การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังยาในโรงพยาบาลน่าน

Main Article Content

ชัชรีย์ ธีระไพรพฤกษ์
สกนธ์ สุภากุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดลีนในการจัดการคลังยา และประเมินผลประสิทธิภาพการจัดการคลังยาที่เกิดขึ้น วิธีการ: ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยระดมความคิดจากผู้ปฏิบัติงานคลังยา และใช้แผนผังก้างปลาเพื่อค้นหาปัญหาของการจัดการคลังยา นำมาเขียนเป็นแผนภูมิกระบวนการไหล ระบุคุณค่าในงาน ระบุความสูญเปล่า และเวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมย่อย จากนั้นใช้หลักการ ECRS (eliminate, combine, rearrange, simplify) กำจัดความสูญเปล่าในการทำงาน ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่เก็บข้อมูลก่อน (มีนาคมถึงพฤษภาคม 2563) และหลัง (ตุลาคมถึงธันวาคม 2563) การประยุกต์ใช้แนวคิดลีน ช่วงละ 30 ครั้ง ผลการวิจัย: ปัญหาที่พบได้แก่ ด้านบุคลากร เจ้าหน้าที่ใหม่ยังขาดประสบการณ์ และขาดความเข้าใจในเรื่องการจัดการคลังยา ด้านอุปกรณ์ รถเข็นยาและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่สะดวกต่อผู้ใช้ ด้านผลิตภัณฑ์ ปริมาณยาไม่สอดคล้องต่อความต้องการใช้ ด้านกระบวนการทำงาน มีความซ้ำซ้อน และด้านสิ่งแวดล้อม พื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ เมื่อนำหลักการ ECRS มาใช้ พบว่า กิจกรรมย่อยคงเหลือ 20 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 48.72) โดยเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงาน 11 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 31.25) ขั้นตอนการเดินทาง 6 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 14.29) ขั้นตอนการรอคอย 1 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 88.89) ขั้นตอนการตรวจสอบ 2 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 66.67) และขั้นตอนการจัดเก็บ 1 กิจกรรมไม่เปลี่ยนแปลง ในส่วนคุณค่าของงาน พบว่า มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดคุณค่า 17 กิจกรรม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.77) กิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า 1 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 95.65) และกิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า 2 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 33.33) อัตราส่วนของเวลารวมการทำงานต่อเวลานำรวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95.64 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.19) ร้อยละเวลาของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดคุณค่าเท่ากับ 83.96 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.79) ความสูญเปล่าเหลือ 2 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 95.56)  ระยะเวลานำรวมเท่ากับ 96.92±5.20 นาที (ลดลง 424.90±16.98 นาที) และเวลารวมของการทำงานเท่ากับ 92.70±5.20 นาที หรือลดลง 55.75±5.77 นาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) สรุป: การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังยา โดยการกำจัดความสูญเปล่า เพิ่มกิจกรรมที่ก่อให้เกิดคุณค่า กำจัดกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า และ ลดเวลาทำงานได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

DMSIC. Drug inventory management policy [online]. 1999 [cited Dec 22, 2022]. Available from; dmsic.mo ph.go.th/index/detail/49.

Liker JK. The Toyota way. New York: CWL; 2004.

Womack JP, Jones DT, Roos D, Carpenter DS. The machine that changed the world. New York: Rawson Associates Scribner; 1990.

Maneeyot B, Thongrawd C. 04 Lean logistics manage ment for outpatient ward of Yanhee Hospital. Journal of Logistics and Supply Chain College 2018; 2: 38-46.

Parkpises W, Sitthiworanan C. Implementation of lean in outpatient department at the 68th Public Health Center at Saphansung. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2019; 11: 18-31.

Singhtaun C. Process analysis [online]. 2010 [cited Jan 3, 2020]. Available form; pirun.ku.ac.th/~fengcsr/ courses/2008_01/206341/ch8.pdf.

Tapping D, Dunn A. Lean office demystified. Chelsea, MI: MCS Media. 2006.

Komanasin K. Roadmap to Lean enterprises. Bang kok: Amarin Printing; 2007.

Palapornphisut S. Lean 4.0 manufacturing. Bangkok: IPRI; 2017.

Ketsripongsa U. Industrial work study. Buriram: Buriram Rajabhat University; 2017.

Vanhakij S. Line balancing of 4 heads 2 platters hard disk head assembly line [master thesis]. Bangkok: Thammasat University; 2015.

Muangngeon A. An application of Lean technique to efficient book return process for library and Information Center. Bangkok: National Institute of Development Administration; 2019.

Raksa J. Improving and reducing process timing: furnitures importation from overseas study case [online]. 2021 [cited Nov 22, 2022]. Available from; grad.dpu.ac.th/upload /content/files/year9-1/9-26.pdf.