ลักษณะทางระบาดวิทยา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง กรณีศึกษาที่โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นฤมล บุษมงคล กรมควบคุมโรค
  • อัจฉริยา เพียรภายลุน โรงพยาบาลนาคู

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: โรคไตเรื้อรัง ปัจจุบันถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก  อุบัติการณ์ของโรคไตเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกประเทศ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากขึ้น สำหรับประเทศไทยความชุกของโรคไตเรื้อรังในประเทศนั้นมีแนวโน้มและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับบุคลากรทางแพทย์ในการวางแผนเป็นการหาแนวทางการลดความรุนแรงของโรคหรือเป็นการหาแนวทางป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยไตเรื้อรัง

 

วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบ Case control study เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียน ที่เป็นทะเบียนประวัติการรักษาที่เก็บไว้ที่โรงพยาบาล โดยมีการบันทึกข้อมูลทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาใช้บริการที่โรงพยาบาล ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล Health Data Center Kalasin  ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลนาคู ระหว่างวันที่  1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 420 ราย  กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-3 กลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multiple Logistic Regression เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร จากนั้นจึงนำเสนอผลการวิเคราะห์ ค่า Crude Odds ratio, Adjust Odds ratio และ 95% Confident interval กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  

 

ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จำนวน 420 ราย พบว่า กลุ่มศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.4  อายุน้อยกว่า 70 ปี ร้อยละ 59.5 อายุเฉลี่ย 65.6  ปี  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.2  ระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษาร้อยละ  80.5  โรคประจำตัวร่วม  ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง  ร้อยละ 46.6  ระยะจากบ้านถึงโรงพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในระยะทาง 21 กิโลเมตร – 35 กิโลเมตร ร้อยละ 58.6 ระยะเวลาที่ทำการรักษาโรคไต ส่วนใหญ่ 2 ปี ร้อยละ 72.4 ความสม่ำเสมอในการรักษา ส่วนใหญ่  1-3 ครั้งต่อระยะเวลาลาการเป็นโรคไต ร้อยละ 65.7 และสิทธิการรักษา ส่วนใหญ่เป็นสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 95.7 กลุ่มควบคุม     ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.3  อายุน้อยกว่า 70 ปี ร้อยละ 81.4 อายุเฉลี่ย 60.6 ปี  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.9  ระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษาร้อยละ  80.5  โรคประจำตัวร่วมส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง  ร้อยละ 46.6 ระยะจากบ้านถึงโรงพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในระยะทาง 100 เมตร – 5 กิโลเมตร ร้อยละ 43.8 ระยะเวลาที่ทำการรักษาโรคไต ส่วนใหญ่ 2 ปี ร้อยละ 83.3               ความสม่ำเสมอในการรักษาส่วนใหญ่  1-3 ครั้งต่อระยะเวลาลาการเป็นโรคไต ร้อยละ 77.1  และสิทธิการรักษาส่วนใหญ่เป็นสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 93.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง พบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง อายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต 3.84 เท่า เมื่อเทียบกับผู้มีอายุน้อยกว่า 70 ปี (AdjOR=3.84,95%CI;2.33-6.34,p<0.001) ระดับการศึกษามัธยมศึกษา สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ ร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับผู้มีระดับการศึกษาประถมศึกษา (AdjOR=0.23, 95%CI; 0.13-0.37, p<0.001) โรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง  ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีโรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต 6.10 เท่า   เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง (AdjOR=6.10, 95%CI; 1.62-22.80, p=0.007) 

 

 สรุปผลการศึกษา  พบว่า อายุ 70 ปีขึ้นไป  ระดับการศึกษามัธยมศึกษา และโรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง       มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยไตเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 คำสำคัญ โรคไตเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนทางไต

 

Author Biography

นฤมล บุษมงคล, กรมควบคุมโรค

นางสาวนฤมล  บุษมงคล นิสิตปริญญาโท  สาขาวิทยาการระบาด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ  สังกัด กรมควบคุมโรค

References

เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศไทย. (2557). ระบาดวิทยาโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2557. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562 จาก http://ryssurvey.com/vichakarn/downloadq.php?f=ddc_ 201812181319148127_150_1001ca.pdf&fc=title%20170.pdf

ณิชกานต์ วงษ์ประกอบ, & ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2560). ปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 23(2), 94-106.

ธนันดา ตระการวนิช. (2556).ไตวายเรื้อรังการป้องกันและการควบคุมโรคไตเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยง. หมอชาวบ้าน, 35(412), 30-31.

นิคม ถนอมเสียง. (2559). คำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับวิเคราะห์ logistic regression กรณีใช้สูตรของ Hsieh, Bloch & Larson (1998). ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562, จาก https://home.kku.ac.th/nikom/Sample_Size_logistic_Hsieh_Nikom.pdf

พัชรภัณฑ์ ไชยสังข์, & ประทีป หมีทอง. (2561). ปัจจัยที่เป็นตัวทำนายโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35(2), 135-138.

ภทรพรรณ อุณาภาค, & ขวัญชัย รัตนมณี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 44-54.

สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). คนไทยเสี่ยงโรคไตเพิ่มขึ้น ลดการใช้ยากลุ่มเอนเสด-ยาชุดเพื่อลดไตวาย. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562, จาก https://www.hfocus.org/content/2018/11/16593

สุณัฐชณา แสนมานิตย์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปรับตัวของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Centers for Disease Control and Prevention Health. (2015). Chonic kidney disease surveillance system. Retrieved December 8, 2019, from https://nccd.cdc.gov/CKD/default.aspx

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ จังหวัดกาฬสินธุ์. (2562). ร้อยละผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เป็น CKD ชะลอการลดลงของ eGFR ได้ตามเป้ายหมายในเขตสุขภาพที่ 7. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562 จาก https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php? source=pformated.php&cat id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=752f4de6e90d3e41b3cb8f8104b2e8bd

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in medicine, 17(14), 1623-1634.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-24

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ