แนวคิดและทัศนคติต่อการจัดการขยะของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาเพื่อพัฒนารูปแบบการ จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • จอมจันทร์ นทีวัฒนา

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวคิดและทัศนคติต่อการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยพะเยามีความสาคัญอย่างยิ่ง
ต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจสถานการณ์
ปัญหา แนวคิด และทัศนคติต่อการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยในภาคส่วนของนิสิตนักศึกษา และนาผลที่
ได้รับไปพัฒนารูปแบบกิจกรรมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในมหาวิทยาลัยพะเยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ได้แก่ การค่าหาเฉลี่ย ไคร์สแควร์ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธีดีเอ็มอาร์ที
(Duncan’s Multiple Range Test; DMRT)
ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาขยะเมื่อเรียงลาดับความสาคัญเกิดจากการขาดการมีส่วนร่วม การขาด
การจัดการที่ดี และการขาดจิตสานึกโดยนิสิตเห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งมากกว่าร้อยละ 80 ว่า การรับรู้
ข่าวสารมีประโยชน์ในการจัดการขยะ และขยะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า สามารถหมุนเวียนมาใช้ประโยชน์
และสร้างรายได้ และขยะอันตรายควรทาการคัดแยก แนวทางการจัดการขยะ นิสิตให้ความสาคัญในการลด
ขยะจากแหล่งกาเนิดถึงร้อยละ 90 รองลงมาคือ การใช้มาตรการ 5R ได้แก่ การลดการใช้ (Reduce) การ
ปฏิเสธการใช้ (Reject) การใช้ซ้า (Reuse) การนากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการซ่อมแซม (Repair) ร้อย
ละ 80 และควรดาเนินการจัดการขยะตามแนวทางลาดับชั้นการจัดการของเสีย (Waste Hierarchy) ถึงร้อย
ละ 83.1 ในความคิดเห็นระดับเห็นด้วยขึ้นไป เรื่องการคัดแยกขยะนิสิตเห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งมากกว่า
ร้อยละ 80 ว่าการคัดแยกขยะ ช่วยเพิ่มรายได้ ลดปริมาณขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อม อุปสรรคในการคัดแยก
เกิดจากความยุ่งยาก ไม่มีแรงจูงใจ ไม่ทราบว่าต้องคัดแยกขยะชนิดใดบ้างและจะนาไปทาอะไร เรื่องกา ร
ปรับปรุงระบบจัดการขยะ เสนอให้มีการเก็บขนขยะสม่าเสมอ และเพิ่มถังขยะให้มากขึ้น และปรับปรุงระบบ
ฝังกลบขยะให้ถูกหลักสุขาภิบาล เพิ่มการนาขยะใช้ประโยชน์ โดยนิสิตต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ
ขยะของมหาวิทยาลัยพะเยาถึงร้อยละ 82.9 และสนับสนุนให้มีภาคีต่างๆ เข้าร่วมเช่น เทศบาล องค์การ
บริหารส่วนตาบล เป็นต้น ในการส่งเสริมการจัดการขยะในพื้นที่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมหาวิทยาลัย
พะเยาและตาบลแม่กาเป็นสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07