การประเมินโครงการ NCD Delivery โรงพยาบาลพานในมุมมองของผู้ให้บริการ

Main Article Content

วราภรณ์ โชติธนานุรักษ์
อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความคิดเห็นในมุมมองของผู้ให้บริการที่มีต่อโครงการ NCD delivery โรงพยาบาลพานตามกรอบแนวคิดของ CIPPIEST Model วิธีการ: โครงการ NCD delivery หรือโครงการของโรงพยาบาลพานที่ส่งยาให้กับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึงบ้านเป็นรายบุคคล โดยนำส่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อประสานต่อให้อาสาสมัครทางสาธารณสุขประจำพื้นที่จัดส่งยาไปให้ผู้ป่วยแต่ละคนตามบ้าน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยการศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามชนิดที่ตอบด้วยตนเองในผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพาน 58 คน ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 41 คน ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพาน 16 คน ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 7 คน และอาสาสมัครสาธารณสุข 7 คน ข้อมูลที่เก็บ คือ ความคิดเห็นที่มีต่อโครงการตามกรอบแนวคิด CIPPIEST Model ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงความรู้ ผลการวิจัย: ผลการสำรวจด้วยแบบสอบถามพบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านประสิทธิผลมีค่าสูงที่สุด (3.92+0.79 จากคะแนนเต็ม 5) ซึ่งสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์เชิงลึกที่กล่าวว่าเป็นโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับบริการ และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่ความเหมาะสมด้านกระบวนการมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด (3.31+0.84 จากคะแนนเต็ม 5) ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งพบว่า ควรปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานให้รัดกุมและชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาหลักในด้านกระบวนการปฏิบัติงานคือผู้ป่วยไม่ได้รับยา จึงควรมีการถอดบทเรียนเพื่อเรียนรู้ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน สรุป: ผู้ให้บริการเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า NCD delivery เป็นโครงการที่เกิดประโยชน์สูงสุดและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างดีเยี่ยม แต่ต้องปรับปรุงโดยเฉพาะด้านกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Division of Non-Communicable Diseases, Depart- ment of Disease Control. Non-communicable disease information [online]. 2019 [cited Feb 18 2019]. Available from: www.thaincd.com/2016/mis sion/documents-detail.php?id=13653&tid= 32& gid= 1- 020

Srisuko C. In 2020, Don't let Thai public health become a public misery [online]. 2019 [cited Feb 22 2020]. Available from: www.matichon.co.th/arti cle /news _1819607

Chintapanyakul T, Ruangsri S, Laksana K, Longsap P. Assessment of innovative curriculum: CIPPIEST format. Journal of the Police Nurses 2017; 9: 203-12.

Bubphamas C. A project evaluation of boundless learning network system of school under the secondary educational service area office 8 [dissert ation]. Nakhon Pathom: Silpakorn University; 2014.

Arof KZM, Ismail S, Saleh AL. Contractor’s perform- ance appraisal system in the Malaysian construc- tion industry: Current practice, perception and understanding. Int J Eng Techno 2018; 7: 46-51.

Suthamma W. Assessment of the strong and sustainable disease control district project, Mukda han province [dissertation]. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University; 2014.

Stufflebeam DL, Coryn CLS Evaluation theory, models, and applications. San Francisco: Jossey-Bass & Pfeiffer Imprints; 2014.