ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุไทย
คำสำคัญ:
โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด, สมรรถภาพทางกาย, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุไทย กลุ่มตัวอย่างที่วิจัย คือ ผู้สูงอายุ อายุระหว่าง 60–75 ปี ในกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 33 คน ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยใช้ยางยืด โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ยางยืด ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม การสาธิตและการฝึกปฏิบัติการออกลังกาย พร้อมทั้งแจกคู่มือการออกกำลังกาย รวบรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความแข็งแรง ความอ่อนตัว ของกล้ามเนื้อ และความอดทนของระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต มากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) จากผลของโปรแกรมแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดมีผลในการเพิ่มสมรรถภาพทางกาย ซึ่งสมควรนำไปใช้ในผู้สูงอายุได้นำมาใช้เป็นแนวทางให้แก่เจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ โดยมีการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุในชุมชนได้ ทำให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง มีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น
References
กนกศิลป์ เข็มจินดา. (2558). สังคมผุ้สูงอายุประเทศไทยพร้อมหรือยัง. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.sanpakornsarn.com/ backend/magazine-file/file1447742954.pdf
เจริญ กระบวนรัตน์. (2549). ยางยืดพิชิตโรค. กรุงเทพฯ: แกรนสปอร์ต.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). ยางยืดพิชิตโรค. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ดวงใจ แซ่หยี. (2553). การออกกำลังกายด้วยยางยืดสุขภาพ. กรุงเทพฯ: พรี-วัน.
ประไพวรรณ์ ศรีเมธาวรคุณ. (2552). กิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในชนบทภาคใต้. สารนิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มยุรี ถนอมสุข. (2558). ผลของโปรแกรมกิจกรรมทางภายแบบผสมผสานต่อระดับกิจกรรมทางกายและสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายผู้สูงอายุ. วารสารวารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ, 43(1), 277-289.
พรรณธร เจริญกุล. (2555). การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งแสงการพิมพ์.
วิไลลักษณ์ ปักษา. (2553). ผลการศึกษาน้ำหนักของร่างกายและด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในผู้สูงอายุ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริการ นิพพิทา, & นภัสกร จิตต์ไพบูลย์. (2550). การศึกษาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยการใช้ยางยืด 2 ชนิด เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ (พัฒนาเชือกยางยืดอีซี่ฟิตและท่าออกกำลังกายด้วยยางยืด 10 ท่ากายบริหาร). นนทบุรี: กรมอนามัย.
ศุภกิจ ศิริลักษณ์. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. นนทบุรี: ตีรณสาร.
สำนักงานพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560, จาก http://social.nesdb.go.th
สำนักงานระบบพัฒนาข่าวสารสุขภาพ. (2560). สำรวจสุขภาพของประชากรไทย ปี 2560. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560, จาก https://www.hiso.or.th
สุพิตร สมาหิโต และคณะ. (2556). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60-89 ปีไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
หทัยรัตน์ สีขำ, วัลลีย์ ภัทโรภาส, & ราตรี เรืองไทย. (2553). ผลของการฝึกชี่กงร่วมกับการใช้ยางยืดรัดรอบอกที่มีต่อสมรรถภาพปอดในผู้สูงอายุ. วิทยาสารกำแพงแสน, 8(2), 65-78.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสําหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
American College of Sports Medicine [ACSM]. (2018). ACSM guidelines for exercise testing and prescription (10th ed.). New York: Lippinkott Williams & Wilkins.
Hyo-Cheol, L., Lee, M. L., & Kim, S.R. (2015). Effect of exercise performance by elderly women on balance ability and muscle function. Journal of Physical Therapy Science, 27(4), 989–992.
Wolson, J., Whipple, R., & King, M. (1995). Strength is a major factor in balance gait and Occurrence of falls. Journals of Gerontology Series A: Biological Sciences and Medical Sciences, 50, 64-67.