบ ร่างกายจะเกิดการตอบโดยการหลั่งสารไซโตไคน์ (cytokine) ได้แก่ tumor necrosis factor α (TNFα), Interleukine 6 (IL6), Interleukine1β (IL1β) และ Interleukine 8 (IL8) เป็นต้น จากเซลล์ต่าง ๆ ของระบบภูมิภูมิคุ้มกัน และกระตุ้นให้เซลล์เกิดการตอบสนองต่อกระบวนการอักเสบ ผ่านการทำงานของ NF-kB ซึ่งเป็น nuclear transcription factor ที่สามารถควบคุมการแสดงออกของยีนหลายชนิดซึ่งล้วนก่อให้เกิดกระบวนการอักเสบทั้งสิ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีของสารสกัดจากลูกหม่อนและเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว ได้แก่ สารฟีนอลิกทั้งหมด และสารฟลาโวนอยด์ โดยใช้วิธี folin-ciocalteu spectrometric method และ aluminium chloride colorimetry และศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการหลั่งโปรตีน interleukin 1β (IL1β) และ interleukin 6 (IL6) ในเซลล์เพาะเลี้ยงมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด U9T7 ผลการทดลองพบว่า สารสกัดที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และสารประกอบฟลาโวนอยด์ สูงสุดคือ สารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสกัดที่ด้วย แอบโซลูทเอทานอลต่อเอทิลอะซิเตทในอัตราส่วน 6:4 (300.11±610.65 ไมโครกรัมสมมูลกรดแกลิกต่อสารสกัดหยาบ 1 มิลลิกรัม และ 4.68±0.62 ไมโครกรัมเควอร์ซิตินต่อสารสกัด 1 มิลลิกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ) ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ทดสอบด้วยวิธี DPPH พบว่า สารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวที่สกัดด้วยตัวทำละลายทั้ง 2 ชนิด มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระใกล้เคียงกันคือ มีค่า IC50 เท่ากับ 0.32±0.02 และ 0.37±0.01 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่การทดสอบด้วยวิธี FRAP พบว่า สารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสกัดด้วยแอบโซลูทเอทานอลต่อเอทิลอะซิเตท มีค่าที่ดีที่สุดคือ 333.39±6.123 ไมโครกรัมสมมูลกรดแอสคอร์บิคต่อสารสกัด 1 มิลลิกรัมน้ำหนักแห้ง เมื่อทำการทดสอบกับเซลล์เพาะเลี้ยง U9T7 ที่ถูกกระตุ้นให้ตอบสนองต่อการอักเสบ พบว่าทั้งสารสกัดจากฟักข้าวและลูกหม่อน มีแนวโน้มในการยับยั้งการหลั่งของโปรตีน IL1β อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p value>0.05) แต่พบว่าสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวทั้ง 2 ตัวทำละลายสามารถยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน IL6 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<0.05) จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดทั้งจากฟักข้าวและลูกหม่อนสามารถช่วยยับยั้งกระบวนการอักเสบได้ ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ในการช่วยชะลอการอักเสบในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
References
งามตา หมื่นยา, & สุรพล ตั้งวรสิทธิชัย. (2558). ภาวะเครียดทางออกซิเดชันเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต. วารสารเทคนิคการแพทย์; 43(1), 61-70.
ชัชวาล หิงหพล. (2560). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดจากผลฟักข้าวและใบชะมวงต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับ ROS production, MAPK/ERK pathway และไมโตคอนเดรียในเซลล์ neuronal-like neuroblastoma และเซลล์ primary fibroblast ภายใต้สภาวะที่ถูกกดดันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชุษณา เมฆโหรา. (2563). อนุมูลอิสระ การอักเสบ และเบาหวาน. วารสารอาหาร, 50(2), 24-32.
ชุษณา เมฆโหรา, ศิริพร ตันจอ, & เนตรนภิส วัฒนสุชาติ. (2561). คุณสมบัติต้านการอักเสบและอนุมูลอิสระจากภาวะน้ำตาลสูงของสารสกัดถั่วแดงเม็ดเล็กเพาะงอกในเซลล์เม็ดเลือดขาวหนู. วารสารโภชนาการ, 53(2), 84-97.
ธิติพันธ์ จันทพิมพ์. (2549). การเก็บรักษาหม่อนสดพันธุ์เชียงใหม่ (Morus alba var. Chaingmai). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เนตรนภา อุ่นทิ, & ฉัตรภา หัตถโกศล. (2562). ประโยชน์ต่อสุขภาพของผลไม้ตระกูลเบอรี่ที่ปลูกในประเทศไทย. วารสารโภชนาการ, 54(2),
-105.
ประเวท เกษกัน, สุภาภรณ์ ศิลาเลิศเดชกุล, & ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ. (2019). การศึกษาระดับความเข้มข้น อินเตอร์ลิวคิน-6 และ ครีเอทีน ไคเนส ในนักมวยไทยอาชีพ. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 19, 38-47.
ปวิณา อภิบูลย์, ลัดดาวัลย์ เส็งกันไพร, ปาริฉัตร ประจะเนย์, บุญเกิด คงยิ่งยศ, & พัชรีวัลย์ ปั้นเหน่งเพชร์. (2560). ผลของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว (Momordica cochinchinensis Spreng.) ต่อเมแทบอลิซึมของน้ำตาลและไขมัน ในหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินด้วยการเลี้ยงอาหารไขมันและฟรุกโตสสูง. วารสารเภสัชวิทยา, 39(1), 39-47.
ปิยาภัทร ไตรสนธิ. (2560). แคโรทีนอยด์: ความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางเคมีกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ. วารสารอาหาร, 47(2), 29-36.
พรพรรณ สุขบุญ, สริพร ตันติโพธิ์พิพัฒน์, & เกมิกา แพรงาม. (2562). ผลของสารสกัดเอทานอลจากเนื้อและเยื่อหุ้มเมล็ดของผลฟักข้าว ต่อภาวะต้านการอักเสบในเซลล์ไลน์แมคโคฟาจของหนูชนิด RAW264.7 ที่เหนี่ยวนำด้วยไลโปโปลีแซคคาร์ไรด์. วารสารพิษวิทยาไทย, 34(2), 71-90.
ภาเกล้า ภูมิใหญ่, & ชญาณิศา สุพา.(2558). ตัวทำละลายที่มีผลต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดจากพืชสมุนไพร. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2. (หน้า 627-635). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ภัทธิยากร เทสันตะ, จิราพร ละภิล้า, ฐิติยา ลือตระกูล, กาญจนา อู่สุวรรณทิม, ยอดหทัย ทองศร, & พาชื่น โพทัพ. (2563). ผลของสารสกัดจากใบมะรุมต่อ Interleukin-6 ในเซลล์แมคโครฟาจที่กระตุ้นการอักเสบด้วยลิโปโพลีแซคคาไรด์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(6),
-1124
ยลดา ศรีเศรษฐ์, กนกวรรณ จารุกำจร, & วรัญญา จตุพรประเสริฐ. (2559). ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของหม่อน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 12(4), 14-27.
ลือชัย บุตคุป. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นในผลหม่อนสายพันธุ์ต่างๆ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิภัทรา ศุภะจินดา. (2550). การพัฒนาและประเมินผลทางคลินิกของสารสกัดมาตรฐานของผลฟักข้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ศุทธินี ลีลาเหมรัตน์. (2556). การศึกษาสารประกอบฟีนอลิก คุณสมบัติการต้านออกซิเดชัน และความคงตัวของแอนโธไซยานินส์ในสารสกัดกากลูกหม่อน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุธิรา มณีฉาย, & ประสบอร รินทอง. (2017). ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลจากดอกชงโค อัญชัน เข็มฝรั่งและพู่จอมพล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(2), 148-153.
สุภร สุขจำนงค์. (2554). ผลของสารสกัดจากหญ้าแส้ม้าต่อการส่งสัญญาณของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในเซลล์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิดโมโนไซต์และเซลล์สมองเพาะเลี้ยงชนิดเอนโดธีเลียล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หยาดฝน ทนงการกิจ, กาญจนา นาคประสม, & นักรบ นาคประสม. (2559). ผลของกระบวนการต่อสมบัติทางกายภาพและปริมาณแคโรทีนอยด์ในสีผสมอาหารจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว. วารสารเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 11(1), 47-57.
อัจฉรา นิยมเดชา, & มงคล คงเสน. (2556). เมทาบอลิซึมและคุณประโยชน์ของแคโรทีนอยด์ในการเพิ่มความเข้มของสีไข่. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(4), 112-121.
Chantarangsee, M. (2015). Antioxidant and antibacterial activities of ethanolic extracts from different parts of gac fruit. KKU Science Journal, 43(3), 490-502.
Daduang, J., Vichitphan, S., Daduang, S., Hongsprabhas, P. & Boonsiri, P. (2011). High phenolics and antioxidants of some tropical vegetables related to antibacterial and anticancer activities. African Journal of Pharmacy and Pharmacology, 5(5), 608-615.
Kishimoto T. (2006). Interleukin-6: discovery of a pleiotropic cytokine. Arthritis Research & Therapy, 8(Suppl 2), S2.
Luetragoon, T., Pankla Sranujit, R., Noysang, C., Thongsri, Y., Potup, P., Suphrom, N., et al. (2020). Bioactive compounds in moringa oleifera lam. leaves inhibit the pro-inflammatory mediators in lipopolysaccharide-induced human monocyte-derived macrophages. Molecules, 25(1), 191.
Mamta, S., Jyoti, S., Rajeev, N., Singh, D., & Gupta, A. (2013). Phytochemistry of medicinal plants. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 1(6), 168-182.
Tinrat, S. (2014). Comparison of antioxidant and antimicrobial activities of unripe and ripe fruit extracts of Momordica cochinchinensis Spreng (Gac fruit). International Journal of Pharmaceutical Sciences Review and Research, 28(1), 75-82.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.