การพัฒนาเกณฑ์การประเมินความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฉบับที่ 2

Main Article Content

นพพล คณาญาติ
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อปรับปรุงเกณฑ์การประเมินความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Credibility Evaluation of Websites with Advertisings of Dietary Supplement: CEWADS) ให้เป็นเกณฑ์ CEWADS-2 และทดสอบเกณฑ์ในประเด็นความตรง ความเที่ยง และความสามารถในการใช้งานโดยผู้บริโภค วิธีการ: ผู้วิจัยปรับปรุงเกณฑ์ CEWADS ที่พัฒนาโดยวัลลภา สายสินธุ์ ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์ 7 ข้อ มาเป็น CEWADS-2 โดยเพิ่มเกณฑ์อีก 2 ข้อ เกณฑ์ CEWADS-2 ถูกปรับปรุงตามผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ 8 ท่านและผลการทดสอบในผู้บริโภค 10 คน การทดสอบความเที่ยงภายในตัวผู้ประเมิน ทำโดยผู้วิจัยประเมินความน่าเชื่อถือของ 19 เว็บไซต์ที่มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือนและคำนวณหาค่า intraclass correlation coefficient (ICC) การประเมินความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินทำโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านประเมินเว็บไซต์ 19 แห่งอย่างเป็นอิสระต่อกันและคำนวณหาค่า ICC การทดสอบความความสามารถในการใช้งานทำโดยโดยให้ผู้บริโภค 3 กลุ่ม กลุ่มละ 77 รายใช้เกณฑ์ CEWADS-2 ประเมินเว็บไซต์ที่ผู้เชี่ยวชาญตัดสินว่ามีคุณภาพสูง ปานกลาง หรือต่ำ ผลการวิจัย: ความเที่ยงภายในผู้ประเมินอยู่ในระดับดีมาก (ICC=0.94) ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินอยู่ในระดับดี (ICC=0.81) หากพิจารณาผลการประเมินในแต่ละเกณฑ์ย่อยพบว่า 7 ข้อมีความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินอยู่ในระดับดีหรือดีมาก อีกสองข้ออยู่ในระดับปานกลางและพอใช้ ความแตกต่างระหว่างคะแนนที่ประเมินโดยผู้บริโภคและผู้เชี่ยวชาญพบมากในกรณีของเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูง (2.81 หน่วยจากพิสัยของคะแนน 0-9) ซึ่งพบมากกว่าการประเมินเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ (0.97 หน่วย) และปานกลาง (0.66 หน่วย) ตามลำดับ ผู้เข้าร่วมการวิจัยประเมินเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูง ปานกลาง และต่ำตามเกณฑ์ CEWADS-2 ได้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5.86±1.80, 5.34±1.64 และ 3.30±1.18 ตามลำดับ (จากคะแนนเต็ม 9) ผู้เข้าร่วมการวิจัยสามารถแยกแยะเว็บไซต์คุณภาพต่ำออกจากเว็บไซต์คุณภาพสูงหรือปานกลางได้ แต่ผู้บริโภคไม่สามารถแยกแยะเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูงและปานกลางออกจากกันได้ดี ความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างของคุณภาพเว็บไซต์ไม่ขึ้นกับระดับความแตกฉานด้านสุขภาพ คะแนนการประเมินเว็บไซต์ตามเกณฑ์ CEWADS-2 โดยผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับตัวแปรที่บ่งบอกคุณภาพต่าง ๆ (เช่น ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสนับสนุนความตรงของเกณฑ์ CEWADS-2 สรุป: เกณฑ์ CEWADS-2 มีความตรงและความเที่ยงตามเกณฑ์มาตรฐาน ผู้บริโภคสามารถใช้เกณฑ์นี้เพื่อจำแนกเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำออกจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูงและปานกลางได้ดี ระดับความแตกฉานด้านสุขภาพไม่มีผลต่อความสามารถดังกล่าว การวิจัยในอนาคตควรศึกษาถึงการยอมรับเกณฑ์นี้เพื่อการใช้งานจริงโดยผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

National Broadcasting and Telecommunication Commission. Internet users in Thailand [online]. 2021 [cited Sept 26, 2023]. Available from: webstats.nbtc.go.th/netnbtc/INTERNETUSERS.php.

Electronic Transactions Development Agency Ministry of Information and Communication Technology. Thailand Internet user profile 2022 [online]. 2022 [cited Sep 26, 2023]. Available from: www.etda.or.th/th//บริการของเรา/สถิติและข้อมูล/สถิติและข้อมูล/Thailand-Internet-User-Behavior/การสำรวจพฤตกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย-Thailand-Internet-User-Behavior-1.aspx

Finney Rutten LJ, Blake KD, Greenberg-Worisek AJ, Allen SV, Moser RP, Hesse BW. Online health information seeking among US adults: Measuring progress toward a Healthy People 2020 objective. Public Health Rep. 2019; 134(6): 617-625. doi: 10.1 177/0033354919874074

Prachusilpa S, Oumtanee A, Satiman A. A study of dissemination of health information via internet Stud Health Technol Inform 2006; 122: 775.

Foundation for the Evaluation of Health Technology and Policy. Project proposals on the structure of consumer protection of health products in Thailand 2016 [online]. 2016 [cited Sep 27, 2023]. Available from: www.hitap.net/documents/166401.

Thepphitak A. Media literacy on deceptive advertising of health products [online]. 2022 [cited Sept 28, 2023]. Available from: dental.anamai.moph.go.th/we b--upload/5x9c01a3d6e5539cf478715290ac946bee/ tinymce/08/ เอกสารประชุมวิชาการสำนักทันตสาธารณ สุข/21072022-01สไลด์%20อ.อรัญญา.pdf

Sirisinsook Y, Thongyoung P, Poomkokrak O, Suwan keesawong W, Sripirom P, Katunyootha P. The management of illegal advertising drugs and health products via local radio, cable TV, satellite television and internet. Yawipak 2011; 3: 17–8.

Jiang S, Beaudoin CE. Health literacy and the internet : An exploratory study on the 2013 HINTS survey. Comput Hum Behav 2016; 58: 240–8.

Crocco AG, Villasis-Keever M, Jadad AR. Analysis of cases of harm associated with use of health informa- tion on the internet. J Am Med Assoc 2002; 287: 2869–71.

Eysenbach G, Powell J, Kuss O, Sa ER. Empirical studies assessing the quality of health information for consumers on the world wide web: A systematic review. J Am Med Assoc 2002; 287: 2691–700.

Saisin W. Effects of the use of criteria for credibility evaluation of websites with advertisings of health products by consumers: A case study of food supple ments [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2019.

Chanchuto P. Development of the Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension (THLA-W+): testing in Sadao Hospital [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2017.

Viboonrangsan S. Quality of internet websites providing drug information in English [master thesis]. Nakonprathom: Silpakorn University; 2010.

Cicchetti DV. Guidelines, criteria, and rules of thumb for evaluating normed and standardized assessment instruments in psychology. Psychol Assess 1994; 6: 284–90.

Cohen J. A coefficient of agreement for nominal scales. Educ Psychol Meas 1960; 20: 37–46

Cohen J. Statistical power analysis for the behavio- ral sciences. 2nd. Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum Associates; 1988.

Diviani N, Meppelink CS. The impact of recommen- dations and warnings on the quality evaluation of health websites: An online experiment. Computers in Human Behavior 2017; 71: 122–9.