การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับความมั่นคงด้านอาหาร ตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์
  • สุณีรัตน์ ยั่งยืน
  • ธิดารัตน์ สมดี
  • สุวิมล สงกลาง
  • นฤเศรษฐ ประเสิฐศรี

คำสำคัญ:

ความมั่นคงด้านอาหาร, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

การสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารของประชาชนจำนวน 150 ครัวเรือน โดย
ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป และข้อมูลการแก้ไขปัญหาความ
มั่นคงด้านอาหารของประชาชน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลความมั่นคงด้านอาหาร แปลผลโดยสถิติเชิงพรรณนา
พบว่าส่วนใหญ่(ร้อยละ 76.7) มีอาชีพเกษตรกรรม ขนาดครอบครัว 4-6 คน มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อปี
80,089.33 บาท มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง และมีภาระหนี้สิน ความมั่นคงทางอาหาร โดยส่วนใหญ่ผู้จัดหา
อาหารในครัวเรือนเป็นภรรยาของหัวหน้าครัวเรือน อาหารบริโภคส่วนใหญ่ซื้อจากร้านค้าในชุมชน สามารถ
แบ่งกลุ่มรายได้ของครัวเรือนโดยใช้เกณฑ์เส้นแบ่งความยากจน ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ
(ร้อยละ 45.3) และกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูง (ร้อยละ 54.7) กว่าเส้นความยากจน ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำมี
ความเพียงพอของรายจ่ายด้านอาหารน้อย มีความกังวลและมีความลำบากในการจัดหาอาหารเนื่องจากมีเงิน
และทรัพยากรไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังต้องกู้ยืมเงินและมีการเชื่อหรือผ่อนชำระค่าใช้จ่ายด้านอาหาร
มากกว่าด้วย อย่างไรก็ดีโดยส่วนใหญ่ครัวเรือนจะมีการแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอาหารโดยบริโภคอาหาร
ชนิดที่ชื่นชอบน้อยลง หยิบยืมอาหารและขอความช่วยเหลือจากญาติรวมถึงใช้วิธีการถนอมอาหาร (ทำปลา
ร้า และตากแห้ง) และออกหาอาหารในแหล่งธรรมชาติ เช่น ล่าสัตว์จับปลา และเก็บพืชผัก เป็นต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07