ผลของสารสกัดจากผลฟักข้าวต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นบนผิวหนัง Staphylococcus epidermidis และยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรค Staphylococcus aureus
คำสำคัญ:
ฟักข้าว, เชื้อแบคทีเรียประจำถิ่น, เชื้อก่อโรค, สแตปฟิโลคอคคัส อีพิเดอร์มิดิส, สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสบทคัดย่อ
ฟักข้าว (Momordica Cochinchinensis (Lour.) Spreng.) เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสาระสำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ในขณะเดียวกันมีประโยชน์ต่อการเจริญของเชื้อโพรไบโอติก เช่น เชื้อ Staphylococcus epidermidis ซึ่งช่วยป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคบนผิวหนัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ของสารสกัดจากฟักข้าว รวมถึงฤทธิ์การส่งเสริมการเจริญของเชื้อ S. epidermidis ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค Staphylococcus aureus จากการศึกษาพบว่า เยื่อหุ้มเมล็ดได้ปริมาณสารสกัดสูงที่สุด และสารสกัดส่วนเปลือกชั้นนอกมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด (29.17 ± 0.28 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิก/กรัมน้ำหนักแห้ง) ขณะที่สารสกัดส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดมีปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์สูงที่สุด (18.28 ± 0.89 มิลลิกรัมสมมูลกรดเควอซิทิน/กรัมน้ำหนักแห้ง) และพบว่าสารสกัดส่วนเปลือกชั้นนอกมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียที่ดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ที่ 50.00 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ที่ 100.00 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และในส่วนการทดสอบการส่งเสริมการเจริญของเชื้อ S. epidermidis พบว่าที่ความเข้มข้นของสารสกัดจากเปลือกชั้นนอกที่ 12.50 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ส่งเสริมให้เชื้อ S. epidermidis เจริญเติบโตได้ดีใกล้เคียงกลุ่มควบคุม ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อนำ cell free supernatant ไปเพาะเลี้ยงเชื้อ S. aureus กลับส่งผลในการควบคุมเชื้อได้ดีที่สุด (10.37 ± 0.31 log โคโลนี/มิลลิลิตร) จากการค้นพบครั้งนี้บ่งชี้ถึงคุณประโยชน์ฟักข้าวในแง่ของการควบคุมเชื้อก่อโรคบนผิวหนัง และสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถนอมผิวเพื่อสุขภาพในอนาคต
References
ณัฐกานต์ วงศ์สีลม, จามจุรี จินะตา, บุษบา มะโนแสน, จิรรัชต์ กันทะขู้, สุรีพร วันควร และ สุภาวดี ศรีแย้ม. (2557). การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคในอาหารของน้ำมันหอมระเหยจากมะแขว่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 37(1), 3-15.
เอนก หาลี, & บุณยกฤต รัตนพันธุ์. (2559). ผลของชนิดตัวทำละลายและความเข้มข้นของกรดซิตริกที่มีต่อการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากข้าวหอมนิล. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 39(3), 353-364.
วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์. (2557). ฟักข้าว. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564, จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/ 0223.pdf
Abdalla, A. E. M., Darwish, S. M., Ayad, E. H. E., & El-Hamahmy, R. M. (2007). Egyptian mango by-product 1: Compositional quality of mango seed kernel. Food Chemistry, 103(4), 1134-1140.
Clinical and Laboratory Standards Institute [CLSI]. (2009). Methods for dilution antimicrobial susceptibility test for bacteria that grow aerobically; approved standard-eighth edition. CLSI documents M07-A8. Clinical and Laboratory Standard Institute, Wayne, PA.
Daduang, J., Daduang, S., Hongsprabhas, P., & Boonsiri, P. (2011). High phenolics and antioxidants of some tropical vegetables related to antibacterial and anticancer activities. African Journal of Pharmacy and Pharmacology, 5(5), 608-615.
Jang, I. T., Yang, M., Kim, H. J., & Park, J. K. (2020). Novel cytoplasmic bacteriocin compounds derived from Staphylococcus epidermidis selectively kill Staphylococcus aureus, including methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA). Pathogens, 9(2), 1-10.
Kaewchomphunuch, T., Charoenpichitnunt, T., Thongbaiyai, V., Ngamwongsatit, N. & Kaeoket, K. (2022). Cell-free culture supernatants of Lactobacillus spp. and Pediococcus spp. inhibit growth of pathogenic Escherichia coli isolated from pigs in Thailand. BMC Veterinary Research, 18(60), 1-13.
Kha, T. C., Nguyen, M. H., & Roach, P. D. (2010). Effects of spray drying conditions on the physicochemical and antioxidant properties of the Gac (Momordica cochinchinensis) fruit aril powder. Journal of Food Engineering, 98(3), 385-392.
Li, B. B., Smith, B., & Hossain, M. (2006). Extraction of phenolics from citrus peels: I, solvent extraction method. Separation and Purification Technology, 48(2), 182-188.
Majdanik, M. M., Kepa, M., Wojtyczka, R. D., Idzik, D., & Wasik, T. J. (2018). Phenolic compounds diminish antibiotic resistance of Staphylococcus aureus clinical strains. International Journal of Environmental Research and Public Health, 22(15), 1-18.
Nakatsuji, T., Chen, T. H., Butcher, A. M., Trzoss, L. L., Nam, S. J., Shirakawa, K. T., et al. (2018). A commensal strain of Staphylococcus epidermidis protects against skin neoplasia. Health and Medicine, 4(2), 1-9.
Ozdal, T., Sela, D. A., Xiao, J., Boyacioglu, D., Chen, F., & Capanoglu, E. (2016). The reciprocal interactions between polyphenols and gut microbiota and effects on bioaccessibility. Nutrients, 8(2), 1-36.
Pacheco-Ordaz, R., Wall-Medrano, A., Goni, M. G., Ramos-Clamont-Montfort, G., Ayala-Zavala, J. F., & Gonzalez-Aguilar, G. A. (2018). Effect of phenolic compounds on the growth of selected probiotic and pathogenic bacteria. Letters in Applied Microbiology, 66(1), 25-31.
Sukumaran, S. et al. (2011). Phytochemical constituents and antibacterial efficacy of the flowers of Peltophorum pterocarpum (DC.) Baker ex Heyne. Asian Pacific Journal of Tropical Medicine, 4(9), 735-738.
Tinrat, S. (2014). Comparison of antioxidant and antimicrobial activities of unripe and ripe fruit extracts of Momordica cochinchinensis Spreng (gac fruit). International Journal of Pharmaceutical Sciences Review and Research, 28(1), 75-82.
Xiaoyong, S., & Luming, C. (2014). Phenolic constituents, antimicrobial and antioxidant properties of blueberry leaves (V5). Journal of Food and Nutrition Research, 2(12), 973-979.
Xie, Y., Yang, W., Tang, F., Chen, X., & Ren, L. (2015). Antibacterial activities of flavonoids: Structure-activity relationship and mechanism. Current Medicinal Chemistry, 22(1), 132-149.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.