ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ การเข้าใจและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลฉลากโภชนาการแบบ GDA (Guideline Daily Amounts) บนผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวของนิสิตระดับปริญญาตร

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ ทองเกียว
  • น้องนุช ศิริวงศ์
  • จุฑาพร เนียมวงษ์
  • อำพร แจ่มผล

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว, ฉลากโภชนาการแบบ GDA, การรับรู้, การเข้าใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ การเข้าใจ และการใช้ประโยชน์จาก
ข้อมูลฉลากโภชนาการแบบ GDA (Guideline Daily Amounts) และศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ การ
เข้าใจ และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลฉลากโภชนาการแบบ GDA กับตัวอย่างจำนวน 400 คนเป็นนิสิตระดับ
ปริญญาตรี โดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์
ข้อมูลใช้ Mann–Whitney U Test และ Kruskal–Wallis H Test สำหรับทดสอบความแตกต่างของค่ามัธย
ฐาน และค่าสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman Rank Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า นิสิต
ที่ศึกษาคณะต่างกันมีการรับรู้ และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลฉลากโภชนาการแบบ GDA แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติในขณะที่ชั้นปีที่นิสิตศึกษา คณะที่นิสิตศึกษา และรายได้ต่างกันมีผลต่อการเข้าใจฉลาก
โภชนาการแบบ GDA แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินอกจากนี้พบว่าอายุมีความสัมพันธ์กับการเข้าใจ
ฉลากโภชนาการแบบ GDA ในทิศทางบวก (r=0.109) แต่อายุไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ (r=0.096) และ
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลฉลากโภชนาการแบบ GDA (r=-0.016) การรับรู้มีความสัมพันธ์กับการเข้าใจฉลาก
โภชนาการแบบ GDA ในทิศทางบวก (r=0.552) การรับรู้มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลฉลาก
โภชนาการแบบ GDA ในทิศทางบวก (r=0.189) และการเข้าใจมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล
ฉลากโภชนาการแบบ GDA ในทิศทางบวก (r=0.186)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ