สถานการณ์การจัดการด้านยาในโรงเรียนของจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการด้านยาในโรงเรียนในจังหวัดเชียงราย วิธีการ: การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ที่ผู้วิจัยพัฒนาตามแนวคิด six building blocks ขององค์การอนามัยโลก และระบบยาของ Management Sciences of Health การศึกษาเก็บข้อมูลจากโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 566 แห่งระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2564 ผู้ตอบแบบสอบถามคือครูที่รับผิดชอบงานพยาบาล ผลการวิจัย: โรงเรียนตอบแบบสอบถามกลับจำนวน 272 โรงเรียน (ร้อยละ 48.06) แบ่งเป็นโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา จำนวน 234 และ 38 โรงเรียนตามลำดับ โรงเรียนมีห้องพยาบาลประจำโรงเรียนร้อยละ 90.44 ครูพยาบาลร้อยละ 73.48 ไม่ได้อบรมการใช้ยาในหนึ่งปีที่ผ่านมา เกณฑ์ในการคัดเลือกยา 3 อันดับแรก ได้แก่ ข้อบ่งชี้ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ ยาในห้องพยาบาลส่วนใหญ่เป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่พบยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านใน 35 โรงเรียน (ร้อยละ 12.87) แหล่งที่ซื้อยาคือร้านยาร้อยละ 82.19 ร้อยละ 68.01 ของโรงเรียนไม่มีคู่มือการจ่ายยา ครูพยาบาลร้อยละ 89.34 จึงสืบค้นข้อมูลด้านยาจากฉลากและเอกสารกำกับยา การให้บริการของห้องพยาบาลมีขั้นตอนที่ปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่ ถามชื่อสกุล การแพ้ยา อาการป่วย การจ่ายยา และติดตามการรักษา พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลการใช้ห้องพยาบาล (ร้อยละ 85) การส่งต่อการรักษาส่วนใหญ่มักส่งต่อไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนนโยบายด้านยายังไม่มีนโยบายจากภาครัฐที่ชัดเจน สรุป: การจัดการด้านยาในโรงเรียนต้องมีการพัฒนาอีกหลายด้าน ได้แก่ กำลังคน นโยบายที่ชัดเจน การจัดซื้อหายา การกำหนดบัญชียา และกำหนดแนวปฏิบัติการให้บริการ เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งในส่วนภาคการศึกษา และหน่วยงานสาธารณสุข ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการพัฒนารูปแบบการจัดการด้านยาเพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยและเกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
World Health Organization. School health services [online]. 2016 [cited Feb 1, 2020]. Available from: www.who.int/maternal_child_adolescent/adolescence/school-health-services/en/
Tongyoung P. Medication management in school [online]. 2013 [cited Feb 1, 2020]. Available from: http://www.thaidrugwatch.org/download/series/series19.
Yimlamai A, Chanthapasa K. Medication manage ment in the schools in Phrayuen Districe, Khonkaen Province. Isan Journal Pharmaceurical Sciences 2016; 11 Supplement: 218-28.
Thammatacharee N, Pumtong S, Patcharanarumol W. Challenges and opportunities for improving the drug system in Thailand. Journal of Health Science. 2020; 29: S188-99.
Apaisoomgnern A, Chanthapasa K. Medication management in school : a case study in high school at Roi Et province [master thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2019.
Food and Drug Administration, Ministry of Public Heath of Thailand. Oryor Noi guideline. Nonthaburi: Food and Drug Administration; 2019.
World Health Organization. Everybody's business -- strengthening health systems to improve health outcomes: WHO's framework for action: Geneva: World Health Organization; 2007.
Quick JD, Hogerzeil HV, Rankin JR, Dukes MN, Laing R, Garnett A, et al. Managing drug supply: the selection, procurement, distribution, and use of phar- maceuticals. West Hartford, Connecticut: Kumarian Press; 1997.
Announcement of the Ministry of Education of Thailand in 2553 on determination and amendment on the area in primary schools. Royal Gazette. No.127, Part 98D special (Aug 17, 2010).
Announcement of the Ministry of Education of Thailand in 2564 on determination and amendment on the area in secondary schools. Royal Gazette. No.138, Part 38D special (Feb 17, 2021).
Butler SM, Boucher EA, Tobison J, Phan H. Medication use in schools: current trends, challenges, and best practices. J Pediatr Pharmacol Ther 2020; 25: 7-24. doi: 10.5863/1551-6776-25.1.7.
Onjon O, Kittirachakool N, Chinnacom D, Praditsithi korn N, Teerawattananon Y, Tantivess S. Resources for the elementary school health services in Thailand. Journal of Health Systems Research 2018; 12: 456-68.
Anuwong K, Kwanboonchan S, Susoarat P, Sukharo mana R, Yensabye A, Jearajit C, et al. Medication services in primary schools, Bangkok. Journal of Faculty of Physical Education 2012; 15: 396-407.
Siitonen P, Hämeen-Anttila K, Kärkkäinen S, Vainio K. Medication management in comprehensive schools in Finland: teachers' perceptions. Int J Pharm Pract. 2016; 24: 349-57. doi: 10.1111/ijpp.12 262.
National Health Commission Office. The 12th National Health Assembly 2019, Agenda 2.4: community-centered system management for becoming a rational drug use country [online]. 2019 [cited Feb 1, 2020]. Available from: nha12.samatcha. org/file/34ddc2fd-00ee-4aeb-a080-76213c8391d9/preview.