ปัจจัยแห่งความสำเร็จและสุนทรียทักษะผู้นำต่อการประเมินโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กฤษณะ อุ่นทะโคตร krissana.aunthakot@gmail.com
  • ประจักร บัวผัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรชัย พิมหา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, สุนทรียทักษะผู้นำ, การประเมินโครงการ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและสุนทรียทักษะผู้นำต่อการประเมินโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 114 คน จากประชากรทั้งหมด 156 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย และตัวอย่างในการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 10 คน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ทุกข้อมากกว่า 0.50 และจากการนำแบบสอบถามไปทดลองใช้และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาชของแบบสอบถามทั้งชุดได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จ ระดับสุนทรียทักษะ ระดับการประเมินโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.79 (S.D.=0.48) ,3.96 (S.D.=0.44) และ 3.81 (S.D.=0.52) ตามลำดับ ภาพรวมปัจจัยแห่งความสำเร็จและสุนทรียทักษะผู้นำมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับการประเมินโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ (r=0.753, p-value<0.001 และ r=0.717, p-value<0.001 ตามลำดับ) และพบว่าทักษะในการสอนงาน การจัดวางระบบการควบคุม เวลาค่าใช้จ่ายและคุณภาพ การอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนโครงการ ทักษะในการสื่อสารและทักษะความสามารถในการนำ สามารถร่วมกันพยากรณ์การประเมินโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร้อยละ 67.2 (R2=0.672)

References

กรรณิการ์ เบ็ญจวนิช, & ชัญญา อภิปาลกุล. (2560). สุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 569-588.

คเณศวร โคตรทา, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2560). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ ในเขตสุขภาพที่ 8. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(ฉบับพิเศษ), 273-291.

จรัญญู ทองอเนก, & ประจักร บัวผัน. (2557). สุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(2), 218-230.

จารุกิจ นาคคำ, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2557). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการรายงานข้อมูลสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 21(1), 1-13.

ณิชนันท์ งามน้อย, & พีระพล รัตนะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 96-105.

ประจักร บัวผัน. (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปกรณ์ ปรียากร. (2545). การบริหารโครงการแนวคิดและแนวทางในการสร้างความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

เพชรสมร ไพรพะยอม, & ประจักร บัวผัน. (2560). การพัฒนาระบบสุขภาพระดับตำบลของผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(3), 11-22.

ภูธร สารสวัสดิ์, & วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดมหาสารคาม.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 6(2), 21-33.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560–2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2560ก). รายงานผลการนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ รอบที่ 1 ปี งบประมาณ 2560. กาฬสินธุ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2560ข). อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.

สมดี โคตรตาแสง, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2558). กระบวนการบริหารที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(3), 137-145.

สุวรีย์ เมตตาพล, ประจักร บัวผัน, & พรทิพย์ คำพอ. (2557). การปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารอาหารและยา, 21(2), 18-26.

อุดม อัศวุตมางกุร, อารยา ประเสริฐชัย, & ช่อทิพย์ บรมธนะรัตน์. (2560). การประเมินผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(2), 124-134.

Crosbie, R. (2005). Learning the soft skills of leadership. Industrial and Commercial Training, 37(1), 45-51.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Sriruecha, C., & Buajan, S. (2017). Leadership soft skills of the director that affects the performance of the subordinate at sub district health promoting hospitals. Social and Behavioral Sciences, 237, 1341–1346.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory models and applications. Sanfrancisco: Jossey-Bass.

Tang, K. N., Ariratana, W., & Treputharan, S. (2013). Perceived leadership soft skills and trustworthiness of deans in three Malaysian public universities. Educational Research for Policy and Practice, 12(3), 211-224.

Wongkalasin, K., Bouphan, P., & Ngang, T. K. (2013). Leadership soft skills that affect organizational climate of District Health Offices in Khon Kaen, Thailand. KKU Reseach Journal, 18(4), 709-720.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31